hdcare treatment hero

รู้ครบเรื่องแผลเป็นคีลอยด์ รักษายังไงดี ฉีดคีลอยด์กับตัดคีลอยด์ต่างกันยังไง?

คีลอยด์​​ (Keloid) แผลเป็นนูนรักษาให้หายได้ ด้วยการตัดออกหรือฉีดเพื่อให้ยุบลง โดยแผลเป็นคีลอยด์อาจส่งผลต่อความมั่นใจ เพราะแผลคีลอยด์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบหู ทำให้เป็นจุดเพ่งเล็งของสายตา และอาจรู้สึกไม่สะดวกสบายเวลาจับหูหรือสัมผัสร่างกายแล้วเกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา

โดย HDmall.co.th ร่วมกับ คุณหมอบอม นพ. ภรัณเมศร์ สุวรังษีโรจน์ แพทย์ประจำ W+ Medic Clinic พร้อมไขข้อสงสัย ทำความรู้จักแผลคีลอยด์ เปรียบเทียบการรักษาคีลอยด์ด้วยการฉีดและการผ่าตัดคีลอยด์ และปิดท้ายด้วยการประเมินแผลพร้อมแนะนำวิธีการรักษาคีลอยด์

นพ. ภรัณเมศร์ สุวรังษีโรจน์ แพทย์ประจำ W+ Medic Clinic

สารบัญ

คีลอยด์คืออะไร?

คีลอยด์​ (Keloid) หรือแผลเป็นคีลอยด์ คือ ก้อนเนื้อเยื่อที่เกิดจากการรักษาตัวของแผล เกิดจากการที่ร่างกายใช้ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) เข้ามาสมานแผล แต่เกิดการสมานมากเกินไปจนทำให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดรูป

ด้านในของคีลอยด์เป็นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า พังผืด (Fibrous Tissue) เกิดจากการที่เนื้อเยื่อหนาตัวมากกว่าปกติ โดยหลายคนอาจเข้าใจว่า คีลอยด์คือถุงน้ำ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

คีลอยด์ต่างจากแผลเป็นทั่วไปอย่างไร?

คีลอยด์เป็นแผลเป็นที่เกิดจากการโตมากผิดปกติเหนือชั้นผิวหนังขึ้นมา โดยคีลอยด์จะเป็นแผลเป็นนูนเท่านั้น ถ้าหากแผลเป็นไม่นูนแต่เกิดการกว้างออกหรือหนาตัวจะเรียกว่า แผลเป็นแบบไฮเปอร์โทรฟิก (Hypertrophic Scars)

แผลเป็นแบบไหนมีโอกาสเป็นคีลอยด์?

สาเหตุที่ในร่างกายบางจุดเกิดเป็นแผลคีลอยด์ เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อมากเกินผิดปกติ ส่วนจุดที่มีโอกาสเป็นคีลอยด์มากกว่าปกติคือบริเวณที่มีกระดูกอ่อน เช่น ใบหู มักจะเกิดแผลคีลอยด์มากที่สุด

คีลอยด์เกิดขึ้นแค่กับแผลเจาะหูเท่านั้นใช่ไหม?

คีลอยด์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับแผลเจาะหู เพราะแผลคีลอยด์เกิดจากการสมานแผลที่เกิดจากบาดแผล บางคนอาจจะเกิดจากแผลกรีดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเจาะหู

คีลอยด์มักจะเกิดขึ้นกับใคร?

คีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นคีลอยด์อยู่แล้ว เพราะมียีนบางตัวที่เข้าไปกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อให้มากเกินปกติได้

ถ้ามีแผลหนึ่งของร่างกายเป็นคีลอยด์ แผลอื่นจะเป็นด้วยไหม?

ไม่จำเป็นที่ทุกแผลจะต้องเป็นคีลอยด์ โดยแต่ละคนจะเกิดแผลคีลอยด์ตามจุดต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่จุดที่เกิดการกระตุ้นให้เป็นคีลอยด์ได้ง่ายคือบริเวณที่เป็นกระดูกอ่อน

แผลแบบไหนที่กำลังจะเป็นคีลอยด์?

แผลที่มีโอกาสเป็นแผลคีลอยด์จะเริ่มนูนแข็งเหมือนเป็นสิว จากนั้นจะเริ่มคันที่แผล และเมื่อคันมากๆ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการเกา จากนั้นร่างกายจะสร้างพังผืด (Fibrous Tissue) ขึ้นมา และนูนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 

แผลเป็นคีลอยด์หายเองได้ไหม?

แผลเป็นคีลอยด์จะไม่สามารถหายเองได้ เพราะร่างกายจะเกิดกระบวนการหายของแผล (Wound Healing) และสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมามากจนเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถไปกัดกินแผลเดิมได้และกลายเป็นแผลเป็นถาวร

แผลเป็นคีลอยด์รักษาให้หายขาดได้ไหม?

หมอบอมให้ความเห็นว่า การหายของแผลเป็นคีลอยด์หลังการรักษาอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนฉีดรักษาคีลอยด์นิดเดียวก็ยุบได้และไม่เป็นอีกเลย แต่กับบางคนก็มีโอกาสที่ฉีดรักษาคีลอยด์หลายครั้งแล้วยุบ หรือบางคนผ่าตัดคีลอยด์แล้วหายเลย แต่บางคนหลังผ่าตัดคีลอยด์ก็อาจจะกลับมาเป็นคีลอยด์ใหม่ได้

แผ่นแปะซิลิโคน รักษาแผลเป็นคีลอยด์ได้จริงไหม?

แผ่นแปะซิลิโคนสามารถรักษาแผลเป็นคีลอยด์ได้จริง เพราะถ้าร่างกายได้รับส่วนผสมของซิลิโคนก็มีโอกาสที่ร่างกายจะซ่อมแซมแผลได้เร็วขึ้น ทำให้พังผืด (Fibrous Tissue) หรือว่าเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติเกิดขึ้นได้ยาก

W+ Medic Clinic

ทายารักษาแผลเป็นไปเรื่อยๆ รักษาคีลอยด์ได้จริงไหม?

ทายารักษาแผลเป็นเรื่อยๆ ช่วยรักษาคีลอยด์ได้ แต่โอกาสในการรักษาน้อยมาก เพราะคีลอยด์ของแต่ละคนมีความหนาและความแข็งตัวที่แตกต่างกัน

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์มีกี่แบบ?

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์มี 2 แบบหลักๆ ดังนี้

  1. ฉีดรักษาแผลคีลอยด์ โดยแพทย์จะใช้ตัวยาฉีดเพื่อทำให้คีลอยด์ยุบตัว
  2. ผ่าตัดคีลอยด์ออก โดยแพทย์จะตัดติ่งเนื้อออกแล้วเย็บปิดแผล

รักษาแผลเป็นคีลอยด์แบบฉีดกับผ่าตัดออกต่างกันยังไง?

หมอบอมให้คำแนะนำว่า การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ก้อนเล็กๆ แนะนำให้รักษาด้วยการฉีด เพราะคีลอยด์ก้อนเล็กมีแนวโน้มจะยุบตัวได้ ส่วนการผ่าตัดคีลอยด์แนะนำให้เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่แผลคีลอยด์สร้างความรำคาญจนทำให้อยากเอาออกไปทันที

สำหรับจำนวนการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉีดอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นกับความแข็งของแผล ขนาดของแผล และการตอบสนองต่อยาในคนไข้แต่ละคนที่ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะฉีดคีลอยด์ครั้งเดียวแล้วหายเลย ในขณะที่บางคนอาจจะต้องฉีดคีลอยด์ถึง 3 ครั้ง

ส่วนการผ่าตัดแผลคีลอยด์สามารถตัดออกได้ในทุกระดับไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ขึ้นกับความต้องการและความกังวลของคนไข้ แต่การผ่าตัดคีลอยด์จะเจ็บกว่าการฉีดรักษาคีลอยด์ เพราะต้องมีการตัดเย็บ โดยจะใช้เวลาประมาณ 7-14 วันเพื่อฟื้นฟูแผลจากการตัดคีลอยด์

สำหรับโอกาสหายขาดก็อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เพราะการผ่าตัดคีลอยด์เป็นการทำให้เกิดแผลใหม่จึงมีโอกาสที่จะเกิดพังผืด (Fibrous Tissue) มากเกินไปจนทำให้เกิดคีลอยด์ซ้ำอีกครั้งได้ 

แต่การผ่าตัดแผลคีลอยด์โดยหมอบอม ที่ W+ Medic Clinic คุณหมอจะตัดเลาะโครงสร้างทั้งหมดที่เกิดความผิดปกติออกไป ช่วยลดโอกาสการเกิดแผลคีลอยด์ซ้ำอีกครั้งได้ดี

รักษาคีลอยด์ทั้งแบบฉีดและผ่าตัดด้วยกันได้ไหม?

ในบางกรณี คุณหมออาจใช้การผ่าตัดร่วมกับการฉีดรักษาคีลอยด์ โดยหลังจากแผลผ่าตัดเริ่มแห้งก็จะนัดให้กลับมาฉีดคีลอยด์ซ้ำ เพื่อป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์

คีลอยด์ที่หู ควรตัดหรือฉีดรักษา?

จากประสบการณ์ของหมอบอม แนะนำว่าก้อนคีลอยด์ที่หูควรผ่าตัด โดยเฉพาะก้อนคีลอยด์ที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากอาจสร้างความไม่มั่นใจให้กับคนไข้ได้ การตัดคีลอยด์ที่หูจึงเป็นการรักษาที่ดีที่สุด

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์

หมอบอมแนะนำให้ซื้อยาทาที่มีส่วนผสมของซิลิโคนมาทาที่แผลจากการเจาะหู หรือแผลจากการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จากนั้นเมื่อแผลเริ่มแห้งแนะนำให้ใช้แผ่นแปะซิลิโคนลดรอยแผลเป็นหรือแผ่นแปะแผลคีลอยด์

แผลแบบนี้ คุณหมอแนะนำให้รักษาคีลอยด์ยังไงดี?

แผลคีลอยด์จากการเจาะหู

ในปัญหาแผลแบบนี้ที่เกิดจากการเจาะหู 6 รู โดยแบ่งเป็นข้างซ้าย 3 รู และข้างขวา 3 รู ซึ่งแผลแบบนี้มีโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นคีลอยด์สูงมากทั้ง 6 รูเลย 

หมอบอมแนะนำให้สังเกตว่า ถ้าแผลที่เห็นเริ่มเป็นไตแข็งๆ สีขาวนูนๆ ขึ้นมา แนะนำให้รีบรักษาทันที เพราะถ้าปล่อยแผลนี้ทิ้งไว้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งมีโอกาสเป็นคีลอยด์ก้อนใหญ่ที่ติ่งหูสูงมากๆ 

สำหรับแผลเป็นแบบนี้คุณหมอแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดก่อน เพราะการฉีดจะทำให้แผลยุบตัวได้ดีมาก แต่ในกรณีนี้คุณหมอจะไม่แนะนำให้เจาะหูเพิ่มแล้ว เพราะถ้าหากยังเจาะหูอีกก็มีโอกาสที่จะเป็นคีลอยด์ซ้ำ เพราะเป็นแผลที่ติดกระดูกอ่อนเลย

แผลแบบไฮเปอร์โทรฟิก

ในปัญหาแผลนี้ที่เกิดจากแก้วบาดเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว และแผลเริ่มนูนมากขึ้น คุณหมอบอมอธิบายว่า การที่แผลนูนขึ้นอาจทำให้คนเข้าใจผิดระหว่างแผลคีลอยด์กับแผลเป็นแบบไฮเปอร์โทรฟิก (Hypertrophic Scars) 

โดยแผลจากการถูกแก้วบาดจะเป็นแผลขนาดเล็กๆ เท่านั้น แต่พอเริ่มแห้งและกลายเป็นแผลเป็นก็อาจจะขยายตัวกว้างขึ้น ซึ่งการรักษาแผลเป็นในปัญหานี้จะไม่ต่างกับการรักษาแผลคีลอยด์ คุณหมอแนะนำให้รักษาด้วยการฉีด ซึ่งจะทำให้แผลตอบสนองได้เป็นอย่างดี

รักษาแผลเป็นคีลอยด์ที่ไหนดี?

ใครที่เป็นแผลเป็นคีลอยด์ อยากรักษาคีลอยด์ ไม่รู้จะรักษาคีลอยด์ที่ไหนดี อยากรู้ว่ารักษาคีลอยด์ราคาเท่าไหร่ แนะนำเลือกดูคลินิกรักษาคีลอยด์ใกล้บ้าน และโปรโมชั่นรักษาคีลอยด์ราคาสุดคุ้มบน HDmall.co.th

ถ้ายังไม่แน่ใจว่าแผลคีลอยด์แบบนี้รักษายังไงดี ส่งรูปปรึกษาก่อนได้ที่ไลน์ @HDcoth

Scroll to Top