6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับฟันคุดที่หลายคนไม่รู้ scaled

6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับฟันคุดที่หลายคนไม่รู้

หลายคนที่มีฟันคุดและอยู่ระหว่างการหาข้อมูลก่อนไปพบคุณหมอ ต่างต้องได้เจอข้อมูลความเชื่อผิด ๆ มากมาย เราจึงได้รวบรวมเรื่องความเชื่อผิด ๆ เหล่านั้นมาแก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้องกันในบทความนี้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน! 

1. ฟันคุดขึ้นที่ฟันกรามอย่างเดียวเท่านั้น

ข้อเท็จจริง: ฟันคุดหมายถึงฟันซี่ใดก็ตามที่ไม่โผล่พ้นเหงือกตามปกติ จากสิ่งปิดขวางอย่างเหงือกหรือกระดูกขากรรไกร หรือไม่มีพื้นที่พอให้ฟันขึ้น แต่มักเกิดกับฟันกรามด้านในสุดหรือฟันกรามซี่ที่สามซี่บน ล่าง ซ้าย และขวา ซึ่งอยู่ด้านในสุด จำนวน 4 ซี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนคิดว่าฟันคุดเกิดที่ฟันกรามเท่านั้น แต่ความจริงอาจเกิดกับฟันซี่ใดก็ได้หมด โดยฟันซี่ที่เกิดฟันคุดได้บ่อยรองลงมาก็เช่น ฟันเขี้ยว และฟันกรามน้อย 

2. ฟันคุดเป็นฟันที่ไม่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมา

ข้อเท็จจริง: ฟันคุดเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ โดยอาจโผล่ขึ้นมาเต็มซี่ ขึ้นมาเพียงบางส่วน หรือไม่โผล่พ้นเหงือกเลย ถ้าดูจากความสัมพันธ์กับฟันข้างเคียงก็จะแบ่งออกเป็นดังนี้ 

  • ฟันคุดขึ้นแนวเฉียง เบียดเข้าหาฟันกรามซี่ข้างเคียง (Mesial Impaction) มักพบได้บ่อย และมักขึ้นมาไม่เต็มซี่ 
  • ฟันคุดขึ้นแนวเฉียง เอียงออกจากฟันกรามซี่ข้างเคียง (Distal Impaction) แต่พบได้ไม่บ่อย 
  • ฟันคุดขึ้นแนวตั้ง (Vertical Impaction) เป็นฟันที่ขึ้นตรงคล้ายฟันปกติ ไม่กดเบียดฟันซี่รอบข้าง 
  • ฟันคุดขึ้นแนวนอน (Horizontal Impaction) มักสร้างความเจ็บปวดเนื่องจากฟันคุดไปกดเบียดฟันซี่ข้างเคียง และเป็นกรณีที่เอาออกยาก ใช้เวลาพักฟื้นนาน

HDmall Blog ลักษณะของฟันคุด 2 scaled

3. ทุกคนมีฟันคุด

ข้อเท็จจริง: ไม่ใช่ทุกคนจะมีฟันคุด หลายคนอาจไม่มีฟันคุดหรือฟันกรามซี่ที่สามเป็นเรื่องปกติ โดยอาจเป็นกรรมพันธุ์จากรุ่นสู่รุ่น หรือปัจจัยอื่นอย่างสภาพแวดล้อม อาการการกิน หรือการทำงานของระบบเคี้ยว  แม้ว่าจะมองไม่เห็นฟันคุด ไม่ได้หมายความว่าไม่มีฟันคุด การตรวจประเมินและเอกซเรย์ช่องปากจะช่วยให้รู้แน่ชัดว่ามีฟันคุดไหม อยู่ตำแหน่งใดบ้าง ทันตแพทย์จะได้วางแผนการรักษาฟันคุดให้เหมาะสมกับแต่ละคน

หาโปรผ่าหรือถอนฟันคุดใกล้บ้าน

4. ถ้าปวดฟันคุดไม่ควรผ่าในทันที ต้องรอให้หายก่อน 

ข้อเท็จจริง: อาการปวดฟันคุดเป็นสัญญาณของฟันคุดที่เตือนให้ผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ ก่อนที่จะเป็นหนักไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะหากพบสัญญาณอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เหงือกอักเสบ บวม ปวดกราม ฟันผุ หรืออ้าปากลำบาก ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการ ความซับซ้อนของฟันคุด และวางแผนการถอนหรือผ่าฟันคุดโดยเร็ว โดยมักใช้ยาชาชนิดต่าง ๆช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด และลดความวิตกกังวล หลังนำฟันคุดออกไปแล้วก็มักจ่ายยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วย

5. ผ่าฟันคุดใช้เวลานานกว่าจะหาย 

ข้อเท็จจริง: การผ่าฟันคุดถือเป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่สามารถทำเสร็จแล้วกลับบ้านไปพักฟื้นได้เลย แผลผ่าฟันคุดจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าฟันคุดซับซ้อน นำออกยาก มีการกรอหรือตัดฟันอาจใช้เวลาฟื้นฟูนานขึ้น แผลหายสนิทอาจใช้เวลาประมาณ 1 เดือน 

6. ผ่าฟันคุดแล้วหน้าเรียวเล็กลง 

ข้อเท็จจริง: การผ่าฟันคุดไม่ได้ช่วยให้หน้าเรียวเล็กลงแต่อย่างใด เพราะการผ่าฟันคุดจะแค่นำฟันคุดออกจากกระดูกขากรรไกร ไม่ได้มีส่วนช่วยปรับรูปในหน้าทางอ้อมอย่างการจัดฟัน การจัดฟันทำให้การเรียงตัวของฟันเป็นระเบียบ หรือผ่าตัดขากรรไกรให้เล็กลง จึงอาจทำให้รูปหน้าดูเปลี่ยนไปได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จัดฟันแล้วรูปหน้าจะเปลี่ยนอีกด้วย   

ฟันคุดอาจเป็นปัญหาสุขภาพเล็ก ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ทั้งปัญหาเหงือกอักเสบ โรคเหงือก ฟันผุ มีกลิ่นปาก ถุงน้ำที่ฟัน ไปจนถึงรากฟันข้างเคียงละลาย นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน จะได้รักษาได้ทันนั่นเอง

อย่ารอให้ปวดฟันจนทนไม่ไหว! หาแพ็กเกจผ่าฟันคุด จากคลินิกใกล้บ้าน HDmall.co.th รวบมาให้ครบ พร้อมแอดมินช่วยดูแล 

Scroll to Top