Tardive Dyskinesia คืออะไร ข้อมูลโรค อาการ รักษา

อาการยึกยือ (Tardive dyskinesia) เป็นกลุ่มอาการทางระบบประสาทที่ทำให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้น ริมฝีปากและขากรรไกร ภาวะนี้มักเกิดจากการใช้ยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน

มีคำถามเกี่ยวกับ อาการยึกยือ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

อาการยึกยือ เป็นอย่างไร?

อาการยึกยือ มักทำให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบสุ่มของใบหน้า ลิ้น ริมฝีปาก หรือขากรรไกรที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนมากมักพบอาการ เลียริมฝีปาก ดูดปาก แลบลิ้นหรือหดลิ้น แสยะหน้า เคี้ยวซ้ำ และกะพริบตาเร็วๆ

บางกรณีอาจพบอาการที่นิ้ว แขน ขา และลำตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวรวดเร็วและเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ หรืออาจมีการเคลื่อนไหวตามการหายใจ

สาเหตุของการเกิดอาการยึกยือ

ภาวะนี้มักเกิดจากการใช้ยาเกี่ยวกับระบบประสาท ยาเหล่านี้มักใช้สำหรับการรักษาความผิดปกติทางจิตเวช และระบบประสาทบางประเภท ซึ่งออกฤทธิ์ไปยับยั้งตัวรับสารสื่อประสาท เช่น Dopamine ที่ทำหน้าที่ควบคุมความสุขของสมอง และควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการเกิดอาการยึกยือ เริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับการยับยั้งตัวรับสารสื่อประสาทเหล่านี้เป็นเวลานาน โดยยาในกลุ่มที่มักทำให้เกิดความผิดปกตินี้ ประกอบด้วย

มีคำถามเกี่ยวกับ อาการยึกยือ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

  • Amoxapine
  • Compazine หรือ Compro (Prochlorperazine)
  • Haldol (Haloperidol)
  • Prolixin (Fluphenazine)
  • Reglan (Metoclopramide)
  • Sibelium (Flunarizine)
  • Stelazine (Trifluoperazine hydrochloride)
  • Thorazine หรือ Largactil (Chlorpromazine)

ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้ มักมีอาการยึกยือหลังใช้ยาเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี แต่บางคนอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่ระยะ 6 สัปดาห์หลังการใช้ยาก็ได้

การวินิจฉัยอาการยึกยือ

อาการของอาการยึกยือ อาจเหมือนกับอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) โรคฮันติงตัน (Huntington’s disease) ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy) กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) และอาการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Dystonia)

เพื่อเป็นการแยกผู้ที่มีอาการยึกยือ ในผู้ที่กำลังรับยาเกี่ยวกับระบบประสาทและประเมินความรุนแรงของอาการ แพทย์มักใช้การตรวจที่เรียกว่า Abnormal Involuntary Movement Scale (AIMS) เป็นตัวช่วยวินิจฉัย

ระหว่างการทดสอบ แพทย์จะทำการวัดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติทั่วร่างกาย และประเมินความรุนแรงโดยรวมของการเคลื่อนไหว ซึ่งระหว่างการทดสอบ แพทย์อาจขอให้ทำการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น อ้าปาก เหยียดและงอแขน หรือเดินไปรอบ ๆ เป็นต้น

การรักษาอาการยึกยือ

การรักษาอาการยึกยือจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน ในขั้นแรก แพทย์จะแนะนำให้ลดหรือหยุดการใช้ยาเกี่ยวกับระบบประสาท หากไม่สามารถหยุดยาอย่างปลอดภัยได้ ก็อาจเปลี่ยนให้ใช้ตัวอื่นแทน โดยยา Xenazine (Tetrabenzine) เป็นยาเพียงตัวเดียวที่รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาที่ให้ใช้สำหรับรักษาอาการยึกยือ แต่ยาตัวอื่นๆ เช่น Benzodiazepines และการฉีด Botox (Botulinum toxic) ก็อาจช่วยได้เช่นกัน

มีคำถามเกี่ยวกับ อาการยึกยือ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ