what is hyperthyroidism disease definition

ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? อันตรายแค่ไหน รู้ทันป้องกันได้

ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น การตรวจสุขภาพและการสังเกตอาการผิดปกติจึงมีความสำคัญในการป้องกันและตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโรคร้ายนี้ สังเกตุอาการ วิธีรับมือกับไทรอยด์ ดูแลรักษาก่อนเป็นพิษป้องกันความรุนแรง เพื่อลดความเสี่ยง!

ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? 

ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนในเลือด triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) สูงผิดปกติ ทำให้การเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น ทำให้เกิดการเผาผลาญตลอดเวลา มีอาการมือสั่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติและน้ำหนักลด แม้จะกินอาหารเยอะก็ตาม ซึ่งไทรอยด์เป็นพิษจะพบได้ในผู้หญิงประมาณ 2% และผู้ชาย 0.2%

ลักษณะอาการของไทรอยด์เป็นพิษ

อาการของไทรอยด์เป็นพิษอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน โดยอาการที่พบได้ จะมีอาการดังนี้

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ผมร่วง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ
  • วิตกกังวล 
  • ขี้หงุดหงิดง่าย
  • แสบตา น้ำตาไหลง่าย 
  • หนังตาบวม ตาโปน
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
  • ประจําเดือนมาไม่ตรงเวลา
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ 
  • ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอบวม

ไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายมากแค่ไหน?

ไทรอยด์เป็นพิษถ้าหากรักษาไม่ทันหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ก็อาจจะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ การตรวจพบและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายเหล่านี้ได้  ไม่ว่าจะเป็น 

  • ปัญหาหัวใจที่อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • เกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะ heatstroke ขึ้นได้
  • อาจเกิดปัญหากระดูกพรุนขึ้นเพราะฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป อาจทำให้กระดูกบางและเสี่ยงต่อการหักได้
  • ในบางกรณี ไทรอยด์เป็นพิษที่มีสาเหตุจากโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) อาจทำให้ตาโปนหรือมีปัญหาการมองเห็นได้

วิธีการตรวจไทรอยด์เบื้องต้นด้วยตัวเอง

  1. ยืนตัวตรงอยู่บริเวณหน้ากระจก ยืดลำคอขึ้น หันซ้ายและขวาช้าๆ เพื่อสังเกตความผิดปกติบริเวณลำคอว่ามีก้อน บวมหรือไม่
  2. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้าง กดคลำลำคอเบาๆ จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
  3. ระหว่างที่คลำหากสัมผัสได้ถึงก้อนเนื้อบวมบริเวณลำคอ ให้ลองคลึงเบาๆ ดู
  4. ถ้าหากพบว่าสิ่งที่สัมผัสเป็นก้อนที่บวมออกมาผิดปกติตรงบริเวณลำคอ ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที

วิธีรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษนั้นมีหลายวิธีสามารถรักษาได้ ซึ่งวิธีการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค, ความรุนแรงของอาการรวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งวิธีหลักๆ ที่ใช้ในการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ จะมีดังนี้ 

การกินยา

  • การใช้ยาในการรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ คือ จะใช้ยาที่ออกฤทธิ์ลดการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้น้อยลง ช่วยให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อยง่าย ขี้หงุดหงิด น้ำหนักลด ซึ่งข้อดีในการรักษาด้วยการกินยานั้นจะไม่ส่งผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่ถูกทำลาย 

การกลืนแร่ไอโอดีน-131

  • การรักษาผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษด้วยการกลืนไอโอดีน-131 คือการใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีนเพื่อไปทำลายเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานผิดปกติ วิธีนี้จะช่วยลดขนาดของก้อนเนื้อในต่อมไทรอยด์และลดอาการบวมให้เล็กลงได้

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นวิธีที่แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วน ทำให้ขนาดต่อมไทรอยด์เล็กลง ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง ทำให้อาการต่างๆ ค่อยๆ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังผ่าตัดก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างเสียงแหบหรือไอลำบาก เป็นต้น 

ตรวจเช็กก่อนป่วย! ป้องกันปัญหาไทรอยด์ ลดความเสี่ยงด้วยโปรแกรมตรวจคัดกรองไทรอยด์ ที่ HDmall.co.th มัดรวมโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำไว้ให้คุณเลือกสรร พร้อมรับส่วนลดสุดพิเศษ ถ้าสนใจ คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top