ไขมันทรานส์พบได้ในอาหารและขนมต่าง ๆ ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ถือเป็นไขมันตัวร้ายที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากจะส่งผลให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และอีกหลายโรค
สารบัญ
ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คืออะไร
ไขมันทรานส์เป็นน้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในกระบวนการอุตสาหกรรม เป็นการแปรสภาพจากน้ำมันเหลวให้หลายเป็นกึ่งแข็งกึ่งเหลว หรือเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil (PHO) ทำให้น้ำมันสามารถทนความร้อนได้สูง เก็บรักษาได้นาน ไม่เหม็นหืน
และอีกแหล่งจะเป็นไขมันทรานส์ที่พบได้ตามธรรมชาติ จากผลิตภัณฑ์จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย และผลิตภัณฑ์จากนม อย่างนม ชีส และโยเกิร์ต จะมีไขมันทรานส์ในปริมาณเล็กน้อย แต่ไม่พบข้อมูลทางการแพทย์ว่ามีผลเสียต่อสุขภาพ
อันตรายจากไขมันทรานส์ กินมากเสี่ยงโรค
ไขมันทรานส์ที่พูดถึงกันจะเป็นไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม เป็นกรดไขมันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ กระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย เข้าไปลดไขมันดีในเลือด (HDL cholesterol) ให้ลดลง และเพิ่มไขมันไม่ดีในเลือด (LDL cholesterol) โคเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ให้สูงขึ้น
การกินไขมันทรานส์มาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดได้หลายโรค เช่น
- โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคมะเร็ง
- โรคอ้วน
อาหารประเภทไหนมีไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์พบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมและอาหารที่มีส่วนประกอบของเนยเทียม นม ชีส เนยขาว ครีมเทียม ผลิตภัณฑ์เบเกอรีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดนัท คุ้กกี้ เค้ก พาย อาหารจานด่วน ของทอด ขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย
ตัวอย่างไขมันทรานส์ในอาหาร ปริมาณ 100 กรัม (ค่าประมาณเท่านั้น)
- มาการีน 2,886 มิลลิกรัม
- ชีส 1,273 มิลลิกรัม
- โดนัท 828 มิลลิกรัม
- เฟรนซ์ฟรายส์ 516 มิลลิกรัม
- พายทูน่า 428 มิลลิกรัม
- แยมโรล 272 มิลลิกรัม
- เนื้อทอด 296 มิลลิกรัม
- ขนมปังไส้กรอก 315 มิลลิกรัม
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารหรือน้ำมันที่มีกระบวนการเติมไฮโดรเจน แต่ไขมันทรานส์ยังพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ไม่ได้กำหนดห้ามพบไขมันทรานส์ในอาหารแต่อย่างใด
จึงอาจพบไขมันทรานส์ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารและขนมชนิดต่าง ๆ เพราะอาจมีการใช้วัตถุดิบบางชนิดที่ได้จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งมีไขมันทรานส์ตามธรรมชาติเป็นองค์ประกอบ เช่น นม เนย ชีส
นอกจากนี้ น้ำมันบริโภคผ่านกรรมวิธีที่ทำให้บริสุทธิ์ (Refined edible oils) หรือน้ำมันพืชบรรจุขวด ซึ่งอาจผ่านกรรมวิธีที่ใช้อุณหภูมิสูงจนทำให้เกิดไขมันทรานส์ขึ้นได้ แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ไขมันทรานส์กินได้ไหม ปริมาณแค่ไหนถึงปลอดภัย
ในแต่ละวันควรกินไขมันทรานส์ไม่เกิน 1% ของพลังงานทั้งหมด หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน และควรควบคุมปริมาณการกินไขมันอิ่มตัวควบคู่ไปด้วย โดยไม่ควรเกิน 10% ของพลังงานหรือประมาณ 20 กรัมต่อวัน เพราะทั้งไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวล้วนเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด
หากชอบกินของหวาน ของมัน หรือของทอด อย่าละเลยสุขภาพ ตรวจคัดกรองโรคจากไขมัน กับ HDmall.co.th เลือกตรวจได้จากรพ. และคลินิกใกล้บ้าน พร้อมเปรียบเทียบ และรับส่วนลด ให้คุณใช้บริการในราคาที่ถูกกว่าจองตรง คลิกเลย!
วิธีเลี่ยงไขมันทรานส์
- อ่านฉลากอาหารและข้อมูลโภชนาการก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทุกครั้ง โดยให้ โดยหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคำว่า Hydrogenated oil หรือ Partially hydrogenated และเปรียบเทียบปริมาณไขมันทรานส์กับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน เลือกที่เป็น 0 ซึ่งแสดงถึงปริมาณไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
- เลี่ยงหรือลดปริมาณการกินอาหารทอด ของมัน เบเกอรี และขนมกรุบกรอบให้น้อยลง
- เลือกใช้น้ำมันให้ถูกประเภท เช่น น้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันถั่วเหลือง ควรใช้กับเมนูผัด ทอด และควรใช้ในปริมาณที่น้อย น้ำมันปาล์มใช้กับเมนูทอดกรอบ เพราะทนความร้อนได้ดี ไม่ควรใช้น้ำถั่วเหลืองทอด เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เป็นควันง่าย ทำให้เกิดสารโพลาร์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง
- จำกัดการกินไขมันในแต่ละวันให้ ไม่เกิน 30% ของพลังงาน หรือ 2-3 ช้อนชาต่อมื้ออาหาร เพราะไขมัน 1 กรัม ให้พลังงานมากถึง 9 แคลอรี
นอกจากการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์แล้ว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวังโรค เพียงเท่านี้ ก็มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคร้ายได้
ไม่อยากเสี่ยงโรคร้ายจากไขมัน ตรวจเลือดดูไขมันก่อนดีกว่า HDmall.co.th รวมมาให้ครบ แพ็กเกจตรวจไขมันในเลือด แพ็กเกจตรวจเลือด แพ็กเกจตรวจสุขภาพ จองผ่านเว็บได้ราคาโปรทันที หรือสอบถามแพ็กเกจสุขภาพอื่น ๆ ปรึกษาแอดมิน ที่นี่