ควันบุหรี่มือสอง Secondhand smoke scaled

ควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)

ควันบุหรี่มือสอง หมายถึงการได้รับควันบุหรี่ทางอ้อม โดยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ด้วยตัวเอง การได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งปอด และโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ โดยควันบุหรี่มือสองที่ปล่อยออกมาจากบุหรี่ ไปป์ และซิการ์ มี 2 ชนิด ได้แก่

  1. ควันข้างเคียง เป็นควันที่ลอยอยู่ในอากาศในระหว่างที่บุหรี่ถูกเผาไหม้รอการสูบ
  2. ควันหลัก เป็นควันที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมาหลังการสูบบุหรี่

แม้จะเรียกกันว่าควันหลัก แต่ที่เป็นอันตรายต่อผู้สูดดมมากกว่าคือควันข้างเคียง เพราะประกอบไปด้วยความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งที่สูงกว่าจึงเป็นพิษมากกว่า และยังมีอนุภาคที่เล็กกว่าด้วย ซึ่งสามารถแทรกซึมเข้าสู่ปอดได้ลึกกว่าควันสายหลัก

อันตรายของควันบุหรี่มือสองมีอะไรบ้าง?

ควันบุหรี่มือสองมีปริมาณนิโคตินและสารเคมีอันตรายเทียบเท่ากับกับการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด ซึ่งสารเคมีมากกว่า 250 ชนิด เป็นอันตรายต่อร่างกาย และสารเคมีอย่างน้อย 69 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในแต่ละปีมีคนไทยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอย่างน้อยปีละ 2,600 คน จากผู้ที่เสียชีวิตด้วยควันบุหรี่มือสองปีละ 6,500 คน และจากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 พบว่า คนไทยที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจากในบ้าน มีมากถึง 17.3 ล้านคน

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าควันบุหรี่มือสองมีความเชื่อมโยงกับโรคเส้นเลือดในสมองแตก โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเนื้องอกในสมองในเด็ก และควันบุหรี่มือสองยังมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น กล่องเสียง คอหอย โพรงจมูก สมอง กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร และเต้านม

เพราะควันบุหรี่มือสองมีความอันตรายไม่แพ้กับการสูบบุหรี่ โดยมีสถิติการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองอย่างชัดเจน จึงมีการรณรงค์งดสูบบุหรี่มากขึ้น ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน ในรถ และในที่สาธารณะ ซึ่งในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยก็เริ่มมีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสูบบุหรี่ที่เข้มงวดมากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. ธนู โกมลไสย


ที่มาของข้อมูล

Scroll to Top