screen time in preschoolers treatment how to

ลูกน้อยติดจอ ติดมือถือ พ่อแม่ฝึกลูกอย่างไรให้อยู่กับจอน้อยลง

เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น แม้แต่เด็กเล็ก ๆ ก็ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้คล่องแคล่ว อุปกรณ์เหล่านี้แม้จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก แต่ถ้าปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอนาน ๆ โดยไม่ควบคุม ก็ส่งผลเสียต่อพัฒนาการลูกในระยะยาวได้เช่นกัน

ปัญหาลูกติดมือถือ ติดหน้าจอจนไม่ยอมทำอย่างอื่น คงเป็นปัญหาน่าหนักใจของหลายครอบครัว ยิ่งเป็นเด็กเล็ก ๆ ไม่กี่ขวบ พ่อแม่อาจไม่รู้จะรับมือแบบไหนดี วันนี้เราจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาฝึกให้ลูกน้อยห่างหน้าจอกัน โดยบทความนี้จะเน้นเป็นเด็กปฐมวัย อายุไม่เกิน 6 ปี

อาการแบบไหนบ่งบอกลูกกำลังติดจอ ติดมือถือ 

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าลูกแค่เล่นมือถือและแท็บเล็ตในระดับปกติ หรือมากเกินไปกันแน่ เบื้องต้นอาจลองสังเกตว่าลูกมีพฤติกรรมในลักษณะนี้หรือไม่

  • ไม่สนใจหรือเลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบ 
  • ไม่สนใจเรียน และกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ รวมถึงละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง
  • หยุดเล่นมือถือหรือแท็บเล็ตไม่ได้ 
  • ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนาน ๆ หลายชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ 
  • แสดงอาการก้าวร้าว หงุดหงิด โมโหรุนแรง และต่อต้านในหลายเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนเล่นมือถือ แต่มักจะเป็นในชีวิตประจำวันด้วย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าลูกกำลังติดจอ ติดมือถืออย่างหนัก คุณพ่อคุณแม่ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกโดยด่วน หรือสามารถขอคำแนะนำจากคุณหมอหรือจิตแพทย์เด็กเพิ่มเติม 

ลูกเริ่มใจร้อน ฉุนเฉียวง่าย อยู่แต่หน้าจอ ติดจอไหม ปรึกษาคุณหมอด่วน HDmall.co.th รวมโปรตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก จองง่าย ได้ราคาดีกว่าจองตรง พร้อมเลือกตรวจที่ รพ. และคลินิกใกล้บ้านที่สะดวกได้เลย คลิกดูโปร 

เด็กแต่วัยใช้เวลาอยู่กับหน้าจอแค่ไหนถึงพอดี

คุณพ่อคุณแม่คงมีคำถามว่าเด็ก ๆ เหมาะจะใช้มือถือเล่นเกม ดูสื่ออินเตอร์เน็ตหรือไม่ จริง ๆ แล้วสามารถแบ่งเด็กได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ควรเล่นโดยเด็ดขาด และกลุ่มที่เล่นได้ แต่ควรมีขอบเขตที่ชัดเจน 

กลุ่มที่ไม่ควรเล่นโดยเด็ดขาด
อายุน้อยกว่า 2 ปี เป็นกลุ่มที่ไม่ควรเล่นโดยเด็ดขาด เพราะมีผลวิจัยชี้ชัดว่า การดูโทรทัศน์ เล่นมือถือหรือแท็บเล็ต จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการช้าในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น พัฒนาการด้านการพูด หรือพัฒนาการทางสังคม

กลุ่มที่เล่นได้ แต่ควรมีขอบเขตที่ชัดเจน
เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่เล่นได้ แต่ควรมีขอบเขตที่ชัดเจน โดยให้ลูกเล่นได้หลังทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือหน้าที่ที่ต้องทำเรียบร้อยแล้ว เช่น อาบน้ำ ทำการบ้าน กินข้าว หรือทำงานบ้าน ถ้าครบเวลาแล้วควรให้ลูกหยุดใช้ทันที 

โดยระยะเวลาเหมาะสมที่เด็กจะใช้มือถือหรือแท็บเล็ต เล่นเกม ดูกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเรียนจะแบ่งตามช่วงอายุ คือ อายุ 25 ปี  ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน วันหยุดอาจเพิ่มเวลาให้ลูกได้เล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมง

เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป สามารถปรับเวลาให้มากขึ้นกว่านั้นได้ หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน และวันหยุดก็อาจเพิ่มเวลาให้ลูกเล่นได้มากขึ้นอีกหน่อย เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่มค้นหาตัวเอง มีการเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจมากขึ้น 

นอกจากนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตควรให้เด็กใช้ได้เมื่ออายุมากกว่า 6 ปี และใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) ได้ตอนอายุ 13 ปีขึ้นไป

เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ ส่งผลอย่างไรกับลูก 

คุณพ่อคุณแม่มักเข้าใจว่าการเล่นมือถือ แท็บเล็ต เป็นเรื่องปกติตามวัยของเด็ก แต่หากปล่อยให้ลูกเล่นโดยไม่ได้ควบคุม หรือระยะเวลาที่ลูกเล่นไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการลูกได้หลายด้าน และเป็นปัญหากับเด็กโดยตรงในระยะยาว

  • สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย จากการนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน มีอาการต่าง ๆ จากการใช้อุปกรณ์ เช่น ปวดหัว ปวดต้นคอ ปวดตา เพิ่มความเสี่ยงที่สายตาสั้น สายตาล้าหรืออักเสบจากการเพ่งดูจอต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • มีปัญหาในการนอน นอนหลับไม่ดี นอนไม่ยาว และนอนไม่เพียงพอ
  • ขาดสมาธิ ด้วยความเคยชินกับหน้าจอที่มีภาพเคลื่อนไหว สีสันสดใส อาจทำให้เด็กไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ หรือสมองในการแก้ปัญหา และยังเพิ่มความเสี่ยงให้กลายเป็นเด็กสมาธิสั้นได้
  • กระทบกับสมอง การจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานานมีส่วนทำลายสมอง ทำให้ความจำถดถอยลง สมองเล็กลงขาดการพัฒนา เด็กมีไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน และพัฒนาการเชาวน์ปัญญาไม่ดี เช่น การเรียนรู้ กระบวนการฝึกคิด และการแก้ปัญหาทำได้เชื่องช้า
  • ขาดทักษะการเข้าสังคม การหมกหมุ่นอยู่กับหน้าจอเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เด็กเข้าสังคมได้ยาก ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อน และคนรอบตัวเป็นอย่างมาก
  • พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารช้า การใช้อุปกรณ์สื่อต่าง ๆ เป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้เด็กพูดช้า พูดไม่ชัด เขียนหรืออ่านไม่ได้ หรือได้ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน 
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มีปัญหาด้านพฤติกรรม เด็กจะแยกแยะความจริงกับโลกอินเทอร์เน็ตไม่ออก เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ใจร้อน หงุดหงิดง่าย รอคอยไม่เป็น โวยวายหนัก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และอาการเหล่านี้มักรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามวัย ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้ง่าย

6 วิธีฝึกลูกให้ห่างจอ ไม่ติดมือถือและแท็บเล็ต

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกเกิดปัญหาในอนาคต ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกก่อนจะแก้ยากไปกว่านี้ เบื้องต้นลองใช้แนวทางต่อไปนี้

1. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก

ยิ่งเป็นเด็กช่วงปฐมวัยหรืออายุไม่เกิน 56 ปี เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้และซึมซับสิ่งรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกก่อน 

โดยพยายามเลี่ยงการใช้มือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ที่มีจอต่อหน้าลูก เพราะอาจทำให้ลูกสับสนว่าทำไมถูกห้าม แล้วทำไมพ่อแม่ถึงเล่นได้ และควรเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างการรับประทานอาหาร หรือก่อนเข้านอน  

2. ไม่สร้างสิ่งกระตุ้น

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อมือถือหรือแท็บเล็ตให้เด็ก ๆ ใช้ส่วนตัว พยายามเก็บให้ห่างจากตัวเด็ก หากเป็นไปได้ควรปิดอุปกรณ์หรือปิดเสียง เด็กจะได้ไม่ถูกกระตุ้นให้อยากเล่นหรือดูเมื่อได้ยินเสียง 

3. กำหนดเงื่อนไขและขอบเขตในการใช้

คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยทำความตกลงกับลูกถึงขอบเขตในการเล่นที่ชัดเจน ระยะเวลาที่เหมาะสมตามวัย เพื่อไม่ให้ลูกเล่นหรือดูหน้าจอนานเกินไปจนไม่ยอมทำสิ่งอื่นที่ควรทำ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจลองกำหนดเงื่อนไขขึ้นมา แล้วให้ลูกเป็นคนเลือกเอง เช่น 

  • เล่นหรือดูหน้าจอได้ครั้งละกี่นาที อาจจะ 20 นาที หรือ 30 นาที 
  • กำหนดช่วงเวลาที่เล่นหรือดูหน้าจอได้ อาจจะเป็นหลังทำการบ้านเสร็จหรืออาบน้ำเสร็จ เล่นในช่วงวันหยุด

การปล่อยให้ลูกได้เลือกเองภายใต้เงื่อนไขที่พิจารณามาให้แล้ว จะทำให้เด็กมีอิสระ ไม่รู้สึกเหมือนถูกบังคับ และฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น

4. ให้การใช้มือถือหรือแท็บเล็ตเป็นรางวัลในทางที่ถูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้การใช้มือถือ แท็บเล็ต เป็นรางวัลหรือข้อต่อรองกับลูก พร้อมกับฝึกให้ลูกทำตามเงื่อนไขไปพร้อมกัน เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกไปในทางดี คงพฤติกรรมเหล่านี้ได้นาน และเสริมกำลังใจให้ลูกได้ด้วย เช่น 

  • “ถ้าลูกทำการบ้านเสร็จ แม่จะให้เล่นเกมหรือดูการ์ตูนได้เพิ่มอีก 10 นาที” 
  • “ถ้าหนูแปรงฟันหลังกินขนม วันหยุดแม่จะให้ดูการ์ตูน 1 ตอน”

อย่างไรก็ตาม ควรเลี่ยงการการใช้สื่อมีหน้าจอทั้งหลาย เพื่อช่วยให้เด็กสงบนิ่ง หยุดโวยวาย และร้องไห้ ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เพราะจะทำให้ไม่สามารถจำกัดเวลาการเล่นของลูกได้ในระยะยาว 

5. หากิจกรรมทดแทนที่สนุกไม่แพ้การอยู่หน้าจอ 

การพูดคุยและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับลูกให้มากขึ้น จะช่วยสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้ดี โดยพยายามเลือกกิจกรรมที่ลูกสนใจ ทำแล้วสนุก เป็นไปตามวัยและมีส่วนร่วมไปพร้อมกัน เช่น อ่านหนังสือร่วมกัน ทำขนม ทำกิจกรรมนอกบ้าน เป็นต้น

รวมถึงส่งเสริมให้ลูกเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เล่นอิสระตามใจอย่างเหมาะสม และให้เด็กได้เล่นกับกิจกรรมที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการเคลื่อนไหว จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น

6. ดูแลการใช้สื่อและหน้าจอให้เหมาะสมตามวัย

เด็กเล็ก ๆ ไม่สามารถคัดกรองได้ว่าแบบไหนเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังในการเล่นหรือใช้หน้าจอโดยลำพัง ควรให้ลูกเล่นอยู่ในสายตา 

รวมถึงควรเลือกเกมและแอพพลิเคชั่นให้เหมาะกับวัยลูก เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่สร้างสรรค์และปลอดภัย ไม่ควรตามใจให้เล่นอะไรก็ได้ อย่างเกมที่ใช้ความรุนแรง เน้นเอาชนะ หรือเล่นอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะติดตั้งโปรแกรมติดตามการใช้อินเทอร์เน็ต และขัดขวางการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เพื่อดูแลการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ของลูกได้

ตัวเล็กเริ่มอยู่กับจอมากไป พัฒนาการลูกสะดุด อยากได้คำแนะนำเพิ่มเติม ปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางสำหรับเด็กดีกว่า ลองดูโปรตรวจะประเมินและติดตามพัฒนาการเด็ก จองกับ HDmall.co.th ได้ราคาโปร แถมให้เปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ ที่ได้ก่อนจอง คลิกเลย

Scroll to Top