โรคปอดอักเสบติดเชื้อ ปอดติดเชื้อ หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคปอดบวม” เป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลกระทบร้ายแรง เช่น การหายใจลำบากเรื้อรัง หรือการติดเชื้อซ้ำซ้อน โดยเฉพาะถ้าปอดติดเชื้อในเด็กซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของเด็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้
ความอันตรายของปอดติดเชื้อในเด็กคือ การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การหายใจล้มเหลวหรือการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องระมัดระวังในการดูแลสุขภาพของเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้ปอดติดเชื้อในเด็กหรือพยายามลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
สารบัญ
โรคปอดอักเสบติดเชื้อคืออะไร?
โรคปอดอักเสบติดเชื้อเกิดจากเชื้อโรค เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส ทำให้ปอดเกิดการอักเสบและสะสมของเหลวในถุงปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนในร่างกายลดลง โดยโรคปอดอักเสบติดเชื้อพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มีความเสี่ยงสูงในเด็กเล็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์
โรคปอดอักเสบติดเชื้อ พบบ่อยในเด็กช่วงวัยไหน?
โรคปอดอักเสบติดเชื้อพบได้บ่อยในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ และมีความเสี่ยงสูงในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ เลยมักจะเรียกกันว่า ปอดติดเชื้อในเด็ก
ปอดติดเชื้อในเด็กมักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กที่ระบบภูมิคุ้มกันยังอ่อนแอและไวต่อการติดเชื้อ รวมถึงยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด
สาเหตุโรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กเกิดจากอะไร?
โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้
- โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักของโรคปอดอักเสบและทำให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการติดเชื้อในหู
- โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อ RSV (Respiratory syncytial virus) และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus)
- โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อฮิบ (Haemophilus influenza type b)
โรคปอดอักเสบติดเชื้อติดต่อกันได้อย่างไร?
ปอดติดเชื้อในเด็กติดต่อกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับละอองฝอยจากการไอหรือจามของผู้ป่วย รวมถึงการสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อโรค เช่น ของเล่นหรือพื้นผิวที่เด็กใช้ร่วมกัน
อาการปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กมีอะไรบ้าง?
เด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบติดเชื้อมักมีอาการดังนี้
- ไข้สูง หนาวสั่น
- ไอมีเสมหะ หรือไอแห้ง
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หรือหายใจเสียงดัง
- เจ็บหน้าอก
- ไม่อยากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
- ซึม ไม่มีแรง หรือร้องไห้มากผิดปกติ
ถ้าเด็กมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาทันที
ปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กรักษาได้ไหม?
ปอดอักเสบติดเชื้อในเด็ก หรือโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยแพทย์อาจเลือกการรักษาให้เหมาะกับแต่ละคนดังนี้
- ให้ยาปฏิชีวนะ ใช้ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ให้ยาต้านไวรัส สำหรับปอดอักเสบติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- ดูแลแบบประคับประคอง เช่น การให้ออกซิเจนหรือยาแก้ไข้
การป้องกันโรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็ก
วิธีป้องกันโรคปอดติดเชื้อในเด็กสามารถทำได้ดังนี้
ป้องกันปอดติดเชื้อในเด็กด้วยการดูแลสุขอนามัย
- หมั่นล้างมือของเด็กและคนดูแลให้สะอาด
- ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวที่เด็กใช้ร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในพื้นที่แออัดหรือใกล้ผู้ป่วย
ป้องกันปอดติดเชื้อในเด็กด้วยการฉีดวัคซีน
- ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ (PCV) เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคปอดอักเสบ
- ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่อาจนำไปสู่ปอดอักเสบ
- ฉีดวัคซีนฮิบ (Hib) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ Haemophilus influenza type b
โดยวัคซีนเหล่านี้สามารถลดความเสี่ยงของโรคปอดอักเสบและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กเป็นภัยเงียบที่ต้องได้รับการป้องกันและดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าพ่อแม่หรือผู้ปกครองสงสัยว่าลูกของคุณเสี่ยงต่อโรคนี้ แนะนำให้ฉีดวัคซีนปอดอักเสบก่อนได้ โดยสามารถดูรายละเอียดการจองโปรโมชั่นฉีดวัคซีนปอดอักเสบผ่าน HDmall.co.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ทางไลน์ @HDcoth
TH-PVC-00201