niacin scaled

Niacin (ไนอะซิน)

ไนอะซิน (Niacin) หรืออาจเรียกว่า นิโคตินิค แอสิด (Nicotinic acid) เป็นวิตามินบี (วิตามินบี 3) ถูกใช้เป็นวิตามินเสริม และใช้ร่วมกับยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ส่วนใหญ่จะถูกใช้บ่อยในการป้องกันโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ ไนอะซินมีการวางจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยาซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ มีทั้งในรูปแบบยาเดี่ยว และรูปแบบผสมกับวิตามินอื่น ราคามีหลากหลายตั้งแต่ไม่กี่สิบบาทจนถึงหลายร้อยบาท

สรรพคุณของ Niacin (วิตามินบี 3)

ไนอะซินถูกใช้เป็นวิตามินเสริมเพื่อรักษาอาการขาดไนอะซิน (วิตามินบี 3) ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายในคนที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงซึ่งเป็นโรคหัวใจวายอยู่แล้ว และใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ไนอะซินจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำ และคอเลสเตอรอลต่ำ

  • ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด: ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL (low-density lipoprotein) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด, เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล HDL (high-density lipoprotein) ซึ่งดีต่อร่างกาย
  • สนับสนุนการเผาผลาญพลังงาน: มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน, ช่วยในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  • บำรุงผิวหนังและระบบประสาท: ช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังให้แข็งแรง, ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
  • ลดการอักเสบ: มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาการข้างเคียงของไนอะซิน

อาการการข้างเคียงทั่วไป

  • รู้สึกคันใต้ผิวหนัง
  • รู้สึกผิวอุ่น แดง และเจ็บแปลบเหมือนมีอะไรมาทิ่ม
  • เวียนศีรษะเล็กน้อย
  • เหงื่อออก หรือรู้สึกเหมือนเป็นไข้
  • คลื่นไส้ เรอ ท้องเสีย
  • ขาเป็นตะคริว ปวดกล้ามเนื้อ
  • นอนไม่หลับ

อาการข้างเคียงที่รุนแรงของไนอะซิน

  • คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ผิวแดงร่วมกับมีอาการมึนงง
  • มีอาการแพ้รุนแรง
  • ปวดศีรษะเล็กน้อย เป็นลม
  • หัวใจเต้นเร็ว หรือไม่สม่ำเสมอ
  • อุจจาระเป็นสีเทา
  • คันที่ผิวหนัง หรือเป็นผื่น
  • ปวดท้องรุนแรง
  • หายใจสั้น
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • ผิวหรือดวงตามีสีเหลือง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเหมือนเป็นไข้

ไนอะซินและการตั้งครรภ์

มีรายงานว่าการใช้ไนอะซินเพื่อรักษาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจจะมีอันตรายต่อเด็กที่ยังไม่คลอดออกมา ไนอะซินสามารถถูกส่งผ่านทางน้ำนม และอาจจะมีอันตรายต่อเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่ได้ ดังนั้นการใช้ไนอะซินในหญิงให้นมบุตรควรมีการปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อน

ปฏิกิริยาของไนอะซิน

ผู้ที่เป็นโรคตับรุนแรง เป็นแผลหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหารไม่ควรรับประทานไนอะซิน ไนอะซินอาจทำให้ผลตรวจปัสสาวะผิดปกติ ถ้าต้องตรวจหายาในปัสสาวะ ควรแจ้งผู้ที่ทำการตรวจก่อน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไนอะซินร่วมกับยาลดไขมันในเลือดคอเลสติพอล (Colestipol) หรือคอเลสไทรามีน (Cholestyramine) หรือรับประทานยาเหล่านี้ก่อนรับประทานไนอะซิน 4-6 ชั่วโมง

ขนาดการใช้ของไนอะซิน

ควรรับประทานตามคำแนะนำข้างฉลาก บางครั้งอาจรับประทานก่อนนอนพร้อมกับขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันต่ำ การรับประทานยา เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ แอสไพริน (Aspirin) 30 นาทีก่อนรับประทานไนอะซินจะช่วยป้องกันอาการข้างเคียง เช่น ผิวแดง ได้

รับประทานไนอะซินพร้อมกับน้ำเย็นเต็มแก้ว ควรกลืนยาทีเดียวทั้งเม็ด การตัดแบ่งหรือบดยาอาจจะทำให้ได้รับปริมาณยาต่อครั้งมากเกินไปปริมาณขนาดการใช้ยาที่แนะนำของไนอะซินขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ และภาวะโรคที่เป็นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

Scroll to Top