ipratropium bromide scaled

Ipratropium Bromide (ไอปราโทเปียม โบรไมด์)

ไอปราโทเปียม โบรไมด์ (ipratropium bromide) เป็นยาในกลุ่ม muscarinic antagonist ที่มีโครงสร้างไอปราโทเปียมในรูปเกลือโบรไมด์ คล้ายกับยา atropine แต่มีความปลอดภัยสูงกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อนำมาใช้เป็นยาสำหรับบริหารทางการหายใจ ไอปราโทเปียม โบรไมด์ ใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหลายชนิด เช่น โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease; COPD) และโรคหืด (asthma) สามารถอออกฤทธิ์ได้ใน 15-30 นาทีและมีฤทธิ์ยาวนานถึง 3-5 ชั่วโมง

สรรพคุณและข้อบ่งใช้ของยา Ipratropium Bromide

  • ข้อบ่งใช้สำหรับโรคหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการน้ำมูลไหลที่เกี่ยวข้องกับเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ

กลไกของการออกฤทธิ์ของไอปราโทเปียม โบรไมด์

ไอปราโทเปียมมีคุณสมบัติ anticholinergic โดยยับยั้งการทำงานของอะเซทิลโคลีน (acetylcholine) ที่พาราซิมพาเธติก (parasympathetic) ที่เซลล์ประสาทตอบสนองตัวที่สอง (post ganglionic) เมื่อให้ยาแบบบริหารผ่านการสูด ไอปราโทเปียมจับแบบแข่งขันที่บริเวณตัวรับโคลิเนอจิกที่กล้ามเนื้อเรียบบริเวณหลอดลม ทำให้เกิดการต้านการหดตัวของหลอดลม (bronchoconstriction) จากฤทธิ์ของอะเซทิลโคลีน การยังยั้งประสาทวากัสของไอปราโทเปียมทำให้เกิดการขยายของทางเดินอากาศ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของหลอดลม (bronchodilation)

ข้อบ่งใช้สำหรับไอปราโทเปียม โบรไมด์

ข้อบ่งใช้สำหรับโรคหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาในรูปแบบยาสูดเข้าระบบทางเดินหายใจ

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ชนิด metered-dose aerosol ขนาด 20-40 ไมโครกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องให้ยาในขนาด 80 ไมโครกรัมต่อครั้งได้ ยาสำหรับ nebulizer ขนาด 250-500 ไมโครกรัม วันละ 3-4 ครั้ง
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก ชนิด metered-dose aerosol
    • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ขนาด 20 ไมโครกรัม วันละ 3 ครั้ง
    • เด็กอายุ 6-12 ปี ขนาด 20-40 ไมโครกรัม วันละ 3 ครั้ง
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก สำหรับ nebulizer
    • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี สำหรับโรคหืดเฉียบพลัน ขนาด 125-250 ไมโครกรัม ให้ยาทุก 6 ชั่วโมงแต่ไม่เกินกว่าขนาดยา 1 มิลลิกรัม
    • เด็กอายุ 6-12 ปี สำหรับโรคหืดเฉียบพลัน ขนาด 250 ไมโครกรัม ให้ขนาดยาซ้ำได้ตามความจำเป็นจนถึงขนาด 1 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้สำหรับอาการน้ำมูลไหลที่เกี่ยวข้องกับเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ รูปแบบ metered-dose nasal spray ขนาด 42 ไมโครกรัม พ่นเข้าจมูกแต่ละข้าง วันละ 2-3 ครั้ง ให้ขนาดยาได้สูงสุด 84 ไมโครกรัม (จมูกแต่ละข้าง) วันละ 3-4 ครั้ง

  • ถ้าใช้ในกรณีน้ำมูกไหลที่เกี่ยวข้องกับอาการหวัด ให้ใช้ติดต่อกันไม่เกิน 4 วัน
  • ถ้าใช้ในกรณีน้ำมูกไหลที่เกี่ยวข้องกับเยื่อโพรงจมูกอักเสบจากการแพ้ ให้ใช้ติดต่อกันไม่เกิน 3 สัปดาห์

ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุมากกว่า 12 ปี รูปแบบ metered-dose nasal spray  ขนาด 42 ไมโครกรัม พ่นเข้าจมูกแต่ละข้างวันละ 2-3 ครั้ง

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมใช้ยาไอปราโทเปียม โบรไมด์

  • หากลืมใช้ตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน
  • ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด
  • ยาที่ใช้ด้วยวิธีการสูดพ่นให้ปฏิบัติตามเช่นเดียวกันกับยาที่ใช้รับประทานในกรณีลืมใช้ยา

ข้อควรระวังของการใช้ยาไอปราโทเปียม โบรไมด์

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ยาอะโทรปีน (atropine) หรืออนุพันธ์ของยาเหล่านี้
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วย myasthenia gravis
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรค cystic fibrosis
  • ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์
  • ระวังการใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาไอปราโทเปียม โบรไมด์

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ปัสสาวะขัด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ปวดศีรษะ มึนงง อาการที่พบได้น้อย ได้แก่ ปัสสาวะคั่ง อาการแพ้ จมูกแห้ง ระคายเคือง อาการที่อาจอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ อาการแพ้ยาแบบ anaphylaxis

ข้อมูลการใช้ยาไอปราโทเปียม โบรไมด์ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายาไอปราโทเปียม โบรไมด์

ยาในรูปแบบพ่น เก็บที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด ความร้อน และความชื้น

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
Scroll to Top