ตรีผลา สมุนไพรตำรับเพื่อสุขภาพ

ตรีผลา สมุนไพรตำรับเพื่อสุขภาพ

ตรีผลา เป็นพิกัดยาสมุนไพรไทยที่ใช้กันมายาวนาน ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย (Terminalia chebula Retz.) สมอพิเภก (Terminalia belerica Roxb.) และมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) ในอัตราส่วน 1:1:1 เท่ากัน 

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรีผลา? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ตรีผลามีสารสำคัญกลุ่มฟีนอลิก (Phenolic) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมาก ถือว่าเป็นสมุนไพรตำรับที่มีสรรพคุณหลากหลาย ปัจจุบันจึงนิยมใช้หลาย ๆ รูปแบบ ทั้งยา เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และส่วนผสมในอาหารเสริม เช่น เครื่องสำอาง ยาสีฟัน 

สรรพคุณดี ๆ ของตรีผลา 

ตรีผลามีสรรพคุณดังนี้

  1. รักษาสมดุลของระบบย่อยอาหาร ช่วยลดกรด และเพิ่มความรู้สึกอยากอาหาร
  2. กำจัดของเสียออกจากร่างกาย เป็นยาระบายได้ 
  3. ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้เจ็บคอ 
  4. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อาการปวดเข่า รวมถึงมะเร็งด้วย 
  5. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  6. ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ทั้งคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และไขมันไม่ดี (LDL) 
  7. ต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง
  8. ตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย ตรีผลาเป็นยาประจำฤดูร้อน จึงช่วยปรับสมดุลร่างกายและธาตุต่าง ๆ ให้ทำงานได้ปกติ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบรรเทาและป้องกันโรคหวัด รวมถึงโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ด้วย 
  9. เมื่อใช้ภายนอก จะช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวกระจ่างใส

ตรีผลากับการลดน้ำหนัก  

ตรีผลามีสรรพคุณช่วยระบาย ช่วยให้การทำงานของระบบขับถ่ายดีขึ้น มีการขับน้ำและของเสียมากขึ้น ทำให้น้ำหนักลดลง สอดคล้องกับการทดลองในผู้ป่วยโรคอ้วนที่กินตรีผลาผสมกับมหาหิงคุ์เทียบกับยาหลอก พบว่าน้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 

อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ออกกำลังกาย และอาจกินตรีผลาเป็นส่วนช่วยปรับสมดุลการทำงานของร่างกายเท่านั้น 

ตรีผลา กินยังไงได้บ้าง 

ตรีผลากินหรือดื่มได้หลายแบบ เช่น

  1. น้ำดื่ม ใช้สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม (แบบสดหรือแห้งก็ได้) อย่างละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน ต้มในน้ำสะอาด ดื่มน้ำต้มครั้งละ 1 แก้ว ตอนเช้าและเย็น จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการระบายของเสียในร่างกายทำงานดีขึ้น 
  2. ยาชนิดเม็ด ลูกกลอน และแคปซูล กินครั้งละ 200–300 มิลลิกรัม สำหรับขับเสมหะ และเป็นยาระบาย
  3. ตำรับอายุรเวท ใช้ผงสมุนไพรตรีผลาผสมน้ำ เนย หรือน้ำผึ้ง กินครั้งละ 1–2 กรัม วันละ 2 ครั้ง ใช้บำรุงร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

ผลข้างเคียงของการใช้ตรีผลา

สำหรับคนที่ท้องเสียง่าย ถ้ากินหรือดื่มตรีผลา อาจทำให้ท้องเสียได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง


เขียนบทความโดย พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรีผลา? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ