hormone levels testing questions screening faq

คลาย 7 ข้อสงสัยเรื่องการตรวจฮอร์โมน

เคยสงสัยไหมว่าทำไมควรตรวจฮอร์โมน ตรวจฮอร์โมนแล้วมีประโยชน์อย่างไร ใครบ้างควรตรวจฮอร์โมน ทุกคนไหม? 

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจฮอร์โมน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้น เพื่อส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ผ่านกระแสเลือด มีผลให้ระบบต่าง ๆ ทำงานหรือหยุดลง เมื่อฮอร์โมนมีการหลั่งผิดปกติ ย่อมมีมีผลเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและอารมณ์ของเราแน่นอน

การตรวจฮอร์โมนไม่เพียงแค่ช่วยประเมินสุขภาพโดยรวม แต่ยังช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน ในบทความนี้ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับการตรวจฮอร์โมนให้มากขึ้นผ่านข้อ 10 สงสัยที่พบบ่อย ๆ กัน

1. ไม่ใช่วัยทอง จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนไหม?

ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญพลังงาน อารมณ์ การนอนหลับ และสุขภาพทางเพศ เมื่อระดับฮอร์โมนผิดปกติไป ไม่ว่าจะมากไปหรือน้อยไป ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจได้

แม้วัยทองจะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่ช่วงวัยอื่นก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด การสัมผัสมลพิษ การดื่มเหล้า หรือการสูบบุหรี่ 

ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ถ้าพบอาการบ่งบอกถึงความผิดปกติของฮอร์โมนต่อไปนี้ ก็สามารถเข้ารับการตรวจฮอร์โมนประเมินระดับฮอร์โมนได้โดยไม่ต้องรอ 

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • หน้ามัน มีสิวขึ้นเยอะ
  • ผิวแห้งกร้าน 
  • ผมร่วงผิดปกติ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย ลดน้ำหนักลงยาก รู้สึกระบบเผาผลาญแย่ลง หรือน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่ค่อยหลับ มีปัญหาในการนอน
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
  • คิดไม่ค่อยทัน หลงลืมง่าย
  • เครียดง่าย 
  • มีอาการซึมเศร้า
  • ความรู้สึกทางเพศหรือสมรรถภาพทางเพศลดลง ในผู้หญิงจะมีอาการช่องคลอดแห้ง หรือในผู้ชายจะมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในช่วงเช้าน้อยลง 

สำหรับคนที่เริ่มมีอายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สามารถเริ่มตรวจฮอร์โมนก่อนช่วงวัยทองได้ ซึ่งจะช่วยให้รู้ถึงระดับของฮอร์โมนว่ามีมากน้อยแค่ไหน ทำให้วางแผนการดูแลสุขภาพตัวเองได้ดียิ่งขึ้น 

2. การตรวจฮอร์โมนในผู้หญิงและผู้ชายเหมือนกันไหม

ผู้หญิงและผู้ชายมีฮอร์โมนบางตัวในปริมาณมากน้อยไม่เท่ากัน และปัญหาสุขภาพจากฮอร์โมนผิดปกติในแต่ละเพศมักจะต่างกันด้วย ทำให้รายการตรวจฮอร์โมนในสถานพยาบาลส่วนใหญ่จะแยกตรวจตามเพศเป็นหลัก 

การตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้หญิงมักจะเน้นตรวจอาการผิดปกติ ที่มักเกิดจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น กลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (PMS) ปวดประจำเดือน เป็นสิวเยอะ หรือปวดไมเกรน 

รายการตรวจฮอร์โมนที่นิยมในผู้หญิงคือ

  • ตรวจฮอร์โมนทั่วไป เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมน DHEAs (Dehydroepiandrosterone sulfate) ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH)
  • ตรวจฮอร์โมนเพศ เช่น ฮอร์โมน E2 (Estradiol hormone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ทั้งฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) และฮอร์โมน FSH (Follicle stimulating hormone) และฮอร์โมน SHBG (Sex hormone binding globulin)

การตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้ชายมักจะเน้นตรวจหาสาเหตุของปัญหาทางเพศหรือสุขภาพทางเพศ โดยรายการตรวจฮอร์โมนที่นิยมในผู้ชายคือ

  • ตรวจฮอร์โมนทั่วไป เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมน DHEAs (Dehydroepiandrosterone sulfate) ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH)
  • ตรวจฮอร์โมนเพศ เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ทั้งฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) และฮอร์โมน FSH (Follicle stimulating hormone) 

การตรวจฮอร์โมนทั่วไปจะเป็นการตรวจดูสุขภาพโดยรวมของเรา และการตรวจฮอร์โมนเพศนั้นเจาะลึกลงไปอีกขั้น แล้วแต่ปัญหาสุขภาพของแต่ละคนด้วย เบื้องต้นสามารถปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาลถึงโปรแกรมที่เหมาะสมได้

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจฮอร์โมน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

เปรียบเทียบราคา ดูแพ็กเกจตรวจฮอร์โมน

3. ทำไมผู้หญิงต้องตรวจฮอร์โมนเพศชาย?

ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนเพศชาย อย่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เช่นเดียวกัน เพียงแค่มีปริมาณน้อยกว่า โดยจะส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และอารมณ์ทางเพศของผู้หญิง

ถ้าผู้หญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากไปอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดกบางบริเวณ เกิดก้อนเนื้อหรือถุงน้ำที่รังไข่

4. ทำไมผู้ชายต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง?

ผู้ชายก็มีฮอร์โมนเพศหญิง อย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เช่นเดียวกันในปริมาณที่น้อยกว่าผู้หญิง โดยมีความสำคัญต่ออารมณ์ทางเพศ สมรรถภาพทางเพศ การผลิตสเปิร์ม และความแข็งแรงของกระดูกในผู้ชาย   

ถ้าผู้ชายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไปอาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง กล้ามเนื้อหาย ไขมันสะสมไขมันได้ง่ายขึ้น และมีบุตรยาก 

5. กลุ่มหลากหลายทางเพศ LGTBQ+ ตรวจฮอร์โมนอะไร?

การตรวจฮอร์โมนจะช่วยปรับความสมดุลของระดับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศมากขึ้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะปรับให้มีความเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายมากขึ้น ช่วยเตรียมความพร้อมก่อนการใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือเทคฮอร์โมน

เพศชายที่ต้องการปรับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์เพศ จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับเพศหญิงที่ต้องการปรับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์เพศ อาจต้องตรวจฮอร์โมนเพศชาย เพื่อช่วยคำนวณและปรับระดับฮอร์โมนได้อย่างเหมาะสม

6. ก่อนตรวจฮอร์โมน เตรียมตัวยังไง ต้องหยุดใช้ยาหรือไม่?

การตรวจฮอร์โมนด้วยวิธีเจาะเลือดไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ ไม่ต้องงดอาหาร เพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน กรณีที่มีการตรวจสุขภาพพร้อมกัน อาจต้องงดน้ำและอาหารตามคำแนะนำของสถานพยาบาล 

เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อนจากสภาวะแท้จริงของร่างกาย ถ้ามีโรคประจำตัวหรือใช้ยาใด ๆ โดยเฉพาะยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเสริม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน 

7. ตรวจฮอร์โมนช่วงเวลาไหนแม่นสุด?

การตรวจฮอร์โมนจะแนะนำให้ตรวจในช่วงเช้า โดยเฉพาะเวลา 8.00 10.00 น. เพราะฮอร์โมนหลายตัวจะมีระดับฮอร์โมนสูงสุดในช่วงเช้า เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล และฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ผลการตรวจแม่นยำและสะท้อนระดับฮอร์โมนในร่างกายได้ดีที่สุด

ผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน อย่างประจำเดือนผิดปกติ หรืออาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) แล้วต้องการตรวจความสมดุลของฮอร์โมนเพศ แนะนำให้ตรวจประมาณวันที่ 21 ของรอบเดือน (นับวันแรกของประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1) 

การตรวจฮอร์โมนไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะช่วยให้เราเข้าใจสุขภาพของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องอารมณ์และสุขภาพร่างกาย การตรวจฮอร์โมนสามารถบอกเราว่าร่างกายเราทำงานได้ดีหรือไม่ ช่วยวินิจฉัยปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับการตรวจ ฮอร์โมนกันนะ

เหนื่อยง่าย? อารมณ์แปรปรวน? อาจเป็นเพราะฮอร์โมน มาเช็กเลย! HDmall.co.th มีแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนแบบจัดเต็ม จากรพ. ทั่วไทย ราคาคุ้มค่า ไม่ต้องรอคิวนาน

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจฮอร์โมน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ