helicobacter pylori test disease definition scaled

เชื้อ H.Pylori แบคทีเรียตัวร้ายทำลายกระเพาะอาหาร ตรวจก่อน รู้ก่อน รักษาได้

“ปวดท้อง แสบร้อนท้อง เจ็บลิ้นปี่” หลายคนอาจสงสัยว่าอาการแบบนี้เป็นโรคกระเพาะ ไม่ก็กรดไหลย้อนแน่ ๆ กินยาลดกรดเอา เดียวก็หาย แต่อาการพบบ่อยเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ได้เหมือนกัน

เชื้อเอชไพโลไรเป็นแบคทีเรียตัวร้ายในกระเพาะอาหาร ติดเชื้อแล้วจะอันตรายแค่ไหน ก่อให้เกิดโรคอะไรบ้าง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าติดเชื้อแล้ว หาคำตอบได้ในบทความนี้

เชื้อ H. Pylori คืออะไร 

เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอชไพโลไร (H. Pylori) คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น กรดไหลย้อน ถ้าติดเชื้อไปนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

ติดเชื้อ H. Pylori จากไหน

การติดเชื้อเอชไพโลไรสามารถติดต่อด้วยการรับเชื้อเข้าปาก โดยอาจมาจากการกินอาหารและดื่มน้ำที่ไม่สะอาดเพียงพอ หรือปนเปื้อนเชื้อ เช่น อาหารแช่แข็งที่ไม่ปรุงสุก อาหารผ่านความร้อนไม่ทั่วถึง อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ 

รวมถึงการใช้อุปกรณ์ปรุงหรือกินอาหารที่สกปรก อย่างช้อน ส้อม หรือแก้วน้ำ หรือการกินอาหารร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ ทำได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

อาการแบบไหนบอกว่ากำลังติดเชื้อ H. Pylori 

ปกติแล้วเชื้อเอชไพโลไรสามารถผลิตด่างขึ้นมาป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกกรดในกระเพาะอาหารทำลาย ทำให้แฝงตัวอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน โดยไม่แสดงอาการผิดปกติ 

คนที่ได้รับเชื้อปริมาณน้อยมักไม่มีอาการ แต่พอได้รับเชื้อปริมาณมากหรือติดเชื้อแบบเฉียบพลันจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น โดยอาการจะคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เช่น

  • ปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ปวดหรือแสบร้อนบริเวณท้องส่วนบนเหนือสะดือ โดยจะปวดรุนแรงหลังรับประทานอาหารหรือท้องว่าง
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
  • เรอบ่อย มีลมในท้อง   
  • คลื่นไส้ 

กรณีเกิดอักเสบรุนแรงจนเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก ทำให้มีเลือดออกทางเดินอาหาร ก็จะพบอาการต่อไปนี้

  • อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลคล้ำ
  • อุจจาระมีเลือดปน หรืออุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  • โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการในข้างต้นอาจไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไรเสมอไป เพราะไม่ใช่อาการเฉพาะ อาจจะเป็นแค่โรคกระเพาะทั่วไปหรือโรคระบบทางเดินอาหารก็ได้ จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อตัวนี้ และสาเหตุเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่เป็นได้

หากพบสัญญาณผิดปกติเกี่ยวระบบทางเดินอาหารไม่ควรละเลย ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด และรีบรักษาก่อนอาการรุนแรงขึ้น 

เชื้อ H. Pylori ตัวร้ายแอบฝังอยู่ในกระเพาะเรารึเปล่า..เช็กให้ชัวร์ ลองดูโปรตรวจคัดกรองโรคระบบทางเดินอาหารและช่องท้อง จองโปรผ่าน HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดเพิ่มทุกครั้ง คลิกเลย! 

การตรวจหาเชื้อ H. Pylori มีกี่วิธี ทำได้อย่างไร 

การตรวจหาเชื้อเอชไพโลไรทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล และดุลยพินิจของแพทย์ โดยแพทย์จะต้องมีการซักประวัติและตรวจร่างกายร่วมด้วย

  • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติเจนที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ
  • การตรวจเลือด เพื่อหาสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อ
  • การตรวจผ่านลมหายใจ (Urea Breath Test) เป็นการกลืนสารยูเรียและเป่าลมใส่ถุง เพื่อเก็บตัวอย่างลมหายใจส่งตรวจหาปริมาณแอมโมเนีย ซึ่งเชื้อเอชไพโลไรสามารถเปลี่ยนยูเรียเป็นแอมโมเนียได้ ทำให้ปริมาณแอมโมเนียจะสูงกว่าคนทั่วไป
  • การส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร สามารถบอกได้ถึงความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อได้ วิธีนี้จะทำให้รายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น แผลในกระเพาะอาหาร เนื้องอก หรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือไม่ และอาจตัดเนื้อเยื่อบริเวณช่องท้องออกมาตรวจหาเชื้อด้วย 

ใครบ้างควรตรวจคัดกรองหาเชื้อ H.Pylori 

  • มีอาการเข้าข่ายของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เช่น ปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาหารไม่ย่อย
  • มีประวัติเป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร
  • มีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ มานาน รักษาด้วยการใช้ยาลดกรดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะญาติสายตรง
  • มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อเอชไพโลไร เช่น ชอบกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อยู่อาศัยร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้ หรือกินอาหารร่วมกันเป็นประจำ

ติดเชื้อ H.Pylori รักษาได้ไหม หายขาดหรือเปล่า

การติดเชื้อเอชไพโลไรสามารถรักษาให้หายได้จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะสูตรเฉพาะ 2-3 ชนิดร่วมกัน และยาลดกรดขนาดสูง โดยต้องกินยาต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์ 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ดยกินอาหารให้ตรงเวลา หรือแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 5-6 มื้อ เพื่อไม่ให้ท้องว่างนานเกินไป ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้

หลังรักษาเสร็จสิ้นหรือกินยาครบกำหนดแล้ว จำเป็นต้องกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำอย่างน้อยภายใน 4 สัปดาห์  เพื่อยืนยันว่ากำจัดเชื้อได้หมดจริงหลังรักษา กรณียังพบเชื้ออยู่จะต้องรักษาซ้ำ โดยแพทย์จะเปลี่ยนยาที่ใช้รักษา เพราะอาจมีความเป็นไปได้ว่าเชื้อจะดื้อยา

เชื้อ H. Pylori ตัวร้าย รักษายากแบบนี้ ไม่ต้องรอให้มีอาการ  ตรวจคัดกรองโรคระบบทางเดินอาหารและช่องท้อง จองโปรผ่าน HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดเพิ่มทุกครั้ง คลิกเลย! หรือไม่แน่ใจเลือกแพ็กเกจไหนดี หรืออยากให้ช่วยนัดหมายคุณหมอ ทักหาแอดมินได้เลย ที่นี่

Scroll to Top