common diabetes tests screening process

4 วิธีตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน รู้ทัน ป้องกันเบาหวานได้!

เบาหวานเป็นโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรังยอดฮิตของคนไทย โดยเฉพาะในคนมีอายุ คนชอบกินหวานเป็นชีวิต หรือคนอ้วน และโรคนี้ก็มักไม่มีอาการให้เราเห็น

มีคำถามเกี่ยวกับ เบาหวาน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจึงจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้เราได้หันกลับมาใส่ใจการกินอาหารและดูแลตัวเองมากขึ้น ความเสี่ยงเบาหวานจะได้ลดลง มาดูกันว่าวิธีตรวจคัดกรองเบาหวานมีอะไรบ้าง

โรคเบาหวาน (Diabetes) คืออะไร? 

โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตฮอร์โมนช่วยแปลงน้ำตาลไปเป็นพลังงานหรือฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ไม่ได้หรือผลิตไม่เพียงพอ และร่างกายยังมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าระดับปกติอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ในระยะยาว อย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต หรือโรคตา โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลายประการ ซึ่งถ้าตรงกับเราแม้ข้อเดียว ก็ควรไปตรวจคัดกรองเบาหวานโดยเร็ว เช่น

  • อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ประวัติคนในครอบครัวหรือญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีภาวะอ้วนหรืออ้วนลงพุง โดยวัดจากค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 หรือเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน ในผู้ชายจะมากกว่า 90 เซนิติเมตรขึ้นไป และมากกว่า 80 เซนติเมตรในผู้หญิง  
  • มีประวัติเป็นโรคเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์
  • มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • มีประวัติคลอดทารกน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • ชอบกินอาหารและเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ
  • ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละวัน

4 วิธีตรวจคัดกรองโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง? 

วิธีตรวจเบาหวานที่มักใช้กันจะมี 4 วิธี ล้วนเป็นการเจาะเลือดส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวัดปริมาณน้ำตาลสะสมในเลือด 

แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน เพื่อผลการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น โดยแต่ละวิธีจะมีขั้นตอนและการวัดผลที่ต่างกัน ดังนี้

1. วัดระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาหลังอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose: FPG) 

เรียกกันในอีกชื่อว่า Fasting blood sugar (FBS) นิยมใช้คัดกรองเบาหวานในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดล่วงหน้า 8 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด ยกเว้นน้ำเปล่าดื่มได้ 

ผลลัพธ์ที่แปรออกมาในหน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (Mg/dL) จะช่วยคัดกรอง ประเมิน และติดตามได้ว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงโรคเบาหวานหรือไม่ ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ใด

เกณฑ์การวัดผล

  • ระดับปกติจะมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ระดับเสี่ยงเบาหวานจะอยู่ที่ 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
  • ระดับเป็นเบาหวานจะมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  

2. วัดระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสช่วงเวลาปกติ (Casual plasma glucose/ Random Blood Sugar) 

วิธีนี้สามารถเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลในเวลาใดก็ได้ ไม่ต้องอดอาหารเหมือนวิธี FPG ซึ่งหากระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

มีคำถามเกี่ยวกับ เบาหวาน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ร่วมกับมีสัญญาณอาการน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น กระหายน้ำหรือหิวมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยครั้ง น้ำหนักตัวลดลง อ่อนเพลีย หรือมีปัญหาสายตา แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 

3. วัดน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin A1c: HbA1c)

ค่า HbA1c จะบ่งบอกเปอร์เซ็นต์ (%) ของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงที่มีน้ำตาลไปจับอยู่ช่วง 3-4 เดือนก่อนหน้าหรือ 120 วันตามอายุขัยของเม็ดเลือด จึงช่วยวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องอดอาหาร 

เกณฑ์การวัดผล 

  • ระดับปกติหรือคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานต้องมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยต่ำกว่า 5.7% 
  • ระดับเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจะอยู่ระหว่าง 5.7-6.4% 
  • คนที่เป็นเบาหวานจะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ย 6.5% เป็นต้นไป   

4. ทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)

เป็นการตรวจระดับน้ำตาลโดยให้ดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลกลูโคส และเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลในอีก 2 ชั่วโมงถัดมา 

มักใช้ตรวจหาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) คนที่เข้าข่ายโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ตรวจวัดหลังอดอาหารแล้วระดับน้ำตาลในเลือดยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมถึงภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) 

เกณฑ์การวัดผล 

  • ระดับปกติจะต้องมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ระดับเสี่ยงเบาหวานอยู่ระหว่าง 140-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ระดับที่เป็นเบาหวานจะอยู่ที่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรเป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม หากตรวจแล้วระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน แพทย์อาจมีการนัดแนะมาตรวจซ้ำ เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค

ก่อนไปตรวจคัดกรองเบาหวาน เตรียมตัวอย่างไร

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานด้วยวิธีต่าง ๆ มีข้อแนะนำที่ต่างกัน จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก 

เบื้องต้นก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หากตรวจด้วยวิธี Fasting blood sugar ควรงดอาหาร หรืองดอาหารก่อนตรวจ 6-8 ชั่วโมงตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันผลตรวจคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจกระทบต่อประเมินโรคและการวางแผนรักษาได้

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นสิ่งที่เราทำได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการก่อน โดยเฉพาะหากอยู่ในช่วงอายุเสี่ยง มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ชอบกินอาหารแต่ไม่ออกกำลังกาย หรือมีโรคประจำตัว เพราะยิ่งคัดกรองเร็ว ก็ยิ่งรู้ว่าถึงเวลาหันกลับมาใส่ใจร่างกายตัวเองได้แล้ว  

ก่อนหน้านี้ไม่เคยใส่ใจตัวเอง ไม่เคยตรวจร่างกายเลยก็ไม่เป็นไร เริ่มใหม่ตั้งแต่วินาทีนี้ สุขภาพดีมีได้แค่รักตัวเอง ค้นหาแพ็คเกจตรวจคัดกรองโรคเบาหวานที่ HDmall.co.th ได้ราคาโปรดี ๆ แถมส่วนลดเพิ่มทุกครั้งที่จอง คลิกเลย 

มีคำถามเกี่ยวกับ เบาหวาน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ