ระบบไหลเวียนโลหิต มีกระบวนการทำงานอย่างไร scaled

ระบบหมุนเวียนเลือด ทำงานอย่างไร

หัวใจของเรามีขนาดเท่ากำปั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่เป็นเหมือนปั๊มน้ำ ปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มหัวใจ และมี “ระบบหมุนเวียนเลือด” หรือระบบไหลเวียนเลือด คอยหล่อเลี้ยงเลือดทั่วร่างกายอย่างสม่ำเสมอ 

บทความนี้จะพามารู้จักกับระบบหมุนเวียนเลือดว่ามีอะไรบ้าง ทำงานแบบไหน และจะดูแลให้ดีได้ยังไงให้ปลอดภัยจากโรค  

ทำความรู้จักกับระบบหมุนเวียนเลือด 

ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นระบบภายในหัวใจ ทำหน้าที่หลัก ๆ สามอย่าง ได้แก่ 

  • สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจน (O2) สูง (หรือ Oxygenated blood) ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย 
  • รับเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูงออกจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ และส่งไปฟอกต่อที่ปอด 
  • นำเลือดที่ฟอกแล้วกลับเข้าสู่กระบวนการไหลเวียนเลือดอีกครั้ง 

ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 

ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หัวใจและหลอดเลือด มีลักษณะคร่าว ๆ ดังนี้ 

  • หัวใจ (Heart) เป็นศูนย์กลางของระบบไหลเวียนเลือด ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทางหลอดเลือดแดง และนำเลือดเสียกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ
  • หลอดเลือด (Vessels) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ 

หลอดเลือดแดงมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก หลอดเลือดทุกขนาดจะมีชั้นกล้ามเนื้อที่ขยายและหดตัวได้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และผนังของหลอดเลือดแดงยังมีถึง 4 ชั้น เพราะเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดนั้นถูกสูบฉีดมาด้วยแรงดันที่สูง ผนังจึงต้องหนาและแข็งแรงพอ  

ส่วนหลอดเลือดดำจะแข็งแรงและยืดหยุ่นน้อยกว่า แต่มีชั้นกล้ามเนื้อยาวกว่า และจะมีลิ้นคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนหลับ 

เส้นทางการหมุนเวียนเลือดในหัวใจ

หัวใจจะแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ด้านละ 2 ห้อง รวมกันเป็น 4 ห้อง ประกอบไปด้วย

  • หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
  • หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
  • หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
  • หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)

หัวใจแต่ละห้องเชื่อมถึงกันได้ แต่จะมีผนังและลิ้นหัวใจเป็นตัวกั้น คอยควบคุมให้เลือดไหลถูกทาง โดยมีเส้นทางการไหลเวียนเลือด ดังนี้ 

หัวใจด้านขวาจะรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ (Deoxygenated blood) จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านหลอดเลือดดำ และส่งต่อไปยังปอดเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน (Reoxygen)

หลังจากที่ปอดฟอกเสร็จแล้ว ก็จะส่งเลือดกลับมายังหัวใจด้านบนซ้าย เข้าสู่ห้องล่างซ้าย เป็นส่วนสำคัญในการสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนสูง (Oxygenated blood) เหล่านี้ส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกายผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ต่อไป  

กระบวนการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด

ระบบหมุนเวียนเลือดจะเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทุกครั้งที่หัวใจเต้น 1 ครั้ง หรือแต่ละครั้งที่หัวใจบีบตัว โดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่ผ่านการฟอกจากปอดไปเลี้ยงทั่วร่างกายผ่านหลอดเลือดใหญ่ เลือดดีจะอุดมไปด้วยสารอาหารและออกซิเจน

ในการบีบของหัวใจ 1 ครั้ง จะมีเลือดประมาณ 60-90 มิลลิลิตร ออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) และมีแรงดันมากพอที่จะส่งเลือดเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็กที่สุดและไกลที่สุด โดยเส้นเลือดในร่างกายผู้ใหญ่นั้นจะมีความยาวถึง 60,000 ไมล์

ในขณะเดียวกันเลือดดำจากหัวใจห้องล่างขวาถูกบีบเพื่อไปฟอกอากาศที่ปอด

เมื่อหัวใจคลายตัวเลือดที่มีออกซิเจนเหลือน้อย หรือเลือดเสียจากทั่วร่างกายจะไหลเข้าสู่ระบบหลอดเลือดดำ กลับไปยังหัวใจ ก่อนที่จะถูกนำไปฟอกต่อที่ปอดและเลือดสีแดงสดที่ผอกจากที่ปอดก็ไหลมาที่หัวใจ เพื่อเริ่มต้นวงจรการไหลเวียนของเลือดใหม่

สาเหตุที่ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดผิดปกติ

เมื่อมีสิ่งกีดขวางการทำงานของหลอดเลือดแดง เช่น ก้อนไขมันหรือลิ่มเลือด จะส่งผลให้ความดันเลือดสูงขึ้น อาจทำให้หลอดเลือดฉีกขาดหรืออุดตันได้ และทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ 

เมื่อระบบหมุนเวียนเลือดผิดปกติ จะมีอาการยังไงบ้าง

ถ้าเลือดไหลเวียนน้อยลง อวัยวะต่างๆ จะแสดงอาการผิดปกติออกมา เช่น

ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ ไม่ควรนิ่งเฉย ให้รีบไปหาหมอทันที เพราะอาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจล้มเหลว มักพบมากในประเทศพัฒนาแล้ว 

โดยเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น กินอาหารไขมันสูงเยอะ สูบบุหรี่จัด ไม่ค่อยออกกำลังกาย และปัจจัยทางกรรมพันธุ์ก็มีส่วนด้วย

วิธีดูแลรักษาระบบหมุนเวียนเลือดให้แข็งแรง

ระบบหมุนเวียนเลือดนั้นสำคัญมาก เพราะอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดตามปกติ และเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดี 

เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เราจึงต้องดูแลรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้แข็งแรงอยู่เสมอ มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ คือ

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3–5 วัน วันละ 30 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด  ทำให้หัวใจแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีหลายชนิดในบุหรี่เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
  • ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ เพราะจะช่วยให้พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ทำให้รักษาได้ดี มีประสิทธิภาพ
    วิธีตรวจหัวใจที่นิยมมี 2 อย่าง ได้แก่ ตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHO (Echocardiography) และตรวจสมรรถภาพหัวใจออกกำลังกายขณะออกกำลังกาย EST (Exercise Stress Test) 
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันและอาหารฟาสต์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein: LDL) หรือที่เรียกว่า “ไขมันเลว”
  • ผ่อนคลายความเครียด ถ้าฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทำลายสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารมากขึ้น สูบบุหรี่จัดขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง และยังอาจส่งผลต่อการนอนหลับ และความดันเลือดอีกด้วย 

เริ่มดูแลหัวใจของคุณและคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้หัวใจแข็งแรง ทำงานมีประสิทธิภาพได้อย่างยาวนาน และที่สำคัญ ถ้าเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปหาหมอทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องปลอดภัย 

อวัยวะใดในร่างกายที่ไม่มีเส้นเลือด

อวัยวะที่ไม่มีเส้นเลือดในร่างกายมนุษย์ ไม่เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนเลือด คือ กระจกตา (Cornea)

กระจกตาเป็นส่วนหน้าสุดของดวงตาที่ทำหน้าที่ในการรับแสงและโฟกัสภาพไปยังเรตินา ความไม่มีเส้นเลือดในกระจกตาทำให้มันสามารถรักษาความโปร่งใสได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการมองเห็น เนื่องจากหากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงจะทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน

เนื่องจากไม่มีเส้นเลือด กระจกตาจึงต้องได้รับออกซิเจนและสารอาหารจากแหล่งอื่น เช่น จากน้ำตาและของเหลวที่อยู่ในดวงตา (aqueous humor) โดยการแลกเปลี่ยนสารเหล่านี้เกิดขึ้นผ่านการแพร่ (diffusion)

การไม่มีเส้นเลือดยังทำให้การปลูกถ่ายกระจกตามีโอกาสสำเร็จสูงขึ้น เนื่องจากโอกาสที่ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีและปฏิเสธการปลูกถ่ายนั้นลดลง ทำให้กระจกตาเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายได้โดยไม่ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันมากเท่าอวัยวะอื่น ๆ

นอกจากนี้ โครงสร้างอื่น ๆ เช่น กระดูกอ่อน (cartilage), เส้นผม (hair), เล็บ (nails), และ เคลือบฟัน (tooth enamel) ก็ถือว่าไม่มีหลอดเลือดเช่นกัน การขาดหลอดเลือดในเนื้อเยื่อเหล่านี้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการรบกวนต่อหน้าที่


เพราะ Health ดี อะไรก็ดี HDmall จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลสุขภาพหัวใจของคุณ เรารวบรวมแพ็กเกจตรวจหัวใจและหลอดเลือด จากรพ. และคลินิกใกล้บ้านคุณไว้ให้ ถ้าหาอันไหนไม่เจอ ทักหาแอดมินของเราได้เลยที่นี่ ตอนนี้


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

Scroll to Top