ภาวะแพ้รุนแรง หรือ Anaphylaxis คือปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรงถึงชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแพ้รุนแรงเป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้จะพาไปรู้จักภาวะแพ้รุนแรงตั้งแต่สาเหตุ อาการ วิธีการรักษาเบื้องต้นที่สำคัญ รวมถึงแนวทางการป้องกัน เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ได้อย่างปลอดภัย
สารบัญ
ภาวะแพ้รุนแรง คืออะไร?
ภาวะแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) คือ ปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่รุนแรงเฉียบพลันและเป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะแพ้รุนแรงจะเกิดเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไวต่อสารนั้นมากผิดปกติ ส่งผลทำให้การทำงานอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เกิดความผิดปกติขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแพ้รุนแรงมีอะไรบ้าง?
- อาหาร: เป็นสาเหตุที่พบบ่อย โดยเฉพาะในเด็ก อาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรง เช่น ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง นมวัว ไข่ อาหารทะเล และแป้งสาลี เป็นต้น
- ยาบางชนิด: เช่น ยาปฏิชีวนะ (เช่น เพนิซิลลิน) ยาแก้ปวด (เช่น แอสไพริน) หรือยาชา เป็นต้น
- แมลงกัดต่อย: พิษจากแมลงบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ เช่น ผึ้ง ต่อ แตน หรือมดบางชนิด
- ยางลาเท็กซ์: ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางธรรมชาติ เช่น ถุงมือยางหรือinvลูกโป่ง
อาการของภาวะแพ้รุนแรง
อาการของภาวะแพ้รุนแรงมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาการที่พบบ่อย ได้แก่
- ผื่นคัน
- ลมพิษ
- ผิวหนังบวมแดง
- ปาก ลิ้น หรือคอบวม
- หายใจลำบาก
- หายใจมีเสียงหวีด
- แน่นหน้าอก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดท้อง
- เวียนศีรษะ
- หน้ามืด หรือหมดสติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- หัวใจเต้นเร็ว
ภาวะแพ้รุนแรงรักษาให้หายขาดได้ไหม?
ภาวะแพ้รุนแรงไม่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่สามารถควบคุมและป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และการเตรียมยาฉีด Epinephrine เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน การรักษาจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการเมื่อเกิดเหตุการณ์แพ้รุนแรงขึ้น
วิธีการรักษาภาวะแพ้รุนแรง
หากเกิดภาวะแพ้รุนแรง ควร ฉีด Epinephrine เข้าที่กล้ามเนื้อต้นขาทันที เพราะเป็นยาหลักที่ช่วยลดอาการแพ้รุนแรงได้ และผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรงควรพกติดตัวไว้เสมอ หลังจากฉีดยาแล้ว ควรรีบเรียกรถพยาบาล เพื่อเข้ารับการตรวจเช็กอาการเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าสังเกตอาการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพราะอาการแพ้อาจกลับมาอีกภายใน 4-6 ชั่วโมง จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์จนกว่าจะปลอดภัย
วิธีการป้องกันภาวะแพ้รุนแรง
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ด้วยการหมั่นตรวจสอบอาหาร ยา หรือสิ่งแวดล้อมที่อาจกระตุ้นอาการแพ้ และอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด
- พกยาฉีด Epinephrine ติดตัวอยู่เสมอและเรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติแพ้รุนแรง
- แจ้งให้ผู้อื่นทราบเกี่ยวกับอาการแพ้ เช่น บอกเพื่อน คนในครอบครัว ครู หรือเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ช่วยเหลือได้ หากเกิดภาวะแพ้รุนแรง
- ผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรง ควรพกป้ายระบุอาการแพ้ เพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้แพทย์หรือผู้ช่วยเหลือทราบหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
- ถ้าหากสงสัยว่ามีอาการแพ้ ควรเข้ารับคำปรึกษาทางการแพทย์ และตรวจหาภูมิแพ้กับแพทย์เพื่อวางแผนการป้องกันที่เหมาะสม
เช็กให้ชัวร์ อุ่นใจกว่า HDmall.co.th ได้รวมแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ จากโรงพยาบาลและคลินิกใกล้บ้าน จองก่อนรับราคาพิเศษได้เลย!