varicose veins treatment faq scaled

7 เรื่องที่ควรรู้ก่อนการรักษาเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด ที่เป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น คดงอมากขึ้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวด คัน หรือถ้ารุนแรงกว่านั้นอาจเริ่มมีเลือดไหลซึมจากเส้นเลือดขอดไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง หรือเกิดบาดแผลเรื้อรังได้ 

การรักษาเส้นเลือดขอดตั้งแต่ระยะที่ไม่รุนแรง จึงเป็นตัวเลือกที่ควรพิจารณา เพราะยิ่งเส้นเลือดยังมีขนาดเล็ก อาการแทรกซ้อนยังน้อย ก็ยิ่งมีตัวเลือกในการรักษาหลากหลาย

ปัจจุบันมีทั้งวิธีรักษาเส้นเลือดขอดด้วยตัวเอง วิธีรักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ผ่าตัด ไปจนถึงผ่าตัดด้วยเครื่องมือที่ให้แผลเล็ก เจ็บน้อย และรักษาเส้นเลือดขอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้รวบรวบสิ่งที่ผู้คนมักสงสัยเกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดขอดที่ขา พร้อมคำตอบอย่างละเอียด

1. เส้นเลือดขอด รักษาด้วยตัวเองได้ไหม?

ตอบ: ถ้าเป็นเส้นเลือดขอดระยะเริ่มต้น ขนาดเส้นเลือดขอดยังไม่ใหญ่มาก สามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • พักนอนหรือนั่งแล้วยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการหรือยืนนานๆ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูง

วิธีข้างต้นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีและถูกทิศทาง รวมถึงช่วยลดความดันบริเวณขา ซึ่งเป็นสาเหตุของเส้นเลือดขอด

นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษาเส้นเลือดขอดด้วยตัวเอง โดยร่วมกับขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้ชำนาญการ เช่น

  • สวมใส่ถุงน่องรัดเส้นเลือดขอด ซึ่งจะช่วยปรับความดันบริเวณขาให้เหมาะสม ทำให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้ดี
  • รับประทานยาซึ่งออกฤทธิ์ช่วยให้เส้นเลือดดำแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น

2. รักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ผ่าตัด มีวิธีไหนบ้าง?

ตอบ: ปัจจุบันวิธีรักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ผ่าตัด มีหลายวิธี ได้แก่ 

3. รักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ผ่าตัด วิธีไหนได้ผลมากที่สุด?

ตอบ: ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ความรุนแรง และตำแหน่งของเส้นเลือดขอดที่เป็น เช่น 

  • การฉีดรักษาเส้นเลือดขอดมักให้ผลดีกับเส้นเลือดฝอยขอด (Spider Veins) 
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ ให้ผลดีกับเส้นเลือดขอดที่อยู่ ณ ตำแหน่งตื่นๆ ใต้ผิวหนัง 
  • การรักษาด้วยคลื่นวิทยุ ให้ผลดีกับเส้นเลือดขอดที่ขนาดไม่เกิน 2-3 มิลลิเมตร

นอกจากนี้ การรักษาเส้นเลือดขอดแต่ละวิธีนั้นไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ แพทย์จะพิจารณาถึงภาวะเส้นเลือดขอดที่เป็นอยู่ รวมถึงประวัติสุขภาพ โดยอาจย้อนไปถึงสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวด้วย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรักษาให้มากที่สุด

4. รักษาเส้นเลือดขอดไปกี่วันถึงกลับมาเดินได้เป็นปกติ?

ตอบ: หลังรักษาเส้นเลือดขอด ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด สามารถกลับมาเดิน (รวมถึงประกอบกิจวัตรประจำวันทั่วๆ ไป) ได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนพักนิ่งๆ

การเดินออกกำลังกายเบาๆ ทุกวันหลังจากรักษาเส้นเลือดขอด จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดการอักเสบ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ ที่ส่งผลให้มีแรงดันเลือดสูงบริเวณขา หรือเสี่ยงติดเชื้อหลังผ่าตัดประมาณ 1-2 เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ยกของหนัก เดินทางโดยเครื่องบิน แช่น้ำ ทำสปา อาจปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ได้เมื่อไหร่จึงจะปลอดภัย

5. ผ่าตัดเส้นเลือดขอด ทำอย่างไร เจ็บไหม?

ตอบ: การผ่าตัดเส้นเลือดขอดมี 2 เทคนิค ได้แก่ ผ่าตัดเส้นเลือดขอดแบบ Vein Stripping and Ligation กับ Ambulatory Phlebectomy

  • การผ่าตัดแบบ Vein Stripping and Ligation แพทย์จะวางยาสลบผู้ป่วย แล้วกรีดเปิดผิวหนัง 2 แห่ง จากนั้นทำการผูกเส้นเลือดขอดช่วงต้นกับปลายเพื่อปิดทางไหลเวียนเลือด ก่อนลอกเส้นเลือดขอดเส้นนั้นออก แล้วจึงเย็บปิดแผล แล้วให้พักสังเกตอาการในโรงพยาบาลก่อน ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนจึงให้กลับบ้านได้
  • การผ่าตัดแบบ Ambulatory Phlebectomy นั้น  แพทย์จะระงับความรู้สึกผู้ป่วยด้วยการให้ยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจึงเจาะผิวหนังเป็นรูเล็กๆ แล้วใช้เครื่องมือชนิดพิเศษดูดเส้นเลือดขอดออกนอกร่างกาย แผลจะมีขนาดเล็กมาก จึงไม่มีการเย็บปิดแผล ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย

ทั้งนี้หลังการผ่าตัดแบบ Vein stripping and Ligation ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเจ็บได้มากกว่า เนื่องจากมีแผลเปิดจำนวน 2 แผล และเทคนิคการผ่าตัดนี้ทำให้ร่างกายผู้ป่วยบอบช้ำมากกว่า

6. ผ่าตัดเส้นเลือดขอด มีผลข้างเคียงอะไรไหม?

ตอบ: โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดเส้นเลือดขอดที่ทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการมักรักษาเส้นเลือดขอดได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ หรือมีอาการรุนแรง มักไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก เพราะเส้นเลือดดำเส้นนั้นถูกผ่าตัดนำออกไปนอกร่างกายเลย และไม่มีผลข้างเคียง

อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงทั่วไปจากการผ่าตัดได้ เช่น

  • แพ้ยาสลบหรือยาชา
  • เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในขา
  • แผลติดเชื้อ
  • การผ่าตัดไปกระทบเส้นประสาทบริเวณขา ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรืออาการชา
  • เกิดแผลเป็นบริเวณแผลผ่าตัด

7. รักษาเส้นเลือดขอด เบิกประกันสังคมได้ไหม?

ตอบ: ผู้ประกันตนมาตรา 33-39 สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาเส้นเลือดขอดได้ โดยต้องทำการรักษา ณ โรงพยาบาลที่ตัวเองมีสิทธิประกันสังคมอยู่ ไม่ต้องสำรองจ่าย แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีใด

สามารถตรวจสอบสิทธิของตนเองได้ทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th โทรสายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อผ่านไลน์ @ssothai หรือที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดขอดเพิ่มอีก ไม่รู้จะถามใครดี ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจรักษาเส้นเลือดขอด จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top