bmi screening self check

วิธีคำนวณค่า BMI เช็กว่าน้ำหนักมากเกินปกติหรือเปล่า

การคัดกรอง โรคอ้วน เพื่อดูว่าคุณมีไขมันสะสมในร่างกายเกินเกณฑ์ปกติหรือไม่ มีหลายวิธี วิธีที่ง่ายที่สุดซึ่งทำได้ด้วยตัวเองคือ การนำส่วนสูงและน้ำหนักมาคำนวณค่า BMI แล้วเอาตัวเลขที่ได้ไปเทียบกับตารางแปรผล

อย่างไรก็ตาม การคัดกรองโรคอ้วนด้วยการใช้ค่า BMI มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ข้อจำกัดที่ว่านั้นคืออะไร มีอะไรที่ต้องพิจารณาร่วมกับการคำนวณค่า BMI อีก หาคำตอบได้ในบทความนี้

ค่า BMI คืออะไร?

ค่าดัชนีมวลกาย หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ค่า BMI ย่อมาจากคำว่า Body Mass Index คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานสำหรับผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีขึ้นไป เพื่อประเมินสภาวะของร่างกายว่า มีความสมดุลของ น้ำหนักตัว ต่อ ส่วนสูง อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่

การคัดกรองโรคอ้วนเบื้องต้นด้วยการคำนวณค่า BMI ทำอย่างไร?

วิธีคัดกรองว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่อย่างง่ายที่สุดและทำได้ด้วยตนเอง คือ การคำนวณค่า BMI ซึ่งอาศัยเพียงส่วนสูงกับน้ำหนักก็คำนวณได้แล้ว

สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักตัว [กิโลกรัม] ÷ ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง

ตัวอย่าง ถ้าคุณน้ำหนัก 50 กิโลกรัม สูง 165 เซนติเมตร ค่า BMI ของคุณคือ 50 ÷ 1.652 = 18.37

เมื่อได้ตัวเลขออกมา ให้นำไปเทียบกับตารางเปรียบเทียบค่า BMI (หัวข้อถัดไป) เพื่อดูว่าคุณอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปกติ น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน จากตารางด้านล่างพบว่า อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

เกณฑ์ BMI ที่บอกว่าคุณน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปกติ หรือเป็นโรคอ้วน

สูตรคำนวณค่า BMI น้ำหนักตัว [กิโลกรัม] ÷ ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง โปรแกรมคำนวณค่า BMI

วิธีคำนวณค่า BMI

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

การคำนวณความสมส่วนในเด็กและวัยรุ่น

โดยทั่วไป การคำนวณค่า BMI ข้างต้นใช้สำหรับผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นจะมีการคำนวณที่ใช้สูตรเดียวกัน แต่ใช้ตารางแปรผลอีกแบบซึ่งมีความละเอียดมากขึ้น โดยจะแยกเพศและช่วงอายุ อธิบายอย่างง่ายคือ ในเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายอายุเท่ากันที่คำนวณค่า BMI ออกมาได้ตัวเลขเท่านั้น คนหนึ่งอาจเป็นผู้ที่น้ำหนักปกติ อีกคนน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็ได้

คนต่างเชื้อชาติ การคำนวณ BMI อาจต่างกัน

ความสัมพันธ์ของตัวเลขค่า BMI กับความเสี่ยงการเกิดโรค สำหรับคนแต่ละเชื้อชาติ มีความแตกต่างกัน เช่น

  • กลุ่มเอเชีย-อเมริกันมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวขาว ณ ตัวเลข BMI ที่ต่ำกว่า
  • คนอินเดียมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน ณ ค่า BMI ประมาณ 21-22 เท่านั้น
  • กลุ่มแอฟริกัน-อเมริกัน ค่า BMI โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 28 แต่มักสุขภาพดีใกล้เคียงกับคนอเมริกันที่มีค่า BMI อยู่ที่ประมาณ 25

ข้อจำกัดของค่า BMI

แม้ว่าการคำนวณค่า BMI จะแพร่หลาย แต่ควรใช้เป็นการคัดกรองโรคอ้วนเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากตัวเลขน้ำหนักที่นำมาใช้ไม้ได้แยกว่าเป็นน้ำหนักจากไขมันหรือมวลกล้ามเนื้อ 

มีผลการศึกษาพบว่า บางคนที่มีตัวเลขค่า BMI สูงๆ ตกอยู่ในเกณฑ์เป็นโรคอ้วน แท้จริงแล้วเมื่อตรวจร่างกายโดยละเอียดกลับพบว่าค่าคอเลสเตอรอลและความดันปกติ น้ำตาลในเลือดปกติ แสดงถึงสุขภาพที่ดี

ดังนั้นในการคัดกรองภาวะโรคอ้วน นอกจากดูผลการคำนวณ BMI แล้ว ยังอาจต้องพิจารณาสิ่งอื่นร่วมด้วย เช่น

  • มวลกล้ามเนื้อ นักกีฬาอย่างนักฟุตบอลหรือนักเพาะกายมักมีค่า BMI สูง เนื่องจากน้ำหนักส่วนใหญ่มาจากน้ำหนักของกล้ามเนื้อ
  • พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย บางคนที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่ได้ดูอ้วนเลย แต่ถ้าพิจารณาร่วมกับพฤติกรรมการไม่ค่อยเคลื่อนไหวแล้ว อาจพบว่ามีความเสี่ยงเกิดโรคได้เหมือนกับผู้ที่มีค่า BMI สูงๆ สาเหตุที่ค่า BMI ของคนเหล่านั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นเพราะน้ำหนักส่วนใหญ่เป็นไขมัน ส่วนกล้ามเนื้อและกระดูกมีน้ำหนักน้อย กรณีนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ
  • บริเวณสะสมไขมัน ถ้าสังเกตดู แต่ละคนมีบริเวณสะสมไขมันแตกต่างกัน เช่น บางคนมักจะมีไขมันสะสมเยอะบริเวณหน้าท้อง บางคนมักมีไขมันสะสมมากบริเวณสะโพกหรือต้นขา คนที่รูปร่างต่างกันนี้อาจมีค่า BMI เท่ากัน แต่ในผู้ที่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจและเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ที่มีไขมันสะสมบริเวณอื่น
  • อายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์เล็กน้อยนั้น มีแนวโน้มจะฟื้นตัวเมื่อเป็นโรคได้ดีกว่าผู้ที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังไม่ชัดเจนนักว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับการมีพลังงานสะสมไว้ใช้เมื่อร่างกายเกิดภาวะผิดปกติขึ้น ดังนั้นในผู้สูงอายุ ถ้าพบว่าค่า BMI สูงกว่าปกติเล็กน้อย จึงอาจไม่ต้องกังวลมากนัก

ถ้าไม่ใช้ค่า BMI จะใช้อะไรพิจารณาโรคอ้วนได้อีก

ถ้าไม่แน่ใจว่าสรุปแล้วเป็น โรคอ้วน หรือไม่ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรับการรักษาหรือยัง คุณสามารถพบแพทย์หรือผู้ชำนาญการเพื่อรับการตรวจร่างกายได้ โดยรายการตรวจที่อาจบ่งชี้ถึงโรคอ้วนได้ ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ระดับไขมัน LDL, HDL ตรวจวัดระดับมวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ ซึ่งจะตรวจจากเลือดและเครื่องมือทางการแพทย์

โดยสรุป การคำนวณค่า BMI เป็นการตรวจคัดกรองโรคอ้วนเบื้องต้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกด้วยที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วย

ตรวจเองแล้วตัวเลข BMI สูง แต่ยังรู้สึกว่าตัวเองสุขภาพดี ยังไม่ชัวร์ว่าเราเป็นโรคอ้วนหรือหนักกล้ามเนื้อ หรือจะเป็นเพราะกระดูกใหญ่ ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top