ทำไมถึงมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระ ?

การมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระของเรามักไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่หากมันเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ อย่างการมีนิสัยขับถ่ายเปลี่ยนไป น้ำหนักลด หรือท้องเสีย มันก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพของคุณกำลังมีปัญหา สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูว่ามีสาเหตุใดที่ทำให้อาหารปนออกมากับอุจจาระ

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจสุขภาพ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

1.อาหารที่มีไฟเบอร์สูง

ข้าวโพดและถั่วฝักมีแนวโน้มที่จะถูกย่อยเพียงบางส่วน เมื่อเราทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มันก็เป็นเรื่องปกติที่อาจมีอาหารที่ยังไม่ถูกย่อยปรากฏให้เราเห็นในอุจจาระ เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยวัตถุที่แข็งได้ทั้งหมด ทั้งนี้ไฟเบอร์มีส่วนช่วยเร่งการขับถ่ายโดยไปเพิ่มจำนวนอุจจาระ ซึ่งกระตุ้นให้ผนังลำไส้เคลื่อนไหว โดยดันอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร หากอาหารเคลื่อนไหวเร็วเกินไป มันก็มีแนวโน้มที่อาหารบางส่วนจะไม่ถูกย่อยโดยสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่มีแนวโน้มถูกย่อยเพียงบางส่วนและปรากฏอยู่ในอุจจาระ ตัวอย่างเช่น ถั่วฝัก เมล็ดพันธุ์ ข้าวโพด ผิวของผัก ผักใบเขียว ธัญพืชบางชนิด แครอท ลูกเกด ถั่ว ฯลฯ อย่างไรก็ดี อาหารอย่างข้าวโพดถือเป็นตัวการที่พบได้ทั่วไป เพราะข้าวโพดมีเปลือกด้านนอกที่ไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งเรียกว่า “เซลลูโลส” ร่างกายจะย่อยเนื้อภายในข้าวโพด และขับเปลือกด้านนอกออกมา

2.ทานอาหารเร็วเกินไป

อีกหนึ่งตัวการที่ทำให้อาหารย่อยไม่หมด และตกค้างอยู่ในอุจจาระ คือ การทานอาหารเร็วเกินไป เมื่อเราทานอาหารอย่างรวดเร็ว และกลืนอาหารโดยเคี้ยวไม่ละเอียด อาหารมีแนวโน้มที่จะถูกส่งไปยังทางเดินอาหารโดยไม่ถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้การทานอาหารเร็วเกินไปอาจเป็นการบังคับให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานเร็วเกินไป ส่งผลให้อาหารส่วนมากไม่ถูกย่อยจนหมด คุณสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ โดยทานอาหารให้ช้าลง และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

3.ปัญหาสุขภาพ

มีโรคบางโรคหรือปัญหาสุขภาพที่สามารถทำให้อาหารหลงเหลืออยู่ในอุจจาระ ในกรณีนี้ผู้ป่วยมักพบว่าตัวเองมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย หรือปวดท้อง ตัวอย่างของปัญหาสุขภาพ เช่น

  • โรคโครห์น: เป็นหนึ่งในโรคที่มีการอักเสบบริเวณระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง และภาวะขาดสารอาหาร
  • โรคเซลีแอค: โรคนี้เกิดจากการที่ระบบภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนที่เรียกว่า กลูเตน โดยพบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และธัญพืชบางชนิด
  • ตับอ่อนทำงานบกพร่อง: ตับอ่อนจะไม่ผลิตเอนไซม์ ทำให้ย่อยอาหารไม่ได้
  • ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ: หากทางเดินอาหารของเราไม่สามารถย่อยโปรตีนในนม มันก็บอกได้ว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ
  • โรคลำไส้แปรปรวน: โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคทั่วไปที่ส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก นอกจากนี้เชื้อที่ทำให้ท้องเสีย หรือไวรัสในกระเพาะอาหารก็อาจทำให้อาหารถูกย่อยไม่หมดและไปตกค้างอยู่ในอุจจาระ สำหรับอาการอื่นๆ ที่สามารถประสบได้ เช่น เป็นไข้ ท้องอืด ปวดท้องเกร็ง ท้องเสีย อาเจียน ปวดตามร่างกาย รู้สึกไม่สบายตัว ฯลฯ

หากคุณมีอาการปวดท้องต่อเนื่องหรือปวดท้องเกร็ง คุณก็ควรไปพบแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว การมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เว้นเสียว่ามีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้ มีเลือดในอุจจาระ นิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระได้ ท้องเสียเรื้อรัง ปวดท้องต่อเนื่องหรือปวดท้องเกร็ง ท้องอืดหรือมีก๊าซต่อเนื่อง ฯลฯ

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจสุขภาพ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ