ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เบิกประกันสังคมได้ไหม?

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นโรคที่ไม่มียารักษา หากถูกสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียที่เยื่อบุตา ปาก หรือบาดแผลแล้ว จะต้องรักษาด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine) เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือไม่เคยได้รับวัคซีน

มีคำถามเกี่ยวกับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถเบิกประกันสังคมได้หรือไม่?

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis rabies: PrEP) จะไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้

แต่การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค (Rabies Post-Exposure Prophylaxis: Rabies PEP) หากฉีดที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ สามารถฉีดได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ได้ และจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลเอกชนก็สามารถเบิกประกันสังคมย้อนหลังได้เช่นกัน

โดยผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินพร้อมกับใบรับรองแพทย์ไปยื่นเรื่องเบิกคืนที่สำนักงานประกันสังคม โดยสามารถเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท

หลังจากนั้นให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มถัดไปที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคนั้น หากฉีดด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular regimen: IM) จะฉีดทั้งหมด 5 ครั้ง ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28

แต่ถ้าหากฉีดด้วยวิธีฉีดเข้าผิวหนัง (Intradermal regimen: ID) จะฉีดทั้งหมด 4 ครั้ง ในวันที่ 0, 3, 7 และ 28

มีคำถามเกี่ยวกับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค ดีอย่างไร?

แม้ว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคจะสามารถเบิกประกันสังคมได้ หรือสามารถไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ต้องฉีดแล้ว หากผู้ถูกกัดได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าอย่างรุนแรง ก็จำเป็นที่จะต้องฉีดอิมมูโนโกลบิน (Immunoglobulin) ที่บาดแผล เพื่อทำลายเชื้อไวรัสที่บริเวณบาดแผล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มาก

โดยการฉีดอิมมูโนโกลบินที่บาดแผลจะต้องฉีดโดยเร็วที่สุด โดยควรฉีดพร้อมกับฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเลย แต่ถ้าหากมีข้อจำกัด ให้ฉีดในวันที่ 2 หรือห้ามช้าเกิน 7 วัน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่อาจไม่สามารถหาอิมมูโนโกลบินมาฉีดได้อย่างทันท่วงที

ดังนั้นองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น สัตวแพทย์ เด็ก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่โรคพิษสุนัขบ้าระบาด หรือผู้ที่วางแผนจะเดินทางไปต่างประเทศ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากโรคพิษสุนัขบ้า

เพราะหลังจากที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบ 3 เข็มแล้ว เมื่อถูกกัด ไม่ว่าจะระดับร้ายแรงเท่าไหร่ ก็รักษาได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากระตุ้น 1-2 ครั้งเท่านั้น โดยที่ไม่ต้องฉีดอิมมูโนโกลบิน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาในการรักษาโรคได้มาก

ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็อย่าลืมที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค เพื่อความปลอดภัยของตนเอง


ปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

มีคำถามเกี่ยวกับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ