เจนตาไมซิน (Gentamicin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ประกอบด้วยการติดเชื้อในกระดูก เยื่อบุหัวใจอักเสบ การอักเสบที่อุ้งเชิงกราน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ยาเจนตาไมซินไม่มีฤทธิ์ในการรักษาการติดเชื้อกอนอเรีย (gonorrhea) และคลาไมเดีย (chlamydia) รูปแบบการบริหารยาเจนตาไมซินมีทั้งรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง ยาในรูปแบบยาทามักมีการใช้ในแผลไฟไหม้ หรือการติดเชื้อบริเวณรอบนอกดวงตา
ยาเจนตาไมซินส่งผลต่อการทำงานของหูชั้นในและเป็นพิษต่อไต ผลต่อหูชั้นใน ได้แก่ ส่งผลต่อการทรงตัว และการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร
สารบัญ
โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา
- การติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections) การติดเชื้อในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) การติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia)
- การติดเชื้อในผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน แผลติดเชื้อ หรือการติดเชื้อในเนื้อเยื่ออ่อน
- การติดเชื้อในกระดูก เช่น กระดูกอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Osteomyelitis)
- การติดเชื้อที่ตาและหู ใช้ในรูปแบบยาหยอดตา หรือยาหยอดหู สำหรับรักษาการอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) หรือหูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa)
- การป้องกันการติดเชื้อ ใช้ในกรณีที่ต้องการป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด หรือการบาดเจ็บที่อาจมีความเสี่ยงสูง
กลไกการออกฤทธิ์ของยา Gentamicin
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เจนตาไมซิน เป็นยาต้านแบคทีเรียในกลุ่ม อะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside) ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน โดยจับกับไรโบโซม ซับยูนิต 30S และ 50S ทำให้เกิดการยับยั้งกระบวนการ transpeptidation หรือ translocation ของบริเวณที่ถูกจับด้วยตัวยา เป็นผลให้เกิดการชะงักของการเติบโตของเซลล์
ข้อบ่งใช้ของยา Gentamicin
1. การติดเชื้อในเยื่อบุดวงตา
- ยาหยอดตา (0.3%)
- ผู้ใหญ่: หยอด 1-2 หยดลงตาข้างที่มีอาการ วันละ 6 ครั้ง
- กรณีติดเชื้อรุนแรง: เริ่มต้นหยอด 1-2 หยดทุก 15 นาที แล้วลดความถี่เมื่อควบคุมอาการได้
- ยาขี้ผึ้งป้ายตา (0.3%)
- ผู้ใหญ่: ป้ายยาลงบนถุงเยื่อตา วันละ 2-3 ครั้ง
- เด็ก: ใช้ขนาดยาเท่าผู้ใหญ่
2. การอักเสบของหูชั้นนอก
- ยาหยอดหู (0.3%)
- ผู้ใหญ่: หยอด 2-3 หยดลงหูข้างที่มีอาการ วันละ 3-4 ครั้ง และก่อนนอน
- เด็ก: ใช้ขนาดยาเท่าผู้ใหญ่
3. การติดเชื้อรุนแรง
- ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ
- ผู้ใหญ่: 3-5 มก./กก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7-10 วัน
- วิธีให้ยา: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดหลอดเลือดดำช้าๆ (2-3 นาที) หรือให้แบบ infusion (20-30 นาที)
- เด็ก: 3-7.5 มก./กก./วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง
- ผู้ใหญ่: 3-5 มก./กก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7-10 วัน
4. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- ผู้ใหญ่: 160 มก. วันละครั้ง
5. การติดเชื้อที่บริเวณผิวหนัง
- ยาครีมหรือขี้ผึ้งทาผิวหนัง (0.1%)
- ผู้ใหญ่: ทายาลงบริเวณที่ติดเชื้อ วันละ 3-4 ครั้ง
- เด็ก: ใช้ขนาดยาเท่าผู้ใหญ่
ข้อควรระวังของการใช้ยา Gentamicin
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาเจนตาไมซิน หรือแพ้ยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคลไซด์ (aminoglycoside) อื่น
- ห้ามใช้ยาในรูปแบบยาหยอดหูในผู้ป่วยแก้วหูทะลุ
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วย myasthenia gravis
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการพาร์กินสันส์นิซึม หรือภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ระวังการใช้ยานี้ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการได้ยิน
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบ
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาดหรือใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น การทำลายไต หรือการสูญเสียการได้ยิน
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Gentamicin
ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ พิษต่อหู ซึ่งส่งผลต่อการได้ยิน รบกวนสมดุลย์อิเล็กโทรไลต์ (ได้แก่ ภาวะระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำอาจเกิดภาวะระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำและระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ) อาการแพ้ เกิดความผิดปกติต่อเม็ดเลือด คลื่นไส้ อาเจียน เพิ่มระดับเอนไซม์อะมิโนทรานสเฟอเรส (aminotransferase) และระดับบิลิรูบินในกระแสเลือด พิษต่อระบบประสาท (ได้แก่ กลุ่มอาการทางสมอง สับสน เห็นภาพหลอน อาการชัก ซึมเศร้า) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ เกิดพิษต่อไต กดระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อชา และการแพ้ยาแบบ anaphylaxis
ข้อมูลการใช้ยา Gentamicin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา และยาฉีดจัดอยู่ในกลุ่ม category D คือ ไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล
ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Gentamicin
หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด