อาหารที่โรงพยาบาลจัดให้แก่ผู้ป่วยนั้น จะมีการกำหนดมาตรฐานและคุณค่าทางโภชนาการไว้ โดยคำนึงถึงพลังงานและสารอาหารที่ร่างกายผู้ป่วยควรได้รับใน 1 วัน รวมถึงโรคภัยที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
สารบัญ
ลักษณะของอาหารในโรงพยาบาล
อาหารทั่วไปในโรงพยาบาลมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของอาหาร ดังนี้
- อาหารธรรมดา (Regular Diet)
- อาหารอ่อน (Soft Diet)
- อาหารน้ำใส (Clear Liquid Diet)
- อาหารน้ำข้น (Full Liquid Diet)
อาหารธรรมดา (Regular Diet)
มีลักษณะคล้ายกับอาหารที่คนไม่ได้เจ็บป่วยรับประทานกันทั่วไป เพียงแต่งดอาหารที่ย่อยยาก อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารทอดที่อมน้ำมัน อาหารที่มีใยแข็ง
อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารดัดแปลงเพื่อการรักษาโรค หรืออาหารเฉพาะโรค (Therapeutic diet)
มาตรฐานอาหารธรรมดา
พลังงาน (kcal) | โปรตีน (g) | ไขมัน (g) | คาร์โบไฮเดรต (g) |
1,500 | 55 | 60 | 189 |
2,000 | 70 | 80 | 250 |
2,500 | 95 | 100 | 305 |
สารอาหารคิดเป็นร้อยละ | 15 | 30-35 | 50-55 |
ตัวอย่างอาหารธรรมดา
- มื้อเช้า: ข้าวต้มปลา ไข่ลวก นมถั่วเหลือง
- มื้อเที่ยง: ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าหมู กล้วยบวดชี
- มื้อเย็น: ข้าวสวย แกงจืดเต้าหู้ ผัดพริกขิงหมู ผลไม้
อาหารอ่อน (Soft Diet)
มีลักษณะเปื่อย นุ่ม รับประทานง่าย และย่อยง่าย มาจากการนำอาหารที่แข็งและย่อยยากมาดัดแปลงให้นุ่ม เช่น สับละเอียด ต้ม หรือตุ๋นจนเปื่อยนุ่ม ไม่ระคายเคืองระบบย่อยอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารทอด เหนียว ไขมันสูง
อาหารลักษณะนี้มักถูกจัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคี้ยว หรืออยู่ในระหว่างการพักฟื้น มีคุณค่าอาหารไม่แตกต่างจากอาหารธรรมดา แต่ในทางปฏิบัติ
เมื่อจัดอาหารอ่อนให้ผู้ป่วยโดยกำหนดให้ได้พลังงานเท่ากันจะออกมาได้ปริมาณมากกว่าอาหารธรรมดา มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ป่วยควรได้รับอาหารอ่อนในพลังงาน 1,500-1,800 kcal/วัน
มาตรฐานอาหารอ่อน
พลังงาน (kcal) | โปรตีน (g) | ไขมัน (g) | คาร์โบไฮเดรต (g) |
1,800 | 90 | 60 | 225 |
สารอาหารคิดเป็นร้อยละ | 10-15 | 30 | 55-60 |
ตัวอย่างอาหารอ่อน
- มื้อเช้า: โจ๊กหมู ไข่ลวก นมสด
- มื้อเที่ยง: ก๋วยเตี๋ยวน้ำหมูสับ น้ำผลไม้ไม่มีเส้นใย
- มื้อเย็น: ข้าวต้ม ปลานึ่ง ผัดฟักทองใส่ไข่ ผลไม้
อาหารน้ำใส (Clear Liquid Diet)
มีลักษณะเป็นน้ำเหลวใส ไม่มีเนื้อสัตว์หรือผัก จึงประกอบด้วยน้ำและคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีตะกอน หรือใยอาหารเหลืออยู่ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
อาหารลักษณะนี้มีสารอาหารน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงมักให้ผู้ป่วยรับประทานเพียง 1-2 มื้อเท่านั้น หากเกินกว่านั้นอาจทำให้เกิดปัญหาขาดพลังงานและสารอาหารได้
มาตรฐานอาหารน้ำใส
พลังงาน (kcal) | โปรตีน (g) | ไขมัน (g) | คาร์โบไฮเดรต (g) |
800
สารอาหารคิดเป็นร้อยละ |
2
1 |
น้อยมาก
น้อยมาก |
198
99 |
ตัวอย่างอาหารน้ำใส
- มื้อเช้า: น้ำข้าวกรอง น้ำหวาน
- มื้อเที่ยง: น้ำซุปใส (ไก่) น้ำขิง
- มื้อเย็น: น้ำซุปใส (ผัก) น้ำผลไม้กรอง
อาหารน้ำข้น (Full Liquid Diet)
มีลักษณะข้นกว่าอาหารน้ำใส สามารถผสมนม ธัญพืช เนื้อสัตว์ขูด ไข่ หรือผัก ผสมลงในอาหาร เพื่อเพิ่มสารอาหารให้สูงขึ้นได้ แต่สารอาหารและพลังงานก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอยู่ดี
แพทย์จึงมักให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารนี้เพียงระยะสั้นๆ เช่นเดียวกับอาหารน้ำใส
มาตรฐานอาหารน้ำข้น
พลังงาน (kcal) | โปรตีน (g) | ไขมัน (g) | คาร์โบไฮเดรต (g) |
600-1,000
สารอาหารคิดเป็นร้อยละ |
15-25
10 |
7-17
10-15 |
113-200
75-80 |
ตัวอย่างอาหารน้ำข้น
- มื้อเช้า: น้ำข้าวข้น นมถั่วเหลือง
- มื้อเที่ยง: ครีมซุปไก่ ไอศกรีม
- มื้อเย็น: ครีมซุปมันฝรั่ง นมสด
หากตัวคุณเอง หรือคนใกล้ชิด จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็ขอให้วางใจในอาหารที่ทางโรงพยาบาลจัดให้มีคุณค่าทางโภชนาการและมีลักษณะเหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคนอย่างแน่นอน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android