ข้าวโพด ข้อมูล สารอาหาร ประโยชน์ การกินเพื่อสุขภาพ

ข้าวโพด ถือเป็นผลผลิตจากพืชไร่ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตและวิตามิน หลายคนจึงนิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน นอกจากจะเมล็ดข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ส่วนอื่นๆ ของข้าวโพดยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวโพด 100 กรัม

  • พลังงาน 86 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
  • แป้ง 5.7 กรัม
  • น้ำตาล 6.26 กรัม
  • ใยอาหาร 2 กรัม
  • ไขมัน 1.35 กรัม
  • โปรตีน 3.27 กรัม
  • ทริปโตเฟน 0.023 กรัม
  • ทรีโอนีน 0.129 กรัม
  • ไอโซลิวซีน 0.129 กรัม
  • ลิวซีน 0.348 กรัม
  • ไลซีน 0.137 กรัม
  • เมทไธโอนีน 0.067 กรัม
  • ซิสทีน 0.026 กรัม
  • ฟีนิลอะลานีน 0.150 กรัม
  • ไทโรซีน 0.123 กรัม
  • วาลีน 0.185 กรัม
  • อาร์จินีน 0.131 กรัม
  • ฮิสตามีน 0.089 กรัม
  • อะลานีน 0.295 กรัม
  • กรดแอสปาร์ติก 0.244 กรัม
  • กรดกลูตามิก 0.636 กรัม
  • ไกลซีน 0.127 กรัม
  • โพรลีน 0.292 กรัม
  • ซีรีน 0.153 กรัม
  • น้ำ 75.96 กรัม
  • วิตามินเอ 9 ไมโครกรัม 1%
  • ลูทีนและซีแซนทีน 644 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.155 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี 2 0.055 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 3 1.77 มิลลิกรัม 12%
  • วิตามินบี 5 0.717 มิลลิกรัม 14%
  • วิตามินบี 6 0.093 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 9 42 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 6.8 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมกนีเซียม 37 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุแมงกานีส 0.163 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 89 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุโพแทสเซียม 270 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุสังกะสี 0.46 มิลลิกรัม 5%

หมายเหตุ: เปอร์เซ็นต์ (%) ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

คำแนะนำในการรับประทานข้าวโพด

  • ไม่ควรรับประทานข้าวโพดดิบ เพราะจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยข้าวโพดดิบได้
  • ผู้สูงอายุที่มีอาการท้องอืดหรือผู้ที่เพิ่งผ่าตัดภายในช่องท้องไม่ควรรับประทานข้าวโพด เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในช่องท้อง
  • ควรรับประทานข้างโพดสลับชนิดกันไป เช่น รับประทานข้าวโพดอ่อน สลับกับข้าวโพดหวานต้ม เพื่อป้องกันอาการท้องอืดและท้องผูก
  • การรับประทานข้าวโพดปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินความต้องการ จึงเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมได้ในที่สุด

สรรพคุณของข้าวโพด

  • ซังข้าวโพด มีรสหวานชุ่ม ต้มกับน้ำเดือด บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้บิด แก้ท้องร่วง
  • ต้นและใบ รสจืด ต้มกับน้ำเดือด ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
  • เกสรตัวเมีย หรือไหมข้าวโพด รสหวาน ขับน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ แก้บวมน้ำ แก้โรคความดันโลหิต แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้โพรงจมูกอักเสบ แก้ฝีที่เต้านม ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา (อาการปัสสาวะขัด) โดยนำไหมข้าวโพด มาต้มในน้ำเดือด โบราณให้กินต่างน้ำ หมายความว่า ให้รับประทานแทนน้ำเปล่า เมื่ออาการดีขึ้น ให้รับประทานน้ำเปล่าเช่นเดิม
  • ราก รสจืด โบราณจะนำส่วนรากมาล้างน้ำสะอาด แล้วจึงนำมาต้มเคี่ยว จนน้ำงวดเหลือ 1 ใน 3 ของน้ำทั้งหมด แล้วรับประทานเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
  • เมล็ด รสหวานมัน บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงปอด ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน Estrogen (เป็น Phytoestrogen) ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว คลายกล้ามเนื้อเรียบ โดยนำเมล็ดข้าวโพดดิบมาคั่วแล้วปรุงรสตามชอบ ส่วนใหญ่นิยมใส่น้ำตาลเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยสมานแผลโดยนำเมล็ดดิบตำให้แหลก แล้วผสมแอลกอฮอล์ล้างแผล พอกบริเวณที่มีบาดแผลได้

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข้าวโพด

มีการทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของสารที่ได้จากยอดเกสรตัวเมียของข้าวโพด ในเซลล์สมองของมนุษย์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำให้เซลล์สมองเสื่อมและตายได้ในที่สุด แต่เมื่อเซลล์สมองได้รับสารสกัดจากข้าวโพด พบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระได้ ทำให้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์สมอง และชะลอความเสื่อมของเซลล์ แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการศึกษาในระดับหลอดทดลอง ยังต้องมีการศึกษาต่อไปในระดับคลินิกเพิ่มเติม

Scroll to Top