อาการเล็บม่วง เป็นหนึ่งในอาการที่อยู่ในกลุ่มอาการตัวเขียว (Cyanosis) ซึ่งมักเกิดจากระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่น้อยลง หรือมีระดับออกซิเจนต่ำ จนทำให้ผิวหนัง หรือชั้นเยื่อบุใต้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีม่วง-น้ำเงิน ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ถึงการที่มีฮีโมโกลบินที่ผิดปกติในเลือดสูง
นอกจากนี้ อุณหภูมิหนาวเย็นยังสามารถทำให้นิ้วมือเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้เช่นกัน เนื่องจากอากาศเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัวจนไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดลง ทำให้เลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนไหลไปเลี้ยงเล็บน้อยกว่าเดิม แต่หากคุณลองนวด ปรับเครื่องปรับอากาศ หรืออบอุ่นร่างกายให้อุ่นขึ้นแล้ว แต่เล็บมือก็ยังคงเป็นสีม่วงอยู่ อาจเกิดจากโรค หรือความผิดปกติทางโครงสร้างอื่นๆ ที่รบกวนการขนส่งออกซิเจนของร่างกาย
เล็บม่วงเกิดจากอะไร
การที่เล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง หรือสีเขียว อาจเกิดจากความผิดของปอด หัวใจ เซลล์เม็ดเลือด หรือหลอดเลือด โดยมีรายละเอียดดังนี้
- โรคที่เกิดกับปอด
- โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หรือโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)
- โรคหอบหืด (Asthma)
- กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิดแบบเฉียบพลัน (Respiratory Distress Syndrome)
- โรคปอดบวม (Pneumonia)
- โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism)
- โรคที่เกิดกับหัวใจ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
- กลุ่มอาการไอเซนเมนเกอร์ (Eisenmenger’s syndrome) ภาวะแทรกซ้อนระยะหลังจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- ภาวะแน่นหน้าอก หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
- โรคที่เกิดกับเซลล์เม็ดเลือด
- ภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด (Methemoglobinemia)
- การได้รับพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide Poisoning)
- โรคเลือดข้น (Polycythemia Vera) เกิดจากการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป
- โรคที่เกิดกับหลอดเลือด
- ปรากฏการณ์เรย์เนาด์ (Raynaud’s Phenomenon) เกิดจากหลอดเลือดที่มือและเท้าบีบรัดตัวอย่างไม่ถูกต้อง
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอาการอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการเล็บม่วงได้อีก เช่น
- อาการจากโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง
- อาการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
- อาการฝากล่องเสียงอักเสบ
- การอยู่บนเครื่องบินซึ่งมีระดับออกซิเจนต่ำ
- ภาวะเลือดข้น
- ภาวะโลหิตจางกลุ่มที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติ
- เกิดอาการชัก นานผิดปกติ
การวินิจฉัย
หากพบอาการเล็บม่วง ร่วมกับภาวะหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เหงื่อท่วม เวียนหัว หรือหมดสติ ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
แพทย์อาจวินิจฉัยภาวะเล็บม่วงด้วยการใช้วิธี “วัดความอิ่มตัวออกซิเจนในชีพจร (Pulse Oximeter)” ซึ่งเป็นวิธีการวัดระดับออกซิเจนในเลือดที่ง่ายที่สุด โดยจะมีวิธี Arterial Blood Gases (ABGs) วัดปริมาณออกซิเจนเพื่อชี้ชัดว่า ปัจจัยใดที่ส่งผลให้เกิดอาการเล็บม่วงขึ้น
ส่วนการรักษาที่มีจะขึ้นอยู่กับการตรวจหาสาเหตุต้นตอ เพื่อให้เกิดแก้ไขให้เลือดมีออกซิเจนกลับมาตามที่ควรเป็นที่เหมาะสมที่สุด
วิธีการรักษาอาการเล็บม่วง
อาการเล็บม่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เลือดไหลเวียนไม่ดี การบาดเจ็บบริเวณเล็บ หรือโรคทางระบบ เช่น โรคหัวใจและปอด วิธีการรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ
- กรณีเกิดจากการบาดเจ็บหรือเลือดคั่งใต้เล็บ
- หากเป็นเพียงการบาดเจ็บเล็กน้อย เล็บม่วงมักหายได้เองในไม่กี่วัน
- หากมีอาการปวดมากหรือเลือดคั่งใต้เล็บเยอะ ควรพบแพทย์เพื่อระบายเลือดออก
- กรณีเกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด
- พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นที่อาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
- หากเล็บม่วงเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น หายใจลำบากหรือเจ็บหน้าอก ควรรีบพบแพทย์ทันที
- กรณีเกิดจากโรคเรื้อรังหรือปัญหาทางสุขภาพ
- หากสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจหรือปอด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและรับการรักษาอย่างเหมาะสม
- การดูแลตัวเองเบื้องต้น
- รักษาความอบอุ่นของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการกดทับหรือการบาดเจ็บบริเวณเล็บ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยเสริมการไหลเวียนของเลือด เช่น อาหารที่มีธาตุเหล็ก
หากเล็บม่วงไม่หายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง