ตุ่มน้ำที่เท้า

ตุ่มใสที่เท้า หรือตุ่มน้ำ เป็นกระเปาะเล็กๆ ที่มีสารน้ำอยู่ภายในซึ่งพบตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ตุ่มน้ำนั้นมีได้หลายขนาดและอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นหลังจากอาบแดด จากการติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย การถูกแมลงกัดหรือการบาดเจ็บ ตุ่มน้ำนั้นสามารถขัดขวางการทำกิจวัตรประจำวันของเราได้ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด ตัวอย่างเช่น หากมีตุ่มน้ำที่เท้า อาจจะมีปัญหาในการเดิน ออกกำลังกายหรือยืนนานๆ

ตุ่มน้ำที่เท้านั้นพบได้บ่อย แต่โชคดีที่มีหลายวิธีที่สามารถรักษาที่บ้านที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ

สาเหตุ

หากคุณมีตุ่มน้ำที่เท้า หรือ ตุ่มใสที่เท้า อาจจะเกิดจากการเสียดสี การเดินหรือยืนเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมงต่อวันนั้นจะเพิ่มความเครียดให้ลงที่ส้นเท้า ฝ่าเท้าและนิ้วเท้า ยิ่งยืนนานเท่าไหร่ในระหว่างวัน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตุ่มน้ำที่เท้ามากขึ้น

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่เดินหรือยืนเป็นเวลานานแล้วจะเกิดตุ่มน้ำ ในหลายกรณีพบว่าตุ่มน้ำเหล่านี้นั้นเกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่พอดี การใส่รองเท้าที่คับเกินไปหรือหลวมเกินไปนั้นจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนัง และทำให้เกิดตุ่มน้ำขึ้นในชั้นใต้ผิวหนังชั้นบนได้

การที่มีความชื้นหรือเหงื่อออกมากเกินไปนั้นก็สามารถกระตุ้นให้เกิดตุ่มน้ำได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักวิ่ง ตุ่มน้ำเล็กๆ จะเกิดจากการที่ต่อมเหงื่อที่เท้านั้นเกิดการอุดตัน

นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำที่เท้าได้เช่น

  • ถูกแดดเผา
  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • การสัมผัสกับสารเคมี (เครื่องสำอางหรือน้ำยาซักผ้า)
  • การติดเชื้อรา
  • โรคอีสุกอีใส
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การติดเชื้อ herpes
  • Dyshidrotic eczema
  • น้ำแข็งกัด (Frostbite)

การวินิจฉัย

ตุ่มน้ำใสที่เท้าที่เกิดจากการเสียดสีนั้นมักจะหายได้เองในเวลาไม่กี่วันด้วยการรักษาที่บ้าน

แต่ตุ่มน้ำบางตุ่มนั้นอาจจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาดังกล่าวหรืออาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นได้ ควรไปพบแพทย์หากตุ่มน้ำนั้นทำให้เกิดาอาการเจ็บที่รุนแรงหรือทำให้ไม่สามารถเดินได้ และควรไปพบแพทย์หากมีไข้ คลื่นไส้ หรือหนาวสั่นเกิดร่วมกับตุ่มน้ำ เพราะเป็นอาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ

แพทย์สามารถเจาะระบายตุ่มน้ำได้ด้วยการใช้เข็มปราศจากเชื้อ หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อ จะมีการเก็บตัวอย่างสารน้ำดังกล่าวนั้นไปตรวจเพื่อหาสาเหตุ

การรักษาที่บ้าน

คุณอาจจะอยากเจาะตุ่มน้ำดังกล่าว แต่ไม่ควรทำเช่นนั้นเพราะแผลที่เปิดนั้นจะติดเชื้อได้ ควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เพื่อช่วยป้องกันตุ่มน้ำในระหว่างที่กำลังรักษาตัวเอง

หากปล่อยตุ่มน้ำไว้โดยไม่ปิดแผล ตุ่มน้ำก็อาจจะแข็งขึ้นและหายไปเองได้ แต่ในระหว่างนั้นอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ขึ้นกับขนาดของตุ่มน้ำ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ควรเจาะตุ่มน้ำดังกล่าว แต่การเจาะระบายน้ำอย่างปลอดภัยในบางครั้งก็อาจจะช่วยลดอาการได้ ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่เหมาะสมในการเจาะระบายน้ำจากตุ่มน้ำที่บ้าน

  • ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ใช้ไม้พันสำลีฆ่าเชื้อที่เข็มด้วยการทาแอลกอฮอล์ที่เข็ม
  • ทำความสะอาดบริเวณตุ่มน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • นำเข็มมาเจาะที่ตุ่มน้ำเป็นรูเล็กๆ
  • ปล่อยให้น้ำนั้นระบายออกมาจนหมด
  • ทำความสะอาดและทาขี้ผึ้งหรือครีมฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นประจำทุกวัน
  • ปิดแผลไว้จนกว่าจะหาย

การป้องกัน

การป้องกันการเกิดตุ่มน้ำที่เท้านั้นต้องรวมถึงการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุ หากเกิดจากการเสียดสี ควรเปลี่ยนไปใส่รองเท้าที่มีขนาดเหมาะสม หากเท้านั้นถูกับรองเท้าบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นพิเศษ ควรใส่ที่รองเท้าเพื่อช่วยรองเท้าเพิ่มขึ้นและลดแรงเสียดสีที่เกิดขึ้น

หากคุณเป็นนักกีฬา ควรดูแลเท้าให้แห้งอยู่เสมอ อาจจะใช้ผงทาเท้าเพื่อลดเหงื่อที่ออกหรือใส่ถุงเท้าที่ช่วยลดความชื้นที่ออกแบบมาสำหรับนักกีฬา ถุงเท้าลักษณะนี้นั้นจะแห้งได้เร็วกว่าและช่วยลดความชื้น หากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเช่นแป้ง โลชั่น หรือสบู่หรือมีสารก่อภูมิแพ้กระตุ้นให้เกิดตุ่มน้ำที่เท้า ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดตุ่มน้ำอันใหม่ หากตุ่มน้ำนั้นเกิดจากโรค ควรปรึกษาวิธีการรักษากับแพทย์ หากสามารถรักษาโรคที่เป็นสาเหตุได้ ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดตุ่มน้ำลดลง


คำถามที่เกี่ยวข้อง

ตุ่มใสที่เท้า คัน เกิดจากอะไร ?

มีหลายสาเหตุ สังเกตอาการที่ร่วมด้วยจะทำให้วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

  1. โรคผื่นผิวหนังอักเสบ: ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสารระคายเคือง เช่น น้ำยาทำความสะอาด สารเคมี หรือเครื่องประดับ
  2. เชื้อรา: ส่วนใหญ่มีอาการคัน แสบ มีตุ่มน้ำ และผิวลอก มักเกิดจากเชื้อราในกลุ่ม Dermatophytes ทำให้มีตุ่มน้ำคันที่เท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วเท้า
  3. โรคตุ่มน้ำพอง: อาการตุ่มน้ำเล็กๆ คันมาก มักพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
  4. โรคอีสุกอีใส: อาการตุ่มน้ำคันกระจายทั่วตัว รวมถึงเท้า อาจมีไข้ อ่อนเพลีย
  5. แมลงกัดต่อย: ตุ่มน้ำคันเฉพาะจุด มักเกิดจากยุง แมลงกัดต่อย
  6. โรคสะเก็ดเงิน: มีอาการคันและปวด ผื่นแดงมีขุย อาจมีตุ่มน้ำร่วมด้วย
  7. การติดเชื้อแบคทีเรีย: ลักษณะตุ่มน้ำที่มีหนองหรือแดงร้อน มีอาการปวด บวม อาจมีไข้

การดูแลเบื้องต้น ให้หลีกเลี่ยงการเกา ทำความสะอาดเท้าบ่อยๆ ใช้ยาลดอาการคันตามความเหมาะสม หากอาการไม่ดีขึ้น 1-2 สัปดาห์หรือมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์

เท้าเป็นถุงน้ำ รักษาอย่างไร ?

  • ถ้าไม่แตก: หลีกเลี่ยงการเจาะ ปิดด้วยผ้าพันแผลสะอาด ลดแรงเสียดสี
  • ถ้าแตกแล้ว: ล้างด้วยน้ำเกลือ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์กันน้ำ
  • เลี่ยงการกดทับ: ใส่รองเท้าที่นุ่มสบาย ลดแรงเสียดสี
  • ติดตามอาการ: หากมีอักเสบหรือเป็นหนอง ควรพบแพทย์

Scroll to Top