ยาฆ่าแมลงอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง มีสารเคมีอะไรที่ควรระวัง

ยาฆ่าแมลงอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง มีสารเคมีอะไรที่ควรระวัง

ยาฆ่าแมลงเป็นอีกสารพิษที่อยู่ใกล้ตัวหลายๆ คน ทั้งยังมักแฝงอยู่ในผักผลไม้ที่เรารับประทานกันทุกวัน หลายคนคงรู้กันดีว่า ยาฆ่าแมลงถือเป็นสารมีพิษที่ร้ายแรงต่อร่างกายอย่างมาก สามารถก่อโรคร้ายให้กับเราได้มากมาย

เราจึงควรรู้ถึงอันตรายของมันและวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับสารจากยาฆ่าแมลงให้มากที่สุด รวมถึงควรรู้ผลกระทบจากการรับสารของยาฆ่าแมลงเข้าไป เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลไม่ให้คนใกล้ชิดเป็นอันตรายจากสารเหล่านี้ไปด้วย

ความหมายของยาฆ่าแมลง

ยาฆ่าแมลง (Insecticides) คือ สารเคมีสำหรับช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการกำจัดศัตรูพืช โรคพืช หรือแมลงที่ทำให้พืชผักเสียหายระหว่างปลูก

ยาฆ่าแมลงมักจะยังปนเปื้อนอยู่ในผักผลไม้ที่ส่งออกมาขายตามท้องตลาด และหากผู้ซื้อไม่ได้ทำความสะอาดผักผลไม้ให้สะอาดพอก่อนรับประทาน ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการรับสารพิษในยาฆ่าแมลงเข้าร่างกาย

สารเคมีที่มักปนเปื้อนอยู่ในยาฆ่าแมลง

  • สารกลุ่มออร์กะโนฟอสเฟต (Organophosphate) เป็นสารกลุ่มยาฆ่าแมลงที่ละลายน้ำได้ดี สลายตัวได้ง่าย จึงทำให้พิษเจือจางง่ายไปด้วย แต่ก็ยังเป็นอันตรายร้ายแรงคน รวมถึงสัตว์เลือดอุ่น และสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยปกติยาฆ่าแมลงที่มีสารออร์กะโนฟอสเฟตมีข้อห้ามใช้ในประเทศไทย แต่ก็ยังมีการตรวจพบว่า มีการใช้สารนี้สำหรับฆ่าแมลง หรือเป็นยากำจัดศัตรูพืชอยู่
  • สารกลุ่มคาร์มาเบต (Carbamate) เป็นสารกลุ่มยาฆ่าแมลง และเชื้อโรคพืชกลุ่มที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนผสม ละลายได้ดีในน้ำมัน หรือแอลกอฮอล์ สามารถซึมอยู่ในพืชได้นาน มีผลร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ที่ได้รับสารเข้าไป และอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้
  • สารกลุ่มออร์กะโนคลอรีน (Organochlorine insecticides) เป็นสารกลุ่มยาฆ่าแมลงที่ไม่ได้ปนเปื้อนในผักผลไม้เท่านั้น แต่ยังปนเปื้อนอยู่ในเนื้อสัตว์ติดมัน และนมวัวด้วย สารออร์กะโนคลอรีนเป็นสารยาฆ่าแมลงที่ก่อพิษเรื้อรัง สลายตัวยาก และใช้เวลานานกว่าจะเจือจางลง มีฤทธิ์ร้ายแรงต่อระบบประสาทสั่งการ และระบบสั่งการรับความรู้สึก
  • สารกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) เป็นสารกลุ่มยาฆ่าแมลงที่ใช้ในผลิตภัณฑ์กันยุงด้วย มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาหารเป็นพิษ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ยังมีอาการกล้ามเนื้อกระตุกด้วย
  • สารกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids)
  • สารกลุ่มบิวทิโนไลด์ (Butenolides)
  • สารกลุ่มไรยานอยด์ (Ryanoids)

ผักที่เสี่ยงปนเปื้อนสารยาฆ่าแมลง

คุณสามารถพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงได้ในผักผลไม้ทั่วไป แต่ในผักผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

ผลกระทบต่อสุขภาพของยาฆ่าแมลง

ยาฆ่าแมลงบางชนิด เมื่อเข้าสู่ร่างกาย และกลายเป็นสารพิษสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบเต่อระบบต่างๆ ของร่างกายได้ หรือบางชนิดไม่ต้องสะสมเป็นเวลานาน ก็เป็นพิษอย่างเฉียบพลันต่อผู้สัมผัสสารได้

อาการของระบบในร่างกายเมื่อสัมผัสสารพิษจากยาฆ่าแมลงจะมีต่อไปนี้

  • ระบบประสาท พัฒนาการทางสมองลด เวียนศีรษะ ระบบไขสันหลังทำงานผิดปกติ เสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น เป็นตะคริว เกิดอาการชาตามมือ และเท้า รู้สึกเจ็บเหมือนมีเข็มแทงผิวหนัง
  • ระบบการมองเห็น น้ำตาไหล เป็นแผลที่กระจกตา มีอาการหนังตากระตุก ม่านตาหรี่ลง แสบตา ตาแดง การมองเห็นไม่ชัด อาการลุกลามเป็นโรคต้อหินได้
  • ระบบไหลเวียนเลือด สารพิษเข้าไปสะสมอยู่ในเซลล์เม็ดเลือด จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำลง เกิดเลือดออกที่เยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว
  • ระบบการหายใจ หายใจไม่สะดวก เลือดกำเดาไหล แน่นหน้าอก หายใจเร็วถี่ แสบจมูก ไอเรื้อรัง คอแห้ง หลอดลมหดเกร็ง ออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่ำกว่ามาตรฐาน เซลล์ปอดเสียหาย มีอาการน้ำท่วมปอด เกิดพังผืดที่ปอด
  • ระบบผิวหนัง ผิวหนังเกิดบาดแผลฉีกขาดจากการดูดซึมสารเข้าไป คันระคายเคือง หรือปวดแสบตามผิวหนัง มีผื่นแดงขึ้น ผิวหนังแห้งแตก เล็บซีด เล็บเปราะ ผมร่วง
  • ระบบทางเดินอาหาร น้ำลายไหลมาก น้ำหนักลดลง คลื่นไส้อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด น้ำลายไหลมาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นพิษ กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีเลือดออกที่เยื่อบุทางเดินอาหาร
  • ระบบขับถ่าย ไตวาย ลำไส้อักเสบ ท้องเสียอย่างหนัก มีสารคัดหลั่งออกมาทางอุจจาระ และปัสสาวะ ถ่ายเป็นเลือด
  • ระบบสืบพันธุ์ ตัวอสุจิถูกทำลาย ฮอร์โมนทางเพศลด เลือดออกที่รกจนเสี่ยงเกิดภาวะแท้ง

ความรุนแรงของอาการผิดปกติหลังจากรับสารพิษของยาฆ่าแมลงยังขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายด้วย รวมถึงอาการแพ้สารเคมีซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

บางครั้งอาการในระบบต่างๆ ของร่างกายอาจยังไม่แสดงตัวในทันที แต่จะเริ่มก่อตัวขึ้นในร่างกายทีละน้อยๆ แทนแล้วแสดงผลออกมาในระยะยาวแทน ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะช่วยให้เราสามารถรู้เท่าทันความผิดปกติในร่างกายได้

เช่น ระดับความดันโลหิต ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด การทำงานของตับ ไต หัวใจ ปอด

วิธีป้องกันไม่ให้ปนเปื้อนจากสารยาฆ่าแมลง

เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง คุณจึงควรรู้วิธีป้องกันไม่ให้สารเข้ามาปนเปื้อนร่างกายได้ เช่น

  • ล้างทำความสะอาดผักผลไม้ก่อนรับประทาน หรือก่อนนำไปปรุงอาหาร โดยเคล็ดลับการขจัดสารปนเปื้อนในผักผลไม้มีอยู่หลายแบบ เช่น
    • แช่ผักผลไม้ในด่างทับทิม จำนวน 20-30 เกล็ด
    • ล้างกับน้ำเปล่าและใช้มือคลี่ใบผักระหว่างล้างไปด้วยประมาณ 2 นาที
    • แช่ผักผลไม้กับน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 5% ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำเปล่า 20 ลิตรประมาณ 30-45 นาที
    • แช่ผักผลไม้กับน้ำอุ่น 20 ลิตร และโซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู) ประมาณ 15 นาที
  • สำรวจแหล่งซื้อขายผักผลไม้ให้ดี หรือลองค้นหาข้อมูลยี่ห้อผักผลไม้ก่อนเลือกซื้อว่า ยี่ห้อใดมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงบ้าง หรือมีแหล่งซื้อผักผลไม้ใดที่น่าสนใจ และปลอดภัยจากสารพิษ
  • หากเป็นผู้ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ให้ใช้ยาฆ่าแมลงโดยสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ใส่หน้ากากปิดปาก จมูก รวมถึงใช้ภาชนะบรรจุ และพ่นสารเคมีที่ปลอดภัย ไม่รั่วไหล หลังจากใช้ยาฆ่าแมลงเสร็จต้องอาบน้ำให้สะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ด้วย
  • ปลูกผักผลไม้รับประทานเอง ซึ่งปัจจุบันก็เป็นอีกวิธีที่หลายคนนิยมทำกันคือ ปลูกผักผลไม้ที่นิยมรับประทานไว้ในบริเวณบ้านเอง เพื่อจะได้สามารถดูแลเพราะปลูกเองได้โดยปราศจากการใช้สารพิษ

วิธีป้องกันยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ตามที่กล่าวไปข้างต้นสามารถช่วยป้องกันการรับสารพิษเข้าร่างกายได้ส่วนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม สารพิษจากยาฆ่าแมลงที่ดูดซึมเข้าไปในส่วนลำต้น ใบ ดอก และผลจะไม่สามารถชะล้างออกได้ เมื่อรับประทานเข้าไป ภูมิต้านทานของร่างกายก็จะต่อสู้กับพิษของสารปนเปื้อนซึ่งอาจไม่มีอาการแสดงออกมาในทันที

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปสักพัก เมื่อร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับพิษที่สะสมได้อีก ก็จะมีอาการแสดงออกมาเป็นอาการเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งได้กล่าวไปข้างต้น

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการรับประทานผักผลไม้ คุณควรเลือกแหล่งหาซื้อผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษที่สุด รวมถึงทำความสะอาดก่อนเริ่มรับประทาน และไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายไม่ได้ปนเปื้อนสารเคมี หรือมีโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากการรับประทานผักผลไม้ที่ปนเปื้อนสารพิษ


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. ธนู โกมลไสย

Scroll to Top