misconceptions during pregnancy disease misunderstanding scaled

8 ความเชื่อผิด ๆ ของคนท้อง คุณแม่มือใหม่เช็กให้ชัวร์

คุณแม่มือใหม่หลายคนคงเคยได้ยินหรือได้ฟังความเชื่อแปลก ๆ จากคนใกล้ตัวหรือคนในครอบครัวมาบ้าง แต่เรื่องเหล่านั้นจริงเท็จแค่ไหนกันนะ มาเช็กกัน ความเชื่อผิด ๆ เหล่านั้นมีอะไรกัน แล้วความจริงเป็นแบบไหนก่อนทำตาม เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ 

มีคำถามเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

1. ความเชื่อ: ดื่มน้ำมะพร้าวตอนท้อง จะช่วยล้างไขตามตัวเด็กออก

ความจริง: ไขของเด็กทารกในครรภ์ (Vernix caseosa) จะเริ่มสร้างตอนทารกมีอายุราว 5 เดือนในครรภ์ มีหน้าที่ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนและเชื้อโรคผ่านเข้าสู่ผิวทารก ช่วยให้ความชุ่มชื่นกับผิว และเป็นเหมือนสารหล่อลื่นให้เด็กคลอดได้ง่ายจากท้องคุณแม่

เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดคลอด ไขตามตัวเด็กจะลดน้อยลง และหลุดลอกออกไปเอง หากเด็กคลอดก่อนกำหนดมากจะมีไขขาว ๆ ติดตามผิวหนังทั่วตัวค่อนข้างเยอะ เพราะไขยังไม่ทันหลุดลอกจากผิวหนังก็คลอดก่อนแล้ว

ส่วนน้ำมะพร้าวเอง มีทั้งไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว ถ้าคุณแม่ดื่มน้ำมะพร้าวตอนท้อง อาจทำให้ไขสีขาวขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยให้ลูกคลอดออกมาไม่มีไข 

2. ความเชื่อ: ตอนท้องไม่ควรออกกำลังกาย อาจเสี่ยงแท้ง

ความจริง: การออกกำลังกายดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์หลายอย่าง เช่น ลดอาการปวดหลังจากครรภ์ขยายใหญ่ขึ้น คลายความเครียด ลดความเหนื่อยล้า เสริมบุคลิก ท่าทางของคุณแม่ และลดโอกาสการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ด้วย 

คุณแม่ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน แนะนำให้เริ่มหลังอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ไปแล้ว และควรออกกำลังกายแบบเบา ๆ ตามคุณหมอแนะนำ เช่น เดินเร็ว โยคะยืดเส้น ว่ายน้ำ เวทเทรนนิ่งบางท่า 

ส่วนคุณแม่ที่ออกกำลังกายเป็นประจำยังทำได้ แต่ควรออกกำลังกายให้น้อยลง ไม่นานเกินไป ห้ามออกกำลังกายหนัก ๆ ใช้แรงมาก ยกน้ำหนัก หรือเกิดแรงกระแทกรุนแรง 

ฉะนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ออกกำลังกายได้ เพียงแค่ควรระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรก และให้ปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ก่อนออกกำลังกาย คุณหมอจะช่วยแนะนำท่าออกกำลังกาย และระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อย

3. ความเชื่อ: ติดเข็มกลัดที่เสื้อตอนท้อง ป้องกันอันตรายหรือสิ่งไม่ดี

ความจริง: การติดเข็มกลัดที่เสื้อตอนท้องเหมือนเป็นกลอุบายให้คุณแม่มีความสบายใจ และเป็นความเชื่อส่วนบุคคล เพราะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจในช่วงตั้งครรภ์ อาจทำให้คุณแม่มีความวิตกกังวลหรืออารมณ์ที่กระทบต่อการตั้งครรภ์โดยรวม

ขณะเดียวกันก็ช่วยให้คนที่เห็นเข็มกลัดจะได้รู้ว่า คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ระวังไม่เดินชนโดยไม่ตั้งใจ หากคุณแม่อยากติดเข็มกลัดก็สามารถทำได้ เพียงแค่ระวังเข็มทิ่มหรือตำเท่านั้นเอง

4. ความเชื่อ: อยากให้ลูกผิวขาว อย่ากินของดำตอนท้อง

ความจริง: สีผิวของทารกขึ้นอยู่กับยีนส์ควบคุมเม็ดสีผิวที่แตกต่างกันตามพันธุกรรมแต่ละคน ไม่ได้เกิดจากการกินอาหารที่มีสีดำตอนท้อง เช่น เฉาก๊วย โอเลี้ยง และช็อกโกแลต ถ้าพื้นเพของพ่อแม่เป็นคนผิวขาว ไม่ว่าจะกินอาหารสีดำมากแค่ไหน ก็ไม่ได้ทำให้ลูกมีผิวสีดำแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม สีผิวของเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในตอนโตจากการดูแลผิว และสภาพแวดล้อม เช่น การโดนแดดทำให้ผิวสีเข้มขึ้น หรือการทาครีมที่มีส่วนผสมของไวเทนนิ่งช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้เล็กน้อย

มีคำถามเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

5. ความเชื่อ: กินยาบำรุงครรภ์ ทำให้คุณแม่ท้องอ้วนขึ้น

ความจริง: ยาบำรุงที่คุณแม่ได้รับตอนฝากครรภ์มักมีส่วนประกอบหลักของธาตุเหล็ก วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์โดยตรง ไม่ได้ทำให้คุณแม่ท้องอ้วนขึ้น 

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวหรืออ้วนขึ้นง่าย มาจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เพิ่มสูงตอนท้อง ทำให้เซลล์บวมน้ำ เนื้อตัวดูเต่งตึงกว่าปกติ และอาจกระตุ้นให้เจริญอาหารมากขึ้น ทำให้คุณแม่กินเก่งขึ้น กินบ่อยขึ้น และนอนหลับง่ายขึ้น

6. ความเชื่อ: ไม่ควรมีเซ็กส์ตอนท้อง

ความจริง: คุณแม่อาจเคยได้ยินกันมาบ้าง ท้องแล้วมีเซ็กส์ไม่ได้เด็ดขาด เสี่ยงแท้งง่าย ซึ่งไม่เป็นความจริง คุณแม่มีเพศสัมพันธ์ได้ปกติ ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ แต่ต้องทำด้วยความนิ่มนวล และหลีกเลี่ยงท่าที่มีการกดทับบริเวณมดลู

รวมถึงบางช่วงควรเลี่ยงหรือลดการมีเพศสัมพันธ์ลง เช่น ช่วงท้องอ่อน ๆ หรือไตรมาสแรก คุณแม่มักมีอาการแพ้ท้อง อ่อนเพลีย หรือตอนใกล้คลอด คุณแม่จะรู้สึกอึดอัด เหนื่อยง่าย อาจเกิดการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจมีข้อจำกัดมากขึ้น เช่น มีประวัติแท้งบ่อย หรือคลอดก่อนกำหนด ควรเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนแรกและ 3 เดือนก่อนคลอด มีภาวะรกเกาะต่ำควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์บางช่วง หรือเลี่ยงเด็ดขาดหากมีอาการน้ำเดิน

สุขภาพของคุณแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจมีสิ่งควรเลี่ยงหรือระวังต่างกัน แนะนำให้คุณแม่เข้ารับการปรึกษากับคุณหมอเพิ่มเติม 

7. ความเชื่อ: น้ำหนักตัวมากตอนท้องไม่เป็นไร กินเยอะแค่ไหนก็ได้ 

ความจริง: คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกเจริญอาหารขึ้นมาก ทำให้กินบ่อย กินถี่ กินมากขึ้น เป็นผลให้น้ำหนักตัวมากตามไปด้วย ถึงแม้น้ำหนักตัวมากขึ้น คุณแม่คงคิดว่าไม่เป็นไร อย่างน้อยลูกจะได้สารอาหารมากตามไปด้วย จริง ๆ แล้วไม่ถูกต้องนัก

น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก ควรเพิ่มประมาณ 1 กิโลกรัม ช่วงไตรมาสที่ 2 ควรเพิ่มประมาณ 4–5 กิโลกรัม และช่วงไตรมาสที่ 3 ควรเพิ่มประมาณ 5–6 กิโลกรัม หรือตลอดการตั้งครรภ์ ควรน้ำหนักขึ้นโดยรวมประมาณ 10–12 กิโลกรัม

น้ำหนักตัวตอนท้องที่เพิ่มมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่ครรภ์เป็นพิษได้ คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการกินขนมหวานต่าง ๆ มากเกินไป

8. ความเชื่อ: ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่ต้องฝากครรภ์ได้

ความจริง: แม้จะไม่มีปัญหาสุขภาพหรืออาการผิดปกติ เมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ทันที เพื่อให้คุณแม่และทารกในครรภ์ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม 

การฝากครรภ์จะช่วยให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่น ค้นหาความเสี่ยงที่เกิดโดยไม่รู้ตัว หรือไม่มีอาการ บางโรคที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ทารกพิการ เช่น โรคซิฟิลิส หัดเยอรมัน โรคเอดส์ หรือทำให้คุณแม่เองเสี่ยงอันตราย อย่างภาวะครรภ์เป็นพิษ

นอกจากเรื่องเหล่านี้ ยังมีอีกหลากหลายความเชื่อที่คุณแม่มือใหม่ควรระวัง และหาข้อเท็จจริงเสียก่อน หากไม่แน่ใจสามารถปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่เข้ารับการฝากครรภ์จะดีที่สุด

ทุกการตั้งครรภ์มีความเสี่ยง ฝากครรภ์ตั้งแต่แรก ลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้ HDmall.co.th มัดรวม แพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและรพ. ชั้นนำ จองผ่านเว็บรับราคาพิเศษ

มีคำถามเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ