hormone levels testing questions screening faq

คลาย 7 ข้อสงสัยเรื่องการตรวจฮอร์โมน

เคยสงสัยไหมว่าทำไมควรตรวจฮอร์โมน ตรวจฮอร์โมนแล้วมีประโยชน์อย่างไร ใครบ้างควรตรวจฮอร์โมน ทุกคนไหม? 

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้น เพื่อส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ผ่านกระแสเลือด มีผลให้ระบบต่าง ๆ ทำงานหรือหยุดลง เมื่อฮอร์โมนมีการหลั่งผิดปกติ ย่อมมีมีผลเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและอารมณ์ของเราแน่นอน

การตรวจฮอร์โมนไม่เพียงแค่ช่วยประเมินสุขภาพโดยรวม แต่ยังช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน ในบทความนี้ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับการตรวจฮอร์โมนให้มากขึ้นผ่านข้อ 10 สงสัยที่พบบ่อย ๆ กัน

1. ไม่ใช่วัยทอง จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนไหม?

ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญพลังงาน อารมณ์ การนอนหลับ และสุขภาพทางเพศ เมื่อระดับฮอร์โมนผิดปกติไป ไม่ว่าจะมากไปหรือน้อยไป ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจได้

แม้วัยทองจะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่ช่วงวัยอื่นก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด การสัมผัสมลพิษ การดื่มเหล้า หรือการสูบบุหรี่ 

ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ถ้าพบอาการบ่งบอกถึงความผิดปกติของฮอร์โมนต่อไปนี้ ก็สามารถเข้ารับการตรวจฮอร์โมนประเมินระดับฮอร์โมนได้โดยไม่ต้องรอ 

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • หน้ามัน มีสิวขึ้นเยอะ
  • ผิวแห้งกร้าน 
  • ผมร่วงผิดปกติ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย ลดน้ำหนักลงยาก รู้สึกระบบเผาผลาญแย่ลง หรือน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่ค่อยหลับ มีปัญหาในการนอน
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
  • คิดไม่ค่อยทัน หลงลืมง่าย
  • เครียดง่าย 
  • มีอาการซึมเศร้า
  • ความรู้สึกทางเพศหรือสมรรถภาพทางเพศลดลง ในผู้หญิงจะมีอาการช่องคลอดแห้ง หรือในผู้ชายจะมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในช่วงเช้าน้อยลง 

สำหรับคนที่เริ่มมีอายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สามารถเริ่มตรวจฮอร์โมนก่อนช่วงวัยทองได้ ซึ่งจะช่วยให้รู้ถึงระดับของฮอร์โมนว่ามีมากน้อยแค่ไหน ทำให้วางแผนการดูแลสุขภาพตัวเองได้ดียิ่งขึ้น 

2. การตรวจฮอร์โมนในผู้หญิงและผู้ชายเหมือนกันไหม

ผู้หญิงและผู้ชายมีฮอร์โมนบางตัวในปริมาณมากน้อยไม่เท่ากัน และปัญหาสุขภาพจากฮอร์โมนผิดปกติในแต่ละเพศมักจะต่างกันด้วย ทำให้รายการตรวจฮอร์โมนในสถานพยาบาลส่วนใหญ่จะแยกตรวจตามเพศเป็นหลัก 

การตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้หญิงมักจะเน้นตรวจอาการผิดปกติ ที่มักเกิดจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น กลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (PMS) ปวดประจำเดือน เป็นสิวเยอะ หรือปวดไมเกรน 

รายการตรวจฮอร์โมนที่นิยมในผู้หญิงคือ

  • ตรวจฮอร์โมนทั่วไป เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมน DHEAs (Dehydroepiandrosterone sulfate) ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH)
  • ตรวจฮอร์โมนเพศ เช่น ฮอร์โมน E2 (Estradiol hormone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ทั้งฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) และฮอร์โมน FSH (Follicle stimulating hormone) และฮอร์โมน SHBG (Sex hormone binding globulin)

การตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้ชายมักจะเน้นตรวจหาสาเหตุของปัญหาทางเพศหรือสุขภาพทางเพศ โดยรายการตรวจฮอร์โมนที่นิยมในผู้ชายคือ

  • ตรวจฮอร์โมนทั่วไป เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมน DHEAs (Dehydroepiandrosterone sulfate) ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH)
  • ตรวจฮอร์โมนเพศ เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ทั้งฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) และฮอร์โมน FSH (Follicle stimulating hormone) 

การตรวจฮอร์โมนทั่วไปจะเป็นการตรวจดูสุขภาพโดยรวมของเรา และการตรวจฮอร์โมนเพศนั้นเจาะลึกลงไปอีกขั้น แล้วแต่ปัญหาสุขภาพของแต่ละคนด้วย เบื้องต้นสามารถปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาลถึงโปรแกรมที่เหมาะสมได้

เปรียบเทียบราคา ดูแพ็กเกจตรวจฮอร์โมน

3. ทำไมผู้หญิงต้องตรวจฮอร์โมนเพศชาย?

ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนเพศชาย อย่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เช่นเดียวกัน เพียงแค่มีปริมาณน้อยกว่า โดยจะส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และอารมณ์ทางเพศของผู้หญิง

ถ้าผู้หญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากไปอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดกบางบริเวณ เกิดก้อนเนื้อหรือถุงน้ำที่รังไข่

4. ทำไมผู้ชายต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง?

ผู้ชายก็มีฮอร์โมนเพศหญิง อย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เช่นเดียวกันในปริมาณที่น้อยกว่าผู้หญิง โดยมีความสำคัญต่ออารมณ์ทางเพศ สมรรถภาพทางเพศ การผลิตสเปิร์ม และความแข็งแรงของกระดูกในผู้ชาย   

ถ้าผู้ชายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไปอาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง กล้ามเนื้อหาย ไขมันสะสมไขมันได้ง่ายขึ้น และมีบุตรยาก 

5. กลุ่มหลากหลายทางเพศ LGTBQ+ ตรวจฮอร์โมนอะไร?

การตรวจฮอร์โมนจะช่วยปรับความสมดุลของระดับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศมากขึ้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะปรับให้มีความเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายมากขึ้น ช่วยเตรียมความพร้อมก่อนการใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือเทคฮอร์โมน

เพศชายที่ต้องการปรับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์เพศ จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับเพศหญิงที่ต้องการปรับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์เพศ อาจต้องตรวจฮอร์โมนเพศชาย เพื่อช่วยคำนวณและปรับระดับฮอร์โมนได้อย่างเหมาะสม

6. ก่อนตรวจฮอร์โมน เตรียมตัวยังไง ต้องหยุดใช้ยาหรือไม่?

การตรวจฮอร์โมนด้วยวิธีเจาะเลือดไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ ไม่ต้องงดอาหาร เพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน กรณีที่มีการตรวจสุขภาพพร้อมกัน อาจต้องงดน้ำและอาหารตามคำแนะนำของสถานพยาบาล 

เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อนจากสภาวะแท้จริงของร่างกาย ถ้ามีโรคประจำตัวหรือใช้ยาใด ๆ โดยเฉพาะยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเสริม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน 

7. ตรวจฮอร์โมนช่วงเวลาไหนแม่นสุด?

การตรวจฮอร์โมนจะแนะนำให้ตรวจในช่วงเช้า โดยเฉพาะเวลา 8.00 10.00 น. เพราะฮอร์โมนหลายตัวจะมีระดับฮอร์โมนสูงสุดในช่วงเช้า เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล และฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ผลการตรวจแม่นยำและสะท้อนระดับฮอร์โมนในร่างกายได้ดีที่สุด

ผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน อย่างประจำเดือนผิดปกติ หรืออาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) แล้วต้องการตรวจความสมดุลของฮอร์โมนเพศ แนะนำให้ตรวจประมาณวันที่ 21 ของรอบเดือน (นับวันแรกของประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1) 

การตรวจฮอร์โมนไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะช่วยให้เราเข้าใจสุขภาพของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องอารมณ์และสุขภาพร่างกาย การตรวจฮอร์โมนสามารถบอกเราว่าร่างกายเราทำงานได้ดีหรือไม่ ช่วยวินิจฉัยปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับการตรวจ ฮอร์โมนกันนะ

เหนื่อยง่าย? อารมณ์แปรปรวน? อาจเป็นเพราะฮอร์โมน มาเช็กเลย! HDmall.co.th มีแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนแบบจัดเต็ม จากรพ. ทั่วไทย ราคาคุ้มค่า ไม่ต้องรอคิวนาน

Scroll to Top