Default fallback image

รักษานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF คืออะไร เจ็บไหม ราคา

นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ เป็นอาการและภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และยังส่งผลกระทบต่อคนใกล้ชิด ทำให้มีปัญหาหลับไม่สนิท หรือพักผ่อนไม่เพียงพอได้ 

ปัจจุบันมีหลากหลายแนวทางในการบรรเทาและรักษาอาการนอนกรน ทั้งการปรับพฤติกรรมด้วยตนเอง การติดอุปกรณ์ทางการแพทย์ขณะนอนหลับ การผ่าตัดทางเดินหายใจ การเลเซอร์เพดานอ่อน รวมทั้งการใช้คลื่นความถี่วิทยุ RF ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ให้ประสิทธิภาพดี

การรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF คืออะไร

การรักษาอาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency: RF) เป็นวิธีรักษาที่ใช้พลังงานความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุ ส่งไปยังเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น โพรงจมูก ลิ้น เพดานอ่อน ทำให้บริเวณนั้นหดตึงตัว แก้ไขปัญหาเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อหย่อนคล้อยลงมาปิดทางเดินหายใจ

ทั้งนี้เมื่อรักษานอนกรนด้วยคลื่น RF ครบตามจำนวนครั้งที่แพทย์แนะนำแล้ว ผู้ป่วยมักหายได้ใจสะดวกขึ้น อาการนอนกรนลดลง จึงนับว่าเป็นการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ดี 

การรักษานอนกรนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF สามารถใช้เป็นการรักษาหลัก การรักษาทางเลือก หรือการรักษาเสริมก็ได้ ขึ้นอยู่กับการประเมินภาวะสุขภาพของแพทย์ร่วมกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน

ขั้นตอนการรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

การรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน ดังนี้

  1. แพทย์ให้ยาชาเฉพาะที่แก่ผู้ป่วย ถ้าทำในบริเวณช่องคอจะใช้ยาชาแบบสเปรย์ ถ้าทำในโพรงจมูกจะใช้สำลีชุบยาชาทา เมื่อยาชาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จึงจะฉีดยาชาเพิ่มอีกเล็กน้อยเข้าไปยังตำแหน่งที่จะรักษาเพื่อระงับความรู้สึก
  2. แพทย์จะให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหรือนั่ง จากนั้นสอดเครื่องมือปล่อยคลื่นความถี่วิทยุซึ่งบริเวณปลายจะมีลักษณะคล้ายเข็ม เข้าไปยังบริเวณที่จะรักษา จากนั้นคลื่นความถี่วิทยุจะถูกปล่อยออกมา เพื่อให้เนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ จะหดตัว เต่งตึงขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น

การรักษา 1 ครั้ง อาจทำ 5-8 จุด ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที มักต้องทำซ้ำประมาณ 2 ครั้งจึงจะค่อยๆ เห็นผลชัดเจนขึ้น ระยะห่างของการทำอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์

การรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF เหมาะกับใคร

เหมาะกับผู้มีปัญหานอนกรน หรือ มีภาวะหยุดภายใจขณะหลับที่เกิดจากทางเดินหายใจถูกอุดกั้น (OSA) ชนิดไม่รุนแรง

ข้อดีของการรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

  • เป็นวิธีรักษานอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำให้เจ็บน้อย 
  • ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ ไม่ต้องวางยาสลบ ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงลดลง
  • ไม่ก่อให้เกิดแผลภายนอก
  • ทำซ้ำได้ถ้าจำเป็น
  • จำนวนครั้งในการรักษาน้อยกว่า และระยะเวลารักษาต่อครั้งสั้นกว่าการทำเลเซอร์
  • หลังทำแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ยกเว้นทำบริเวณโคนลิ้น อาจต้องนอนที่โรงพยาบาล 1 คืน

ข้อจำกัดของการรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

  • ผู้ที่มีปัญหานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรงมากๆ วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ผล
  • ไม่ได้เห็นผลลัพธ์ชัดเจนในการทำครั้งเดียว ต้องทำซ้ำประมาณ 2 ครั้ง

ผลข้างเคียงของการรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

โดยทั่วไปแล้วไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงจากการรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF แต่ผู้ป่วยอาจมีเลือดออก ปวด บวมเล็กน้อย หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณเนื้อเยื่อที่ถูกจี้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเป็นอยู่เพียงชั่วคราว และจะค่อยๆ หายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้อาการปวดที่อาจเกิดขึ้น สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล

ราคารักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

ค่าใช้จ่ายในการรักษานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF เริ่มต้นที่ประมาณครั้งละ 15,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับค่าบริการทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาล สามารถเช็กราคาได้ ที่นี่

นอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยจนดูเหมือนเรื่องปกติ แต่จริงๆ ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ถ้าอยากรู้ว่าอาการนอนกรนที่เป็นอยู่รุนแรงขั้นไหน จำเป็นต้องรักษาหรือยัง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเฉพาะทางอย่าง Sleep Test จากนั้นแพทย์จะสรุปผลและแนะนำทางเลือกต่างๆ ที่เหมาะสมกับแต่ละคน

อยากเช็กให้ชัวร์ว่าคุณจะรักษานอนกรนด้วยวิธีทำ RF ได้ไหม? ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจ Sleep Test จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top