ปัญหาการขับถ่าย แน่นท้อง ถ่ายไม่ออก ไปจนถึงท้องผูก เมื่อปล่อยไว้จะส่งผลเสียต่อลำไส้ และอาจนำไปสู่โรคอื่นได้ นอกจากปรับการกิน หรือใช้ยาระบายแล้ว การสวนล้างลำไส้ บางคนอาจเรียก ดีท็อกซ์ลำไส้ หรือดีท็อกซ์ล้างลำไส้ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้
สารบัญ
- การสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ คืออะไร
- การสวนล้างลําไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ ช่วยอะไรได้บ้าง
- การเตรียมตัวก่อนสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
- ขั้นตอนการสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
- การดูแลหลังการสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
- การสวนล้างลําไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ ทำได้ทุกคนไหม
- ข้อห้ามและคนที่ควรสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
- การสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ ทำได้บ่อยแค่ไหน
- การสวนล้างลําไส้ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง
การสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ คืออะไร
การดีท็อกซ์ลำไส้มีอยู่หลายวิธี ดีท็อกซ์ด้วยการกินยาระบาย ดีท็อกซ์ด้วยการกินอาหารไฟเบอร์สูง และดีท็อกซ์ด้วยการสวนล้างที่จะขอพูดถึงในบทความนี้เป็นหลัก
การดีท็อกซ์ลำไส้ (Colon hydrotherapy หรือ Colon detox) ที่ทำกันในทางการแพทย์ เป็นกระบวนการที่ใช้น้ำบริสุทธิ์หรือน้ำเกลือแร่ใส่เข้าไปทางทวารหนัก เพื่อให้น้ำเข้าไปล้างเอาอุจจาระ เศษอาหาร หรือสิ่งที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่ทิ้งออกมา
การสวนล้างลําไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ ช่วยอะไรได้บ้าง
สุขภาพของลำไส้ที่ไม่ดีสามารถกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกาย การสวนล้างลำไส้ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น
- ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้เป็นปกติ การดีท็อกซ์ลำไส้จะล้างเอาอุจจาระที่ตกค้างจนเป็นของเสียในลำไส้ออก ช่วยให้ลำไส้กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายได้ตามปกติ
- ลดอาการท้องผูก ท้องเสีย การดีท็อกซ์ลำไส้จะล้างเอาอุจจาระที่คั่งค้างในลำไส้ออก ช่วยลดอาการท้องผูก ขับถ่ายไม่คล่อง ขณะเดียวกัน ก็ล้างสิ่งปกปรกและแบคทีเรียที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการท้องเสีย และโรคทางเดินอาหารบางโรค เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร
- ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ร่างกายสดชื่น เมื่อร่างกายไม่มีของเสียสะสมในลำไส้ ร่างกายเลยไม่ต้องดูดซึมของเสียเหล่านั้น ช่วยให้สุขภาพผิวหน้าและผิวกายดีขึ้น และการใช้น้ำบริสุทธิ์หรือน้ำเกลือแร่สวนล้าง ยังช่วยให้ร่างกายจะดูดซึมไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ได้
การเตรียมตัวก่อนสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
การสวนล้างลำไส้ไม่ได้มีการเตรียมตัวที่ยุ่งยาก ส่วนใหญ่จะแนะนำให้งดอาหารอย่างน้อย 2–3 ชั่วโมงก่อนเข้ารับบริการ แต่บางที่อาจไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
กรณีมีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน หากมียารับประทานประจำหรือสมุดสุขภาพประจำตัว ควรพกติดตัวมาด้วย เพื่อช่วยให้แพทย์ตรวจสอบเบื้องต้น
ขั้นตอนการสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
การสวนล้างลำไส้ในสถานพยาบาลส่วนใหญ่เป็นระบบปิด ซึ่งมีการควบคุมแรงดันน้ำและอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสมกับร่างกาย โดยระยะเวลาการทำจะอยู่ประมาณ 45–60 นาที แล้วแต่สถานพยาบาล
ขั้นตอนการดีท็อกซ์สวนล้างลำไส้ มีดังนี้
- แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยต่อคนมารับบริการ คนที่มีโรคประจำตัว หรือมีประวัติทางการแพทย์ เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร หรือสารใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
- พยาบาลจะพาผู้เข้ารับบริการไปยังห้องสวนล้างลำไส้ที่เป็นห้องปิดมิดชิด พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ความรู้สึกขณะทำและหลังทำ
- ผู้เข้ารับบริการเปลี่ยนเป็นชุดที่ทางสถานพยาบาลเตรียมไว้ให้ และนอนบนเตียงสำหรับการสวนล้างลำไส้โดยเฉพาะ
- พยาบาลจะสอดหลอดสวนทวารที่เคลือบสารหล่อลื่น ซึ่งเป็นหลอดปลอดเชื้อที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เข้าทางทวารหนักลึกประมาณ 2 นิ้ว
- ปล่อยน้ำบริสุทธิ์หรือน้ำเกลือแร่ประมาณ 20–60 ลิตร เข้าและออกทางทวารหนักเป็นรอบ ๆ จนครบกำหนด อุณหภูมิของน้ำและแรงดันน้ำจะถูกควบคุมให้เหมาะกับร่างกาย และอาจมีการนวดกดบริเวณหน้าท้องเบา ๆ ในระหว่างทำ
- หลังครบกำหนดเวลา อาจมีอาการปวดอุจจาระ เป็นพัก ๆ แต่ไม่ได้เจ็บปวดเกินกว่าการขับถ่ายปกติ พยาบาลจะให้นอนพักต่ออีกพัก เพื่อขับถ่ายส่วนที่เหลือค้างอยู่ในลำไส้ออกให้หมด หรือให้เข้าห้องน้ำ และทำความสะอาดร่างกาย
- เสร็จสิ้นการทำแล้ว ผู้เข้ารับบริการจะได้นั่งพัก อาจมีการให้ดื่มเครื่องดื่มโพรไบโอติกส์ (Probiotics) เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ดีในลำไส้ มีการวัดความดันโลหิต และให้ชั่งน้ำหนักอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบกับก่อนสวนล้างลำไส้
การดูแลหลังการสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
หลังการสวนล้างลำไส้อาจมีอาการอ่อนเพลีย แต่ไม่มาก สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติ เพียงแค่ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือซุปก็จะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่ควรงดออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังทำ
นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 6–8 แก้วต่อวัน งดอาหารย่อยยากหรือหนักท้อง ให้เลือกรับประทานโปรตีนย่อยง่ายแทน เช่น ไข่ เนื้อกุ้งหรือปลา และหมั่นเสริมแบคทีเรียชนิดดีหรือโพรไบโอติกส์เข้าสู่ร่างกาย
เช็กโปร เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจดีท็อกซ์ลำไส้
การสวนล้างลําไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ ทำได้ทุกคนไหม
การสวนล้างลำไส้สามารถทำได้ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป และมักมีปัญหาสุขภาพต่อไปนี้
- ท้องผูก ท้องเสีย ขับถ่ายไม่เป็นเวลา
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
- ผิวพรรณไม่สดใส เป็นสิวเรื้อรัง มีผดผื่น แพ้ง่าย
ข้อห้ามและคนที่ควรสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้
แม้การสวนล้างลำไส้จะมีผลดีต่อร่างกาย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับคนบางกลุ่ม ดังนี้
- สตรีมีครรภ์ หรือคาดว่าตั้งครรภ์
- ผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนเพลียมาก ๆ รับประทานอาหารได้น้อย ติดเตียง เดินไม่ไหว
- คนที่เพิ่งผ่าตัดช่องท้องไม่เกิน 3 เดือน หรือมีการผ่าตัดแบบเปิดลำไส้ให้ขับถ่ายทางหน้าท้อง
- คนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วยังควบคุมไม่ได้
- คนที่เป็นริดสีดวงอักเสบบวมแดง หรือถ่ายเป็นเลือดสด ๆ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคไตทุกระยะ
- ผู้ป่วยไส้เลื่อน หรือมะเร็งลำไส้
- ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาตัวเกี่ยวกับช่องท้องหรือลำไส้
การสวนล้างลำไส้ ดีท็อกซ์ลำไส้ ทำได้บ่อยแค่ไหน
การสวนล้างลำไส้ไม่ควรทำบ่อยหรือถี่เกินไป โดยทั่วไปสามารถทำได้ทุก ๆ 2–3 เดือน หรือตามคำแนะนำแพทย์ โดยจำนวนครั้งหรือความถี่ในการทำจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพของแต่ละคน
เช่น คนที่ท้องผูก ควรทำประมาณ 3 ครั้ง ในช่วง 1–2 สัปดาห์ หรืออาจแนะนำให้ทำต่อเนื่องสักระยะจนระบบขับถ่ายจะดีขึ้นในคนที่ท้องผูกเรื้อรัง ส่วนคนที่ไม่มีปัญหาขับถ่าย อาจเว้นระยะให้ห่างมากขึ้นเป็น 3 ครั้งในช่วง 1 เดือน
นอกจากนี้ ควรปรับอาหารการกิน กินอาหารให้หลากหลาย กินไฟเบอร์ให้เพียงพอ ประมาณ 20–40 กรัมต่อวัน ดื่มน้ำเยอะ ๆ หมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้ลำไส้มีระบบขับถ่ายดียิ่งขึ้น รวมถึงควรหลีกเลี่ยงสารพิษที่มาสะสมในร่างกาย เช่น การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์
การสวนล้างลําไส้ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง
การสวนล้างลำไส้โดยไม่มีความจำเป็น บ่อยเกินไป หรือติดกันเกินไป จะส่งผลเสียต่อลำไส้และร่างกาย โดยเฉพาะการดีท็อกซ์ที่ไม่ได้มีแพทย์หรือพยาบาลดูแล เป็นการซื้ออุปกรณ์สวนล้างมาใช้เอง
โดยอันตรายที่อาจเกิดกับร่างกายได้ เช่น
- เสี่ยงลำไส้ทะลุ การสวนล้างลำไส้จะต้องใช้แรงดันน้ำไล่ขึ้นไปในลำไส้ ถ้ามีแรงดันมากเกินไปจะทำให้ลำไส้โป่งพองจนอาจทะลุได้
- เสี่ยงภาวะลำไส้เฉื่อยหรือการทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ ปกติลำไส้จะมีการบีบตัวให้ขับถ่ายได้เองตามธรรมชาติ การสวนล้างลำไส้บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นอาจทำให้ลำไส้ไม่ได้ทำงาน ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง
การสวนล้างลําไส้หรือดีท็อกซ์ลำไส้ จึงควรระวังเรื่องความปลอดภัยในการทำ ไม่ว่าจะเป็นความสะอาด แรงดันน้ำ ปริมาณน้ำ และควรทำกับผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลจะดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของลำไส้
มีปัญหาขับถ่าย อยากดีท็อกซ์ลำไส้ ให้คุณหมอดูแลดีกว่า ปลอดภัย ทำง่าย ไม่เสี่ยงติดเชื้อ เช็กโปรดีท็อกซ์ลำไส้ ที่ HDmall.co.th จัดมาให้ รับรองคุ้ม!