desloratadine

Desloratadine (เดสลอราทาดีน)

Desloratadine (เดสรอลาทาดีน) หรือที่มีชื่อการค้าว่า เอเรียส (Aerius) อยู่ในกลุ่มยาต้านฮิสตามีน ใช้รักษาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ผื่นคัน

Desloratadine ใช้รักษาโรคอะไร 

  • บรรเทาอาการจาม น้ำมูกไหล และคัดจมูก: ใช้รักษาอาการแพ้ตามฤดูกาล (Seasonal allergic rhinitis) และอาการแพ้เรื้อรัง (Perennial allergic rhinitis)
  • ลดอาการคันและผื่นคันจากลมพิษ (urticaria): ใช้บรรเทาอาการคันและผื่นคันที่เกิดจากลมพิษ รวมถึงลดการอักเสบที่เกี่ยวข้อง

ปริมาณการใช้ยา Desloratadine 

Desloratadine สำหรับรักษาอาการแพ้ต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน

  • ผู้ใหญ่ ขนาดยา 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
  • เด็ก อายุ 6–11 ปี ขนาดยา 2.5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
  • เด็ก อายุ 1–5 ปี ขนาดยา 1.25 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
  • เด็ก อายุ 6–11 เดือน ขนาดยา 1 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้ยา Desloratadine 

  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
  • ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต และโรคตับ
  • ระวังการใช้ในผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร

การใช้ยา Desloratadine ในผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร

การใช้ยาในผู้มีครรภ์ ตัวยา Desloratadine จัดอยู่ในกลุ่ม Category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้มีครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตร

ถ้าลืมกินยา Desloratadine ต้องทำอย่างไร

ถ้าลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้ตามจำนวนปกติ (เช่น ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ก็รับประทานเท่าเดิม ไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เม็ด) 

กรณีที่เพิ่งนึกได้ตอนใกล้รับประทานมื้อใหม่ ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรอรับประทานมื้อถัดไปได้เลย ในจำนวนปกติเช่นกัน ไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

ผลข้างเคียงจากยา Desloratadine 

ยานี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้แก่ 

ประเภทของยา Desloratadine ตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย 

Desloratadine จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา Desloratadine

ก่อนใช้ยา Desloratadine ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาลก่อนเสมอ โดยต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพให้ละเอียด เพื่อลดความเสี่ยง ให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย และได้ผลดีที่สุด

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยาทั้งหมด เช่น ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานไปก่อนหน้านี้ อาหารเสริมที่รับประทาน อย่างวิตามิน หรือสมุนไพร กรณีที่มียาประจำตัวหลายตัว ให้พกยามา แพทย์หรือเภสัชกรจะได้ตรวจสอบให้ก่อนจ่ายยาใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาอันตรายระหว่างยาใหม่และยาที่ใช้อยู่
  • แจ้งอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ประวัติการแพ้ยา อาการแพ้จากการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรืออาหารและอาการที่แพ้ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม หรือยีสต์) เช่น บวม ผื่นขึ้น หายใจลำบาก เวลาที่ไปใช้บริการสุขภาพ ให้นำบัตรแพ้ยาพกติดตัวไป และแสดงบัตรนี้ให้แพทย์หรือเภสัชกรตรวจสอบก่อนเสมอ 
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่ตั้งครรภ์ มีแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์หรือขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อการใช้ยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา เพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง  

Scroll to Top