ฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) เป็นยาในกลุ่มยาต้านโรคจิต ฮาโลเพอริดอลใช้ในการรักษาโรค schizophrenia กลุ่มอาการ Tic in Tourette ภาวะมาเนีย (mania) ในโรคไบโพลาร์ (bipolar) อาการคลื่นไส้ อาเจียน โรคจิตเฉียบพลัน และอาการเห็นภาพหลอนในผู้ป่วยถอนแอลกอฮอล์ ฮาโลเพอริดอลสามารถบริหารผ่านการรับประทาน หรือเป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าหลอดเลือดดำ
ฮาโลเพอริดอลโดยปกติออกฤทธิ์ใน 30 ถึง 60 นาที ยาในรูปแบบออกฤทธิ์นานสามารถใช้เป็นยาฉีดในผู้ป่วย schizophrenia โดยมีฤทธิ์อยู่ได้นานถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มักลืมรับประทานยาบ่อยๆ หรือไม่อยากรับประทานยาผ่านการรับประทาน
ฮาโลเพอริดอลถูกค้นพบในปีค.ศ. 1958 โดย Paul Jenssen โดยฮาโลเพอริดอลสังเคราะห์จากเพธิดีน (pethidine) ฮาโลเพอริดอลเป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก และจัดเป็นยาที่มีการใช้มากที่สุดในกลุ่มยาต้านโรคจิต
สารบัญ
- โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา Haloperidol
- กลไกการออกฤทธิ์ของยา Haloperidol
- ข้อบ่งใช้ของยา Haloperidol
- ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Haloperidol
- ข้อควรระวังของการใช้ยา Haloperidol
- ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Haloperidol
- ข้อมูลการใช้ยา Haloperidol ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
- ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
- ข้อมูลการเก็บรักษายา Haloperidol
- สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา
โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา Haloperidol
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการทางจิตเฉียบพลัน
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและสับสน
- ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคจิต
- ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาเสริมระยะสั้นในการรักษาภาวะวิตกกังวลรุนแรง หรือมีการรบกวนทางพฤติกรรม
- ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการสะอึกแบบรุนแรง
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและ
กลไกการออกฤทธิ์ของยา Haloperidol
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ฮาโลเพอริดอล เป็นยาในกลุ่มยาต้านจิตเภท มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับโดปามีน ชนิดดี 1 และดี 2 ที่บริเวณโพสท์ไซแนปติก (postsynaptic dopamine D1 / D2 receptor) ในสมองส่วนมีโซลิมบิก และลดการปลดปล่อยฮอร์โมนจากสมองส่วนไฮโพทาลามัสและสมองส่วนไฮโพไฟเซียล ทำให้เกิดภาวะสงบ และลดอาการก้าวร้าวโดยไม่ก่อให้เกิดการเห็นภาพหลอน และอาการหลงผิด
ข้อบ่งใช้ของยา Haloperidol
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 0.5 ถึง 2 มิลลิกรัมต่อวัน
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการทางจิตเฉียบพลัน ยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 2 ถึง 10 มิลลิกรัม อาจให้ยาทุกชั่วโมงหรือทุก 4 ถึง 8 ชั่วโมงจนกว่าจะควบคุมอาการได้ ขนาดยาสูงสุด 18 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับการควบคุมอาการฉุกเฉินหรือในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจให้ขนาดยา 18 มิลลิกรัมผ่านหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและสับสน ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 1 ถึง 3 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง
- ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคจิต ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 0.5 ถึง 5 มิลลิกรัม วันละสองถึงสามครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 100 มิลลิกรัมต่อวันในกรณีที่มีความรุนแรงหรือมีการต้านทานต่อยา ระดับยา maintenance ขนาด 3 ถึง 10 มิลลิกรัมต่อวัน
- ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาเสริมระยะสั้นในการรักษาภาวะวิตกกังวลรุนแรง หรือมีการรบกวนทางพฤติกรรม ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 0.5 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง
- ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการสะอึกแบบรุนแรง ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 1.5 มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ปรับขนาดยาตามการตอบสนอง
- ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและสับสน ยาในรูปแบบยาฉีดใต้ผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 5 ถึง 15 มิลลิกรัม ให้ยาแบบ infusion เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Haloperidol
หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน
ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด
ข้อควรระวังของการใช้ยา Haloperidol
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เกิดพิษกดระบบประสาทส่วนกลางระดับรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโคม่า
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยพาร์กินสันส์
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยสตรีมีครรภ์
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคลมชัก
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิด
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจหรือโรคตับระดับรุนแรง
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อเฉียบพลัน
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ระวังการใช้ยานี้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ
- หยุดใช้ยานี้เมื่อมีสัญญาณการเกิดพิษต่อระบบประสาทในผู้ป่วยที่ได้รับยา haloperidol และ lithium
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Haloperidol
ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้จากการใช้ยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการ extrapyridal ภาวะวิตกกังวล ง่วงซึม ซึมเศร้า เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็วชั่วคราว ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า เม็ดเลือดขาวต่ำ ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ปัสสาวะขัด อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มอาการ neuroleptic malignant syndrome
ข้อมูลการใช้ยา Haloperidol ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา
ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาควบคุมพิเศษ จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยา โดยมีการจัดทำบัญชียาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้ง
ข้อมูลการเก็บรักษายา Haloperidol
เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา
แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา
- แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
- แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
- แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
- แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง