review check office syndrome at phyathai hospital phaholyothin by sarucha pakdeechayakul2

รีวิวตรวจออฟฟิศซินโดรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน

อาการยอดฮิตของคนในยุคนี้คงหนีไม่พ้นอาการออฟฟิศซินโดรม เราเองก็เป็นหนึ่งคนที่มีอาการนี้อยู่ค่ะ ปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นมานานแล้วแต่ก็ไม่หายสักที แถมอาการเหล่านี้ยังคอยสร้างความรำคาญใจในการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย

ก่อนหน้านี้เราเคยรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดและใช้เครื่องมือบรรเทาอาการปวดต่างๆ มาแล้ว ซึ่งหลังจากที่รักษาอาการปวดก็ดีขึ้นนะคะ แต่วิธีเหล่านี้ก็ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและกลับมาทำซ้ำบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นก็จะกลับมาปวดอีก

เราเลยคิดว่าถ้าได้ไปตรวจหาสาเหตุของอาการปวดที่แท้จริงและได้รับคำแนะนำในการรักษาจากผู้ชำนาญการก็น่าจะดีกว่านี้ เพราะจะได้รักษาอย่างตรงจุดมากขึ้น เราเลยมองหาโปรแกรมที่ตอบโจทย์กับปัญหานี้ดูค่ะ

ช่วงที่ค้นหาข้อมูล เราก็ได้มาเจอกับการตรวจออฟฟิศซินโดรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน ซึ่งโปรแกรมนี้ก็ตอบโจทย์สำหรับเรามากๆ เพราะได้ตรวจเช็กร่างกายเพื่อปรับสมดุลกล้ามเนื้อและยังได้รักษาอาการออฟฟิศโดรมโดยนักกายภาพบำบัดผู้ชำนาญการอีก

ที่สำคัญคือโรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน ก็เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียง ได้มาตรฐาน และเดินทางสะดวกมากๆ เราเลยไม่ลังเล ตัดสินใจเลือกเข้ามาตรวจออฟฟิศซินโดรมที่นี่ทันทีค่ะ

รีวิวตรวจออฟฟิศซินโดรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน

พอถึงวันนัดหมาย ก็เดินทางมาที่โรงพยาบาลและติดต่อเจ้าหน้าที่หน้าเคาน์เตอร์ลงทะเบียนได้เลยค่ะว่ามาใช้บริการตรวจออฟฟิศซินโดรม

จากนั้นเจ้าหน้าที่จะขอบัตรประชาชนเพื่อนำไปลงทะเบียนทำประวัติคนไข้ใหม่ก่อน หลังจากลงทะเบียนเสร็จแล้วก็ไปที่แผนกกายภาพบำบัดกันเลย

ลงทะเบียนก่อนใช้บริการ

สำหรับการตรวจออฟฟิศซินโดรมในครั้งนี้ เนื่องจากจะมีการตรวจเช็กกล้ามเนื้อที่ต้องออกแรงคล้ายกับการออกกำลังกายด้วย เพราะฉะนั้นก่อนมาตรวจก็ให้นำชุดออกกำลังกายและรองเท้ากีฬามาเปลี่ยนด้วยนะคะ

พอขึ้นมาที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด อันดับแรกเราก็มาพูดคุยกับนักกายภาพบำบัดกันก่อนค่ะ ซึ่งนักกายภาพฯ จะแนะนำเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจให้ฟังว่าเราจะได้ตรวจอะไรบ้าง? 

จากที่นักกายภาพฯ อธิบายให้ฟัง โปรแกรมนี้เราจะได้ตรวจทั้งหมด 3 ขั้นตอนหลักๆ ค่ะ คือ การตรวจ Check-Body, Check-Muscle และ Check-Posture นอกจากนี้ก็จะได้รับการออกแบบท่าออกกำลังกายเฉพาะบุคลด้วย

หลังจากนักกายภาพฯ อธิบายจบแล้ว เราก็ไปเปลี่ยนเป็นชุดออกกำลังกาย แล้วมาเริ่มขั้นตอนการตรวจกันเลย

ขั้นตอนการตรวจ Check-Body

ขั้นตอนแรกจะเป็นการตรวจ Check-Body เป็นการตรวจเช็กรูปร่าง สัดส่วน ปริมาณของกล้ามเนื้อ ไขมัน และน้ำในร่างกาย เพื่อที่นักกายภาพฯ จะได้รู้ว่ารูปร่างของเราเป็นยังไง ควรกินหรือออกกำลังกายแบบไหน

โดยเริ่มแรกเราจะต้องมาตรวจวัดความดันและวัดค่าออกซิเจนกันก่อน จากนั้นก็ไปตรวจเช็กรูปร่างด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และตรวจวัดปริมาณมวลกล้ามเนื้อ

ขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบื้องต้น

ซึ่งขั้นตอนการตรวจเช็กรูปร่างนั้น นักกายภาพฯ จะให้เราขึ้นไปยืนบนเครื่องที่มีลักษณะคล้ายๆ กับเครื่องชั่งน้ำหนัก โดยเราจะต้องวางเท้าให้ตรงกับจุดมาร์คพร้อมกับนำมือทั้งสองข้างจับกับมือจับของเครื่องเอาไว้

หลังจากนั้นเครื่องจะทำการตรวจวัดรูปร่างและมวลร่างกายอัตโนมัติ ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

ตรวจวัดรูปร่างและมวลร่างกาย

ขั้นตอนการตรวจ Check-Muscle

ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการตรวจ Check-Muscle เพื่อดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อค่ะ โดยขั้นตอนนี้เราจะต้องทดสอบกล้ามเนื้อทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ตรวจวัดความแข็งแรงของมือและลำแขน

เริ่มแรกจะเป็นการตรวจวัดความแข็งแรงของมือและลำแขน โดยนักกายภาพฯ จะให้เราบีบเครื่องวัดแรงบีบมือทีละข้าง ซึ่งเราจะต้องออกแรงบีบให้แน่นที่สุด

ตรวจวัดความแข็งแรงของมือและลำแขน

2. ตรวจความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนบน

ต่อมาจะเป็นขั้นตอนการตรวจความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนบนค่ะ สำหรับขั้นตอนนี้นักกายภาพฯ จะให้ยกแขนไพล่หลังไว้และให้ปลายนิ้วของแขนที่ไพล่อยู่ด้านบนแตะกับนิ้วของแขนที่ไพล่อยู่ด้านล่าง

ตรวจความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนบน

หลังจากนั้น นักกายภาพฯ จะนำสายมาวัดดูว่าเรามีความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนบนเท่าไหร่ เสร็จแล้วก็ไปวัดความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนล่างกันต่อเลย

3. ตรวจความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนล่าง

การตรวจความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนล่าง นักกายภาพฯ จะให้เรานั่งเหยียดขาไปข้างหน้า เข่าตรง ไม่งอ จากนั้นก็โน้มตัวเหยียดแขนไปแตะกับเครื่องวัดความยืดหยุ่นให้ได้มากที่สุด ทำทั้งหมด 2 ครั้ง เพียงเท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนแล้วค่ะ

ตรวจความยืดหยุ่นของหลังและลำตัวส่วนล่าง

4. ตรวจวัดความแข็งแรงของหลังและขา

ขั้นตอนถัดมาจะเป็นการตรวจวัดความแข็งแรงของหลังและขาค่ะ โดยนักกายภาพฯ จะให้ขึ้นไปยืนบนเครื่องวัดความแข็งแรงของขา จากนั้นก็ให้ดึงสลักขึ้นมาให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องใช้แรงจากบริเวณหลังและขา ทำทั้งหมด 2 รอบค่ะ

ตรวจวัดความแข็งแรงของหลังและขา

5. ตรวจความทนทานของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจ Check-Muscle นั่นก็คือการตรวจความทนทานของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดค่ะ

โดยขั้นตอนนี้เราจะต้องก้าวขึ้นลงบนกล่องไม้สี่เหลี่ยมตามจังหวะที่นักกายภาพฯ จะสาธิตให้ดู ทำทั้งหมดประมาณ 3 นาทีก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

ตรวจความทนทานของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด

ขั้นตอนการตรวจ Check-Posture

หลังจากตรวจ Check-Muscle เสร็จแล้ว ต่อมาก็จะเป็นการตรวจ Check-Posture ค่ะ โดยขั้นตอนนี้จะตรวจดูโครงสร้างของร่างกายเพื่อดูว่ามีตรงไหนที่ผิดปกติและต้องทำการแก้ไขบ้าง

เริ่มแรกนักกายภาพฯ จะให้ไปยืนหน้าฉากสีขาวๆ พร้อมกับให้ใส่แว่นป้องกันแสงเลเซอร์ จากนั้นก็ทำการฉายแสงเลเซอร์มาที่เราเพื่อตรวจวัดโครงสร้าง และนักกายภาพฯ จะทำการถ่ายรูปเก็บไว้ทั้ง 4 มุม คือ ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างซ้ายกับขวา

ขั้นตอนการตรวจ Check-Posture

ขั้นตอนปรึกษานักกายภาพบำบัด

หลังจากที่ตรวจเช็กครบทุกขั้นตอนแล้ว ต่อมาเราก็มาดูผลการประเมินและปรึกษากับนักกายภาพบำบัดกันค่ะว่าผลประเมินเป็นยังไง? ต้องดูแลตัวเองยังไงบ้าง?

ซึ่งจากผลการประเมินที่ออกมา เรื่องรูปร่างและโครงสร้างร่างกายของเราก็อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติดี ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ แต่เราจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อตึงในบางส่วน ทำให้มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ตรงจุดนี้นักกายภาพฯ เลยจะช่วยออกแบบท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อและทำกายภาพบำบัดให้ต่อไป

ขั้นตอนปรึกษานักกายภาพบำบัด

สำหรับท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อที่นักกายภาพฯ แนะนำมาก็มีทั้งหมด 3 ท่าค่ะ คือท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า และไหล่นั่นเอง ซึ่งทั้ง 3 ท่าก็เป็นท่าง่ายๆ สามารถทำได้เองที่บ้าน แถมนักกายภาพฯ เค้ายังให้เชือกสำหรับออกกำลังกายและมีคลิปวิดีโอให้ดูย้อนหลังด้วยนะคะ

ขั้นตอนออกแบบท่าออกกำลังกาย

บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน

บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน หลังจากที่ได้เข้ามาใช้บริการเราก็รู้สึกประทับใจมากเลยค่ะ เพราะด้านในโรงพยาบาลสะอาด ได้มาตรฐาน มีพื้นที่กว้างขวาง จัดแบ่งโซนเป็นอย่างดี เข้าไปใช้บริการแล้วไม่รู้สึกอึดอัด ไม่น่ากลัวเหมือนกับการมาโรงพยาบาลแบบเมื่อก่อนเลย

บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน

ที่สำคัญคือที่นี่เดินทางสะดวกมาก เราสามารถนั่งรถไฟฟ้า BTS มาลงสถานีสะพานควาย ใช้ทางออก 2 แล้วเดินต่อมาอีก 100 เมตรก็ถึงเลยค่ะ

นอกจากบรรยากาศที่เราประทับใจแล้ว การให้บริการของที่นี่ก็ดีไม่แพ้กัน เจ้าหน้าที่และนักกายภาพบำบัดคอยดูแลเราเป็นอย่างดี พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง ให้ขอมูลและแนะนำละเอียด คิดไม่ผิดจริงๆ ค่ะที่มาใช้บริการที่นี่

สำหรับใครที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมอย่าปล่อยไว้นานนะคะ ไม่อย่างนั้นอาการอาจจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ 

เราแนะนำให้มาตรวจออฟฟิศซินโดรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน เลยค่ะ โรงพยาบาลได้มาตรฐาน เดินทางสะดวก ดูแลโดยนักกายภาพผู้ชำนาญการ

บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน

ยิ่งถ้าเข้าไปจองแพ็กเกจผ่าน HDmall.co.th ก็จะยิ่งคุ่มค่าสุดๆ เพราะในนี้เค้ามีโปรโมชั่นร่วมกับ โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน อยู่ ราคาดี จองง่าย มีแอดมินคอยจัดการให้หมด พลาดไม่ได้เด็ดขาดค่ะ

Scroll to Top