สาวๆ คนไหนที่มีอาการเต้านมบุ๋ม มีน้ำออกจากหัวนม คลำเจอก้อนผิดปกติ ขนาดเต้านมเปลี่ยนไป หรือรู้สึกเจ็บเต้านมแปลกๆ รู้ไว้เลยนะคะว่านี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม ควรรีบมาตรวจคัดกรองกันด่วนๆ !!!
มะเร็งเต้านม ถือว่าเป็นโรคฮิตติดลมบนที่พบได้มากสุดเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงเลยค่ะ แถมยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย
เราเองปีนี้ก็อายุ 36 แล้ว แถมมีประวัติญาติๆ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในส่วนอื่นๆ อีก ทำให้เรากังวลว่ามะเร็งส่วนนั้นจะมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมแล้วจะเกิดความเสี่ยงขึ้นมา เราเลยต้องคอยเข้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี
ซึ่งปีนี้เราก็ไม่พลาดที่จะกลับมาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเหมือนเดิม โดยครั้งนี้เราเลือกตรวจที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 ค่ะ เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง มั่นใจในมาตรฐาน แถมที่นี่ยังมีคุณหมอผู้ชำนาญการเก่งๆ มาคอยให้คำปรึกษาด้วย เราเลยไว้วางใจเลือกเข้ามาใช้บริการที่นี่ทันที
สารบัญ
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม คืออะไร?
การตรวจอัลตราซาวด์ หลายคนอาจจะรู้จักและคุ้นหูกันดีอยู่แล้ว แต่การตรวจแมมโมแกรมอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่
สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม ก็คือการใช้รังสีเอกซเรย์ปริมาณรังสีต่ำมาเอกซเรย์เต้านม โดยจะฉายออกมาเป็นภาพดิจิทัล เพื่อให้เห็นลักษณะความเข้มหรือความทึบที่แตกต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิดในเต้านมค่ะ
ซึ่งข้อดีของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมก็คือ ใช้เวลาตรวจไม่นาน ใช้ปริมาณรังสีต่ำ และสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีอาการ จนถึงระยะที่มีอาการแล้วเลยค่ะ
การเตรียมตัวก่อนใช้บริการ
สำหรับการเตรียมตัวก่อนเข้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็ไม่มีอะไรมากค่ะ เพียงแค่งดเข้ามาตรวจในช่วงที่เป็นประจำเดือน เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรมจะทำให้คัดตึงเต้านมได้นั่นเอง
รีวิวตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์และแมมโมแกรม ที่ รพ. พญาไท 1
เมื่อถึงวันนัดหมายก็เดินทางมาที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้เลยค่ะ เราจะบอกว่าการเดินทางมาที่นี่ง่ายมากๆ ใครที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถนั่ง BTS มาลงสถานีพญาไท ใช้ทางออก 4 หรือนั่ง Airport Link ลงสถานีราชปรารภ ใช้ทางออก 1 แล้วเดินต่อมาอีกประมาณ 400-500 เมตรก็ถึงเลย
พอมาถึงโรงพยาบาลแล้ว เราก็เข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ตรงเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์พร้อมกับลงทะเบียนทำประวัติคนไข้ใหม่ให้เรียบร้อยก่อน
หลังจากลงทะเบียนเสร็จ ก็จะมีพี่พยาบาลพาไปที่แผนกรักษ์เต้านม อาคาร 1 ชั้น 1 และทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นอย่างการวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง จากนั้นก็นำชุดมาให้เปลี่ยนเพื่อตรวจแมมโมแกรมกันเลยค่ะ
ขั้นตอนการตรวจแมมโมแกรม
หลังจากเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว พี่พยาบาลก็จะพาเราเข้ามาที่ห้องตรวจแมมโมแกรม โดยขั้นตอนนี้จะมีนักรังสีเทคนิคเป็นคนดูแลให้ค่ะ
ซึ่งการตรวจแมมโมแกรม นักรังสีเทคนิคจะตรวจเต้านมให้ทีละข้าง โดยเราจะต้องเปิดเสื้อบริเวณหน้าอกเฉพาะข้างที่จะตรวจออก จากนั้นก็วางเต้านมให้พอดีกับตัวเครื่อง ใครที่กลัวว่าจะวางผิดตำแหน่งก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะนักรังสีเทคนิคเค้าจะคอยดูแลและจัดตำแหน่งให้ตลอด
หลังจากวางเต้านมตรงตามตำแหน่งแล้ว เครื่องก็จะทำการล็อกเต้านมเอาไว้ จากนั้นนักรังสีเทคนิคก็จะกดปุ่มให้เครื่องเริ่มทำการตรวจและถ่ายภาพฟิล์มเอกซเรย์เพื่อให้คุณหมออ่านผลต่อไปค่ะ
การถ่ายภาพฟิล์มเอกซเรย์ นักรังสีเทคนิคจะถ่ายข้างละ 2 ครั้งนะคะ คือภาพแนวตั้งและแนวนอน ใช้เวลาตรวจประมาณ 10 นาทีก็เสร็จแล้วค่ะ
ส่วนความรู้สึกระหว่างทำบอกเลยว่าชิลมาก ไม่รู้สึกเจ็บเลยสักนิด ใครที่กลัวว่ามาตรวจแล้วจะเจ็บก็ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ
ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์
ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม สำหรับขั้นตอนนี้ก็จะมีรังสีแพทย์มาเป็นคนตรวจให้ค่ะ
โดยขั้นตอนการตรวจก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก คุณหมอจะให้เราขึ้นไปนอนบนเตียงพร้อมกับเปิดเสื้อบริเวณหน้าอกออก จากนั้นก็ทาเจลทั่วๆ บริเวณเต้านม แล้วเริ่มนำเครื่องอัลตราซาวด์มาตรวจดูเลย
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 15 นาทีก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ หลังจากนั้นก็ไปเปลี่ยนชุดและรอฟังผลตรวจกับคุณหมอได้เลย
ผลตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
หลังจากรอผลตรวจไม่นาน เราก็ได้เข้ามาฟังผลตรวจกับคุณหมอแล้วค่ะ ซึ่งผลตรวจที่ออกมาโดยรวมก็ปกติดี ไม่มีปัญหาอะไร และยังไม่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยค่ะ
แต่คุณหมอก็ยังแนะนำให้มาตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้งอยู่นะคะ รวมถึงแนะนำให้เราคอยคลำเต้านม ตรวจเช็กความผิดปกติของเต้านมอย่างสม่ำเสมอด้วย
หลังจากฟังผลตรวจแล้ว เราก็ได้มีการปรึกษาพูดคุยกับคุณหมอเพิ่มเติมและเอาความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมาฝากเพื่อนๆ ด้วยค่ะ
ใครบ้างที่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
คุณหมอบอกว่าคนที่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมากที่สุด คือ ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปค่ะ เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูง ควรตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี
แต่สำหรับใครที่พบว่าตัวเองมีญาติหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมรวมถึงเป็นมะเร็งในส่วนอื่นๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็แนะนำให้เริ่มตรวจได้ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปก็ได้นะคะ
มะเร็งในจุดอื่นสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมมั้ย?
ในมะเร็งเต้านมจะมีพันธุกรรมบางชนิดที่ค้นพบได้บ่อย อย่างยีน BRCA ซึ่งเป็นยีนที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
ทำให้ถ้าหากพบว่าคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องมีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ เราก็จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ รวมถึงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกัน
ถ้าตรวจเจอก้อนที่เต้านมต้องทำอย่างไร?
คุณหมอบอกว่าถ้าตรวจเจอก้อนที่เต้านม อย่างแรกก็จะต้องดูลักษณะของก้อนเนื้อก่อนค่ะว่าเป็นยังไง มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ถ้าก้อนเนื้อนั้นมีลักษณะผิดปกติ มีการแตกลุกลามออกด้านข้าง ถึงแม้จะเป็นก้อนเล็กๆ แต่คุณหมอก็จะทำการเจาะตรวจมะเร็งไว้ก่อนค่ะ
แต่ถ้าเป็นก้อนเนื้องอกธรรมดา มีความเสี่ยงต่ำ คุณหมอก็จะตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุกๆ 6 เดือน แล้วมาดูกันอีกทีว่าก้อนเนื้องอกนี้มีขนาดที่โตขึ้นมั้ย ถ้าโตขึ้นก็ต้องเจาะตรวจมะเร็งเต้านมกันต่อไปค่ะ
บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท 1
บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท 1 ด้านในก็มีขนาดกว้างขวาง ใหญ่โต แบ่งโซนและแผนกเป็นอย่างดี มีพื้นที่นั่งรับรองเพียงพอต่อผู้มาใช้บริการ ตกแต่งหรูหราสวยงาม ทำให้เข้าไปใช้บริการแล้วไม่รู้สึกอึดอัดเลยค่ะ
ในด้านของการให้บริการ เจ้าหน้าที่ พี่พยาบาล และคุณหมอทุกคนก็น่ารักมากๆ ดูแลดี พูดจาดี เป็นกันเอง คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำอยู่ตลอด โดยรวมแล้วรู้สึกประทับใจมากๆ คิดถูกแล้วค่ะที่เลือกเข้ามาใช้บริการที่นี่
สาวๆ คนไหนที่กังวลเรื่องมะเร็งเต้านมหรือคลำเต้านมแล้วพบความผิดปกติ เราแนะนำให้มาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์และแมมโมแกรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 เลยค่ะ คุณหมอเก่ง บุคลากรและโรงพยาบาลมีคุณภาพ รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน
แต่ถ้าจะให้คุ้มค่าสุดๆ ก็ต้องเข้าไปจองแพ็กเกจผ่าน HDmall.co.th ด้วยนะคะ เพราะในนี้เค้ามีโปรโมชั่นราคาพิเศษของ โรงพยาบาลพญาไท 1 รวบรวมไว้อยู่เพียบ ลองเข้าไปเลือกดูได้เลยค่ะ