potassium

Potassium (โพแทสเซียม)

โพแทสเซียม (Potassium) คือ แร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายมากมาย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมมีทั้งผลไม้ (โดยเฉพาะผลไม้อบแห้ง), ธัญญาหาร, ถั่ว, นม, และผักต่าง ๆ

สรรพคุณของ Potassium (โพแทสเซียม)

  • ควบคุมความดันโลหิต: ช่วยปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตสูงและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
  • ช่วยการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ: มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณประสาท ช่วยในการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ
  • บำรุงสุขภาพหัวใจ: โพแทสเซียมช่วยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ส่งเสริมการเผาผลาญ สมดุลกรดและเบส: โพแทสเซียมมีส่วนร่วมในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารและการผลิตพลังงาน ช่วยรักษาสมดุลของกรดและเบสในร่างกาย
  • ป้องกันการเกิดนิ่วในไต: การบริโภคโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไต

โพแทสเซียมออกฤทธิ์อย่างไร?

โพแทสเซียมมีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง รวมไปถึงกระบวนการส่งสัญญาณประสาท, การบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อ, ปรับสมดุลของเหลวร่างกาย, และอยู่ในปฏิกิริยาทางเคมีมากมาย

การใช้และประสิทธิภาพของโพแทสเซียม

ภาวะที่ใช้โพแทสเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ การรับประทานหรือให้โพแทสเซียมเข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) สามารถป้องกันและรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำได้

ภาวะที่อาจใช้โพแทสเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคหลอดเลือดสมอง การบริโภคโพแทสเซียมจากอาหารที่สูงนั้นเชื่อมโยงกับการลดลงของความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 20% การทานอาหารเสริมโพแทสเซียมเองก็อาจมีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อโรคนี้เช่นกัน กระนั้นยังคงต้องการงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงมาพิสูจน์สรรพคุณของโพแทสเซียมเช่นนี้อยู่

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้โพแทสเซียมรักษาได้หรือไม่

  • ปวดฟัน งานวิจัยบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาสีฟันที่ประกอบด้วย potassium nitrite สามารถลดอาการเสียวฟันได้ อย่างไรก็ตามยาสีฟันเหล่านี้อาจมีประสิทธิภาพโดยรวมด้อยกว่ายาสีฟันทั่วไป
  • สิว
  • ภาวะติดแอลกอฮอล์
  • ภูมิแพ้
  • โรคอัลไซเมอร์
  • ข้ออักเสบ
  • ท้องอืด
  • การมองเห็นไม่ชัดเจน
  • มะเร็ง
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • สับสน
  • ท้องผูก
  • เหนื่อยล้าและอารมณ์เหวี่ยงระหว่างช่วงหมดประจำเดือนหมาด 
  • ไข้
  • เก๊าท์
  • ปวดศีรษะ
  • หัวใจวาย
  • โคลิกในเด็กทารก
  • ดื้อยาอินซูลิน
  • ฉุนเฉียว
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
  • กลุ่มอาการหมดประจำเดือน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  • ปัญหาผิวหนัง
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Myasthenia gravis
  • ความเครียด
  • นอนไม่หลับ
  • ภาวะสุขภาพอื่น 

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโพแทสเซียมเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโพแทสเซียม

  • โพแทสเซียมถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัย สำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่สูงถึง 100 mEq หรือเมื่อฉีดเข้าเส้นเลือด โดยการกำกับดูแลจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ บางคนอาจมีปฏิกิริยาจากโพแทสเซียมอย่างปวดท้อง, คลื่นไส้, ท้องร่วง, อาเจียน, หรือแก๊สในลำไส้
  • การบริโภคโพแทสเซียมมากเกินจะถูกจัดว่าไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนหรือยุกยิก, อ่อนแรง, อัมพาต, สับสน, ความดันโลหิตต่ำ, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมด้วยตัวเองเพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  • แพ้ยา  aspirin หรือ tartrazineควรเลี่ยงการทานอาหารเสริมโพแทสเซียมที่มีส่วนประกอบเป็น tartrazine
  • ฟอกเลือด: ระดับโพแทสเซียมในเลือดของผู้ที่เข้ารับการฟอกเลือดอาจจะสูงหรือต่ำได้ โดยระดับที่ผันแปรนี้อาจจะขึ้นอยู่กับประเภทของกระบวนการฟอกเลือดที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา หากคุณกำลังต้องเข้าฟอกเลือด คุณอาจต้องได้รับอาหารเสริมหรือจำกัดปริมาณโพแทสเซียมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  • ภาวะผิดปรกติของระบบย่อยอาหารที่อาจเปลี่ยนแปลงความเร็วของการเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ของอาหารหรืออาหารเสริม: หากคุณมีภาวะที่ทำให้ร่างกายมีความผิดปรกติประเภทนี้ ไม่ควรใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมเพราะอาจทำให้มีโพแทสเซียมกักเก็บในร่างกายมาเกินไปจนอาจเป็นอันตรายได้
  • โรคไตหากคุณเป็นโรคไตควรใช้โพแทสเซียมตามคำแนะนำหรือการดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • ปลูกถ่ายไตมีรายงานสองชิ้นที่กล่าวว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไตมีระดับโพแทสเซียมที่สูงมากหลังได้รับ potassium citrate ดังนั้นหากคุณเข้ารับการปลูกถ่ายไตมาควรใช้โพแทสเซียมตามคำแนะนำหรือการดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง” อย่าง multiple sclerosisโรคพุ่มพวง (SLE), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือภาวะที่เกี่ยวข้องอื่น  : อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณทำงานมากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณประสบกับอาการจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมากขึ้น หากคุณป่วยเป็นโรคในกลุ่มนี้ควรเลี่ยงการใช้อึ่งคี้จะดีที่สุด

ใช้โพแทสเซียมร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง: ยาสำหรับความดันโลหิตสูงบางตัวอาจเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนั้นการทานโพแทสเซียมร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายมีโพแทสเซียมมากเกินไป
  • ยาขับน้ำ: ยาขับน้ำบางชนิดสามารถเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนั้นการทานยาขับน้ำร่วมกับโพแทสเซียมอาจทำให้ร่างกายมีโพแทสเซียมมากเกินไป

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน

  • ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (adequate intake (AI)) ของโพแทสเซียม คือ 4.7 กรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่, 4.7 กรัมสำหรับสตรีมีครรภ์, และ 5.1 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงที่ให้นมบุตร
  • สำหรับภาวะโพแทสเซียมต่ำ (hypokalemia): สำหรับป้องกันภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำคือ 20 mEq (ธาตุโพแทสเซียมประมาณ 780 mg) มักถูกนำไปรับประทานทุกวัน สำหรับรักษาภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำคือ 40-100 mEq (ธาตุโพแทสเซียมประมาณ 1560-3900 mg) โดยแบ่งเป็น 2-5 โดสต่อวัน
  • สำหรับความดันโลหิตสูง (hypertension): สำหรับรักษาความดันโลหิตสูง 3500-5000 mg ต่อวัน โดยควรได้รับจากอาหารจะดีที่สุด
  • สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง: สำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ปริมาณสารอาหารที่แนะนำคือประมาณ 75 mEq (ธาตุโพแทสเซียมประมาณ 3.5 กรัม) ทุกวัน

ฉีดเข้าเส้นเลือด

  • สำหรับภาวะโพแทสเซียมต่ำ (hypokalemia): ปริมาณและอัตราการให้ potassium chloride ทางเส้นเลือดสำหรับป้องกันหรือรักษาภาวะโพแทสเซียมต่ำจะแตกต่างและขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย การจัดฉีดยาทุกครั้งต้องถูกตรวจสอบและกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตลอดเวลา

เด็ก

  • ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (adequate intake (AI))
    • สำหรับทารกอายุ 6 เดือนลงไป คือ 0.4 กรัมต่อวัน
    • สำหรับทารกอายุ 6-12 เดือน คือ 0.7 กรัมต่อวัน
    • สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี คือ 3 กรัม
    • สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี คือ 3.8 กรัม
    • สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี คือ 4.5 กรัม

Scroll to Top