คลอดก่อนกำหนด มีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง เสี่ยงอันตรายแค่ไหน


คลอดก่อนกำหนด มีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง เสี่ยงอันตรายแค่ไหน

ปัจจุบันทางการแพทย์ได้ทดสอบและได้ยอมรับแล้วว่า เด็กทารกในครรภ์นั้นมีความสามารถในการรับรู้สิ่งรอบๆ ตัวของเขาได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ เนื่องจากสมองของทารกเริ่มก่อตัวตั้งแต่ 2 สัปดาห์ในครรภ์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด โดยระดับการรับรู้นั้นจะค่อยๆ พัฒนาตามอายุครรภ์ด้วย โดยการรับรู้หลักที่เด็กทารกสามารถรับรู้ได้คือแสงสว่าง เสียง กลิ่นและการรับรส การเคลื่อนไหวและการสัมผัสต่างๆ

การรับรู้แสงสว่าง

เมื่อเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุ 29 สัปดาห์ ทารกจะสามารถลืมตาและมองเห็นผนังมดลูกที่โอบอุ้มตัวเองไว้ ต่อมาเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเรื่อยๆ ผนังมดลูกจะบางลงเรื่อยๆ แสงสว่างจากภายนอกจะสามารถผ่านเข้าสู่ภายในมดลูกได้ ทำให้เด็กทารกรู้จักความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน คุณแม่สามารถส่องไฟฉายจากซ้ายไปขวา หรือเปิดปิดเป็นจังหวะเพื่อเล่นกับลูกได้ แสงที่ส่องสว่างเข้ามาจะกระตุ้นการรับรู้และพัฒนาการของเด็ก ซึ่งข้อมูลนี้เกิดจากการทดสอบทางการแพทย์ ด้วยการลองฉายแสงส่องลงไปบริเวณมดลูก จากนั้นก็ใช้อัลตราซาวน์ทดสอบดูปฏิกิริยาของเด็กทารกในครรภ์ ปรากฏว่าเมื่อฉายแสงลงไปเด็กทารกจะยกมือขึ้นปิดหน้าผากในลักษณะบังแสง และระดับการเต้นของหัวใจเด็กทารกก็จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ

การรับรู้ด้านเสียง

เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุ 16 สัปดาห์ ทารกเริ่มจะได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งเสียงหัวใจเต้นของแม่ เสียงการไหลเวียนของกระแสเลือด หรือแม้กระทั่งเสียงดังจากภายนอกมดลูก เช่น เสียงพูดคุยของพ่อแม่ เสียงจากดนตรี หรือเสียงดังๆ จากหนังที่แม่ดูด้วย เคยมีตัวอย่างที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่และไปดูหนังที่ต้องมีฉากที่มีเสียงดัง หรือเสียงกรีดร้องลั่น เด็กทารกในครรภ์จะดิ้น เพราะเด็กทารกในครรภ์ได้ตอบสนองถึงเสียงที่ได้ยินนั้นเอง รวมไปถึงเสียงพูดของพ่อแม่ด้วย มีการทดสอบและยืนยันผลแล้วจากนักวิทยศาสตร์ว่า หากพ่อแม่ได้พูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว เด็กทารกจะสามารถจดจำเสียงพ่อและแม่ได้ทันทีและสามารถตอบรับด้วยการพยายามหันไปทางต้นเสียงของพ่อแม่ ซึ่งเด็กทารกจะมีปฏิกิริยาและแยกแยะเสียงของพ่อแม่จากเสียงของคนอื่นได้ทันทีหลังจากคลอดออกมาและจะสามารถจดจำพ่อแม่ได้ภายใน 4 วันหลังจากคลอดออกมาแล้วแม้ว่าสายตาจะมองเห็นในระยะเพียงแค่ 1 ฟุตเท่านั้น

นอกจากนั้นหากในช่วงที่ตั้งครรภ์ หากคุณแม่ได้เปิดเพลงที่มีบรรยากาศแบบอบอุ่น รู้สึกอารมณ์เย็น อย่างเพลงคลาสิกพร้อมกับการพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเด็กคลอดออกมาและร้องไห้โย้เย การเปิดเพลงเดิมที่เคยเปิดให้ลูกฟังกลับมีผลให้เด็กมีอารมณ์สงบลงได้อย่างน่าประหลาดใจ ทั้งนี้เป็นเพราะเด็กทารกสามารถจดจำเสียงเพลงที่เคยได้ยินสมัยที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งภาวะนั้นเด็กจะรู้สึกปลอดภัยและสงบนั่นเอง

การรับรู้กลิ่นและการรับรส

เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุ 15 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มสร้างอวัยวะที่ใช้ในการรับรส และเมื่อครรภ์มีอายุ 24 สัปดาห์จะเริ่มสร้างเซลล์ที่ใช้ในการรับกลิ่น จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าทารกแรกเกิดมักจะชอบกลิ่นอาหาร เช่น กลิ่นกระเทียม ผักชี แครอท มากกว่ากลิ่นของอาหารอื่นๆ เนื่องจากเป็นกลิ่นของอาหารที่คุณแม่รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ทารกเกิดความคุ้นชินกลิ่นของอาหารตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การรับรู้ด้านการสัมผัสและการเคลื่อนไหว

ในสัปดาห์ที่ 6 ทารกในครรภ์จะเริ่มมีสัญชาติญาณ และการเคลื่อนไหวเพื่อการโต้ตอบ เนื่องจากว่าเด็กที่ทารกเมื่อตอนอยู่ในครรภ์นั้นจะลอยไปลอยมา ยิ่งคุณแม่เคลื่อนไหว ร่างกายของเด็กทารกในครรภ์ก็จะขยับเคลื่อนไหวไปด้วย การเคลื่อนไหวในลักษณะที่ลอยไปลอยมา เด็กทารกจะสัมผัสกับผิวด้านในของมดลูกตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกของทารกรวมทั้งพัฒนาการเติบโตของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นเด็กทารกยังรู้จักการปรับตัวและรู้จักการรักษาความสมดุลย์ของร่างกายด้วย

จะเห็นได้ว่าเด็กทารกในครรภ์มีความสามารถในการรับรู้และจดจำความรู้สึกต่างๆ จากสภาพแวดล้อมได้ พ่อแม่จึงควรระมัดระวังให้มากกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อเด็กทารกในครรภ์ได้ หากเรารู้จักนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กทารกในครรภ์ก็จะทำให้เกิดผลดีกับตัวของลูกเองด้วยเช่นกันค่ะ

เปรียบเทียบราคา แพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • ชาญชัย วันทนาศิริ , ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา. นรีเวช ทันยุค OB-GYN in Practice 2007: ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกาหนด.พิมพ์ครั้งที 1. กรุงเทพมหานคร.บริษัท: พี.เอ.ลีฟวิ ง, 2550: 471-487
  • Clinical Practice Guideline Management of Preterm Labour 201 0, ภาควิชาสูตินรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Practice Bulletin No. 159: Management of Preterm Labor. Obstetrics and gynecology. 2016;127(1):e29-38.
@‌hdcoth line chat