
HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การฝากครรภ์ ควรทำ “ทันที” ที่รู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 2 เดือน
- การฝากครรภ์จะช่วยให้ว่าที่คุณแม่และทารกในครรภ์ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้ชำนาญการ
- ในการฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ คัดกรองการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และวางแผนดูแลอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการให้วัคซีนบาดทะยัก หรือให้ยาบำรุงครรภ์
- ควรฝากครรภ์ครั้งแรกในช่วงที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดตรวจครั้งต่อไป โดยแต่ละครั้งจะมีะระยะห่างประมาณ 6-8 สัปดาห์
- เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ หรือแอดไลน์ @hdcoth
การตั้งครรภ์โดยทั่วไป จะใช้ระยะเวลาประมาณ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยจำนวนวันอาจแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละคน ซึ่งในระหว่างนั้นร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน
“การฝากครรภ์” จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ว่าที่คุณแม่และทารกในครรภ์ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้ชำนาญอย่างเป็นระบบ
เริ่มตั้งแต่การคัดกรองความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ ป้องกันและดูแลการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดา หรือทารกในครรภ์ รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลตนเองขณะการตั้งครรภ์ และการเตรียมตัวเป็นบิดามารดาอย่างเหมาะสม

ควรเริ่มฝากครรภ์ตอนไหน ช้าสุดกี่สัปดาห์ หรือกี่เดือน?
การฝากครรภ์ ควรทำ “ทันที” ที่รู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 2 เดือน หรือรอจนท้องมีขนาดใหญ่ เพราะยิ่งฝากครรภ์ได้เร็วเท่าไร ว่าที่คุณแม่และเด็กทารกในครรภ์ก็จะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากแพทย์ได้เร็วขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการตั้งครรภ์อีกด้วย เพราะในการฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะทำการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ และคัดกรองการตั้งครรภ์เสี่ยง
ส่วนคำถามฝากครรภ์ได้ช้าที่สุดกี่สัปดาห์ หรือกี่เดือนนั้น คำตอบคือ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกในช่วงที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดตรวจครั้งต่อไป โดยแต่ละครั้งจะมีระยะห่างประมาณ 6-8 สัปดาห์
เพื่อลูกน้อยแข็งแรง คุณแม่ปลอดภัย ฝากครรภ์กับโรงพยาบาลชั้นนำใกล้บ้าน สั่งจองแพ็กเกจราคาพิเศษผ่าน HDmall.co.th ได้แล้ววันนี้ กดเปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @hdcoth แอดได้เลยไม่ต้องรอ!
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ทำความรู้จักกับการฝากครรภ์ เรื่องสำคัญของคุณแม่ทุกคน
- รู้จักกับแนวทางการฝากครรภ์คุณภาพ ต้องไปพบแพทย์กี่ครั้ง ระยะห่างแต่ละครั้งนานเท่าไร และแต่ละครั้งต้องตรวจ หรือทำอะไรบ้าง
- รวมคำถามที่คุณหมอมักถามในขั้นตอนซักประวัติของการฝากครรภ์ครั้งแรก
- เอกสารที่ใช้ในการฝากครรภ์ทั่วไป และเอกสารที่ใช้ในการเบิกค่าฝากครรภ์ของสิทธิประกันสังคม
- รู้จักกับอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งอาการทั่วไป และอาการที่เป็นอันตราย
- ตอบ 3 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์ ได้แก่ ไปฝากครรภ์คนเดียวได้ไหม สามารถฝากครรภ์ 2 ที่ได้หรือไม่ และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลอื่นได้หรือไม่
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- กระทรวงสาธารณสุข, การฝากครรภ์คุณภาพ และการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ (http://164.115.22.73/r9health/wp-content/uploads/2020/07/4-การฝากครรภ์คุณภาพและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์.pdf), 31 มีนาคม 2564.
- เครือข่ายสุขภาพบึงกาฬ, คู่มือการปฏิบัติงานบริการงานฝากครรภ์ (http://buengkanphc.com/wp-content/uploads/2015/06/คู่มือมาตรฐานการฝากครรภ์.pdf), 31 มีนาคม 2564.
- นพ. ฉันท์หทัย นันท์ชัย, วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ในหญิงตั้งครรภ์ (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1436:2018-07-25-09-47-20&catid=45&Itemid=561), 31 มีนาคม 2564.
- โรงพยาบาลป่าพะยอม, ฟื้นฟูเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์ (http://www.paphayomhospital.go.th/KM/ANC%20presentation.pdf), 31 มีนาคม 2564.
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, การฝากครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ (https://hpc11.go.th/information/7.1/3.9/43.pdf), 31 มีนาคม 2564.