ครอบแก้วคืออะไร? รักษาอะไรได้บ้าง?

การครอบแก้วเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาของแพทย์แผนจีนที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อมากเท่ากับการฝังเข็ม แต่รู้ไหมว่า ประโยชน์ของครอบแก้วมีมากมาย ไม่ว่าจะช่วยรักษาโรค แก้อาการผิดปกติต่างๆ แม้แต่ในเรื่องความงาม การบำรุงผิวพรรณ การรักษาสิว ลดความอ้วน การครอบแก้วก็สามารถให้ผลได้เช่นกัน

รู้จักการครอบแก้ว

การครอบแก้ว (Cupping Therpy) เป็นศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี เช่นเดียวกับการฝังเข็ม เพียงแต่หลักการทำงานของครอบแก้วคือ การใช้ความร้อนเพื่อทำให้ภายในกระปุกแก้วเกิดภาวะสุญญากาศ แล้วจึงครอบแก้วที่มีความร้อนนั้นลงไปบนผิวหนังส่วนที่ต้องการ หรือวางตามแนวเส้นลมปราณตามหลักแพทย์แผนจีน

แรงดูดจากสุญญากาศนอกจากจะดูดผิวหนังส่วนนั้นๆ สูงขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการไหลเวียนโลหิตของผิวหนังบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก และหลอดเลือดฝอยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

เดิมทีชาวจีนใช้ “เขาสัตว์” หรือ “กระบอกไม้ไผ่แก่” หรือ “กระปุกดินเหนียว กระปุกเซรามิก” ที่มีความกลวงเป็นอุปกรณ์หลักในการครอบ ก่อนจะมีประดิษฐ์แก้วขึ้นมาใช้ได้สำเร็จ และเริ่มนิยมใช้กระปุกแก้วในการครอบรักษามากขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน

การครอบแก้วมีกี่ประเภท?

โดยปกติผู้บริการจะวางแก้วไว้เป็นเวลาหลายนาที อาจมีการเคลื่อนถ้วยไปมาและใช้การนวดประกอบด้วย ขั้นตอนส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน มีจุดที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ทำให้การครอบแก้วแบ่งได้หลักๆ 2 ประเภท ดังนี้

  1. การครอบแก้วแบบแห้ง ผู้ให้บริการจะทำให้ภายในแก้วเกิดความร้อน ส่วนใหญ่จะใช้ก้อนสำลีชุ่มแอลกอฮอล์และจุดไฟ ความร้อนจะทำให้ออกซิเจนออกจากถ้วยจนถ้วยเกิดแรงดูด หรือบางสถานที่ให้บริการจะใช้แก้วครอบลงไปบนผิวหนังก่อน จากนั้นใช้อุปกรณ์ดูดอากาศจากภายในทีหลัง
  2. การครอบแก้วแบบเปียก ผู้ให้บริการจะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะบริเวณผิวก่อนครอบแก้ว หรือบางครั้งก็อาจเจาะหลังจากครอบแก้ว เพื่อให้พิษระบายออกจากร่างกายผ่านรูขนาดเล็กที่เจาะ

วัสดุที่ใช้ในการครอบแก้วมีอะไรบ้าง?

แก้วที่ใช้ในการครอบแก้ว สามารถใช้ได้หลายวัสดุขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ให้บริการ ดังนี้

  • แก้ว
  • ถ้วยพลาสติก
  • เซรามิก
  • ไม้ไผ่
  • เหล็ก
  • ซิลิโคน

อย่างไรก็ตาม การครอบแก้วที่พบเห็นได้บ่อยมักเป็นวัสดุแก้วเป็นหลัก

ครอบแก้วตำแหน่งไหนได้บ้าง

ครอบแก้วสามารถทำได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีอาการผิดปกติ และสามารถวางครอบแก้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร ได้ เช่น หน้าอก หน้าท้อง แผ่นหลัง ท่อนแขน ท่อนขา

ขั้นตอนการครอบแก้ว

  • แพทย์จะใช้ศาสตร์แพทย์แผนจีนตรวจ หรือวินิจฉัยอาการเพื่อหาสาเหตุ
  • ใช้สำลีมาชุบแอลกอฮอล์แล้วจุดไฟใส่เข้าในถ้วยแก้วที่เตรียมไว้เพื่อให้ถ้วยแก้วเกิดระบบสุญญากาศ แล้วนำถ้วยแก้วที่มีความร้อนไปวางคว่ำยังตำแหน่งต่างๆ ที่มีอาการผิดปกติ (บางแห่งอาจมีการใช้น้ำมันสมุนไพรทาผิวก่อนเริ่มการครอบแก้วเพื่อให้เคลื่อนแก้วได้ง่ายขึ้น)
  • แรงดูดสุญญากาศภายในครอบแก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อของผู้บำบัดขึ้นจนผิวหนังบริเวรนั้นเริ่มเปลี่ยนสีไปจากเดิม
  • การครอบแก้วแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที แล้วจึงนำครอบแก้วออก
  • บางกรณีจะมีการกรีดผิวหนังเป็นรอยเล็กๆ เพื่อระบายเลือดออก ซึ่งเรียกว่า “ครอบแก้วแบบเปียก” จากนั้นแพทย์จะทายาและปิดผ้าพันแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค ซึ่งขั้นตอยการครอบแก้วแบบเปียกจะใช้เวลาเพียง 2-3 นาที เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าการครอบแก้วแบบปกติ ซึ่งเรียกว่า “ครอบแก้วแบบแห้ง” มาก

ครอบแก้วรักษาอะไรได้บ้าง?

หลังครอบแก้วที่มีความร้อนลงบนผิวหนังส่วนที่ต้องการ หรือวางตามแนวเส้นลมปราณตามหลักแพทย์แผนจีน แรงดูดจากสุญญากาศนอกจากจะดูดผิวหนังส่วนนั้นๆ สูงขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และยังทำให้เกิดการไหลเวียนโลหิตของผิวหนังบริเวณนั้นอย่างมาก หลอดเลือดฝอยเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจึงได้รับออกซิเจนจากเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้นไปด้วย

เมื่อเลือดหมุนเวียนได้ดี ออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น จึงสามารถช่วยยืดกล้ามเนื้อและพังผืดที่ระดับผิวเป็นการลดความเจ็บปวดของโรคในกลุ่มเกี่ยวกับกล้ามเนื้อได้ อาการปวดเมื่อยต่างๆ กลไกนี้ยังทำให้ร่างกายสามารถขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะและอุจจาระได้

โรคและอาการผิดปกติที่แพทย์แผนจีน เชื่อว่า ครอบแก้วสามารถบำบัด รักษาได้ ได้แก่

ใครไม่ควรครอบแก้ว

ผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้ ควรหลีกเลี่ยงการครอบแก้วหรือปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนใช้บริการครอบแก้ว

  • ผู้ที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบเลือด เช่น Hemophilia
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของลิ่มเลือด หรือมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น กลาก สะเก็ดเงิน
  • ผู้ที่มีอาการชัก หรือลมบ้าหมู

ผลข้างเคียงจากการครอบแก้ว มีอะไรบ้าง?

  • ระหว่างครอบแก้วและเมื่อครอบเสร็จอาจเกิดอาการเจ็บปวดตำแหน่งที่ครอบแก้ว
  • ระหว่างครอบแก้วอาจรู้สึกวิงเวียนศีรษะ เหงื่ออกมากคล้ายจะเป็นลม
  • ผิวบริเวณที่ครอบแก้วจะเกิดแผลไหม้ หรือรอยจ้ำสีม่วงๆ ขึ้น หรือรอยฟกช้ำ ในบางรายอาจมีเลือดออกได้
  • รู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่ครอบแก้ว
  • มีโอกาสติดเชื้อบริเวณที่ครอบแก้วได้ หากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาด

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถบำบัดอาการเจ็บป่วยด้วยการครอบแก้วได้ เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ เด็ก ผู้ที่มีผิวหนังเป็นแผลเปิด กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ไม่ควรเข้ารับการครอบแก้วอย่างเด็ดขาด

ดังนั้นจึงควรศึกษาวิธีการครอบแก้วให้ดีก่อนเข้ารับการบำบัด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

วงการแพทย์ในปัจจุบันยังมีความพยายามศึกษาถึงประโยชน์ของครอบแก้วในการบำบัดโรคและอาการเหล่านี้ แต่ยังไม่ปรากฎงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดถึงผลลัพธ์ของการครอบแก้ว

Scroll to Top