ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต เพื่อช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด และยังมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ต่อสู้กับอาการอักเสบ กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด และช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย
สารบัญ
หน้าที่ของ Cortisol
- ต่อสู้กับอาการอักเสบภายในร่างกาย
- กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด
- ช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย
ค่าปกติของ Cortisol
ระดับค่าปกติฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่งอยู่ประมาณ 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน
Cortisol หลั่งมากที่สุดตอนไหน
ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา โดยจะหลังมากที่สุดในตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวพร้อมทำงาน และทำกิจวัตรประจำวัน จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงจนถึงตอนเย็นและเข้านอน แต่ถ้าหากมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากนี้ (นอนกลางวัน ทำงานตอนกลางคืน) การหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลจะต่างออกไป
นอกจากในช่วงเช้าแล้ว หากเกิดความเครียด หรือเรื่องกังวล ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอลเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับการพักผ่อนไม่เพียงพอที่สัมพันธ์กับความเครียด ก็จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากขึ้นด้วย
ระดับ Cortisol ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
- การที่ต่อมหมวกไตสร้างคอร์ติซอลออกมามากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เกิดอาการในกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing) เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ส่วนการมีคอร์ติซอลในร่างกายมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นลม และความดันโลหิตต่ำ
- หากร่างกายมีระดับคอร์ติซอลมากเกินไป จะทำให้เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนทำงานผิดปกติ กระตุ้นความรู้สึกอยากอาหาร ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ
- หากร่างกายมีระดับคอร์ติซอลน้อยเกินไป จะทำให้ไม่อยากอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดลง และมีอาการอื่นๆ ตามมา
การวัดระดับ Cortisol ในร่างกาย
ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสามารถตรวจวัดได้จากเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลาย โดยตัวอย่างจากเลือดสามารถเจาะได้จากเส้นเลือดดำในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีระดับของฮอร์โมนสูงที่สุด หรืออาจเจาะในช่วง 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนอยู่ในระดับต่ำ ส่วนตัวอย่างจากปัสสาวะสามารถเก็บได้จากปัสสาวะแรกของวัน
ควรตรวจช่วงเช้าเนื่องจากเป็นเวลาที่ร่างกายหลั่งคอร์ติซอลมากที่สุด หากตรวจช่วงบ่าย ค่าคอร์ติซอลจะลดลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ค่าของฮอร์โมนคลาดเคลื่อนได้