วัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA คืออะไร? ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงต้องการฉีด?


วัคซีน mRNA คืออะไร? แตกต่างจากวัคซีนป้องกันโควิดชนิดอื่นๆ อย่างไร? ทำงานอย่างไร? มียี่ห้ออะไรบ้าง? ส่งผลต่อสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ จริงหรือไม่?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • mRNA (messenger Ribonucleic Acid) เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ของร่างกาย ทำหน้าที่ออกคำสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนขึ้นตามรหัสคำสั่งนั้นๆ ซึ่งเป็นกลไกปกติของร่างกาย
  • วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ผลิตโดยนำเอาชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) มาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่งที่เรียกว่า “S-spike mRNA”
  • เมื่อวัคซีนชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว S-spike mRNA จะสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนปุ่มหนามขึ้นมา ทำให้แอนติเจน (Antigen) รู้ว่า โปรตีนปุ่มหนามคือสิ่งแปลกปลอม แล้วสร้างแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาจัดการ
  • วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ไม่ส่งผลต่อพันธุกรรม เพราะโมเลกุลของ mRNA ในวัคซีนไม่ได้เข้าถึงนิวเคลียส หรือใจกลางของเซลล์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) ที่อยู่ภายในนิวเคลียส และจะถูกขจัดออกไปภายในระยะเวลาไม่นาน ไม่ตกค้างในร่างกาย
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

จากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับอันตรายของวัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA เช่น ฉีดแล้วจะเกิดสารพิษในร่างกาย หรือหรือส่งผลเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมมนุษย์ในระยะยาว จนทำให้ใครหลายคนเกิดความกังวลใจ

HDmall.co.th จะพาทำความรู้จักกับวัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA นี้ ว่า คืออะไร ทำงานอย่างไร แล้วส่งผลเสียต่อร่างกายจริงๆ หรือเปล่า หาคำตอบได้ที่บทความนี้เลย

mRNA คืออะไร?

mRNA (อ่านว่า เอม-อาร์-เอน-เอ) ย่อมาจากคำว่า “messenger Ribonucleic Acid” เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ของร่างกาย ทำหน้าที่ออกคำสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนขึ้นตามรหัสคำสั่งนั้นๆ ซึ่งเป็นกลไกปกติของร่างกาย

วัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA ทำงานอย่างไร?

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ผลิตโดยนำเอาชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) มาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่งที่เรียกว่า “S-spike mRNA”

เมื่อวัคซีนชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว S-spike mRNA จะสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนปุ่มหนามขึ้นมา ทำให้แอนติเจน (Antigen) รู้ว่า โปรตีนปุ่มหนามคือสิ่งแปลกปลอม แล้วสร้างแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาจัดการนั่นเอง

mRNA ส่งผลต่อดีเอ็นเอจริงหรือไม่?

ไม่จริง เพราะโมเลกุลของ mRNA ในวัคซีนไม่ได้เข้าถึงนิวเคลียส หรือใจกลางของเซลล์ จึงไม่อาจเข้าไปพัวพัน ทำปฏิกิริยา หรือส่งผลกระทบต่อสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) ที่อยู่ภายในนิวเคลียสได้

นอกจากนี้สารพันธุกรรม mRNA เหล่านี้ยังถูกขจัดออกจากร่างกายภายในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่สะสม ฝังตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ หรือตกค้างในร่างกายแต่อย่างใด

วัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA แตกต่างจากวัคซีนป้องกันโควิดชนิดอื่นอย่างไร?

วัคซีน mRNA แตกต่างจากวัคซีนป้องกันโควิดชนิดอื่นๆ ตรงเทคโนโลยีการผลิต และกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนี้

วัคซีน mRNA

  • หลักการ ฉีดสารพันธุกรรมที่สังเคราะห์จากส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนปุ่มหนามของเชื้อไวรัส เข้าสู่ร่างกาย ทำให้แอนติเจนรู้จักเชื้อไวรัสโควิด-19 และกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา
  • ตัวอย่างยี่ห้อวัคซีน mRNA วัคซีนโควิดไฟเซอร์​ (Pfizer) และวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna)

วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector vaccine)

  • หลักการ นำสารพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสไปค์โปรตีนของเชื้อไวรัส สอดใส่ในไวรัสพาหะที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้อ่อนฤทธิ์ (ไม่ทำให้ป่วย) โดยแต่ละยี่ห้อจะใช้สายพันธุ์ของไวรัสพาหะที่แตกต่างกัน
  • ตัวอย่างยี่ห้อวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson) วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca) และวัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)

วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)

  • หลักการ นำสไปค์โปรตีนของไวรัสมารวมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทาน แล้วนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค
  • ตัวอย่างยี่ห้อวัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)

วัคซีนเชื้อตาย

  • หลักการ ผลิตโดยนำเชื้อไวรัส มาเลี้ยงขยายจำนวนมาก แล้วนำมาฆ่าด้วยสารเคมี เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสขึ้นมา
  • ตัวอย่างยี่ห้อวัคซีนเชื้อตาย วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac) วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)

วัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA ปลอดภัยหรือไม่?

ปัจจุบันทั่วโลกฉีดวัคซีน mRNA มากกว่า 500,000,000 โดส

จากการศึกษาพบว่า มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำประมาณ 3-5 : 1,000,000 โดส ซึ่งใกล้เคียงกับวัคซีนอื่น ๆ ที่กำลังฉีดทั่วโลก

โดยภาพรวมจึงถือว่า วัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และเป็นวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 สูงถึง 95%

วัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA แต่ละยี่ห้อ มีประสิทธิภาพ เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร?

วัคซีนป้องกันโควิด ชนิด mRNA ที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มี 2 ยี่ห้อ คือ วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) และวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ ชื่อวัคซีนคือ “BNT162” มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดอยู่ที่ 95% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 3 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • วัคซีนโควิดโมเดอร์นา ชื่อวัคซีนคือ “mRNA-1273” มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดอยู่ที่ 94% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

วัคซีนป้องกันโควิดชนิด mRNA ทั้งยี่ห้อไฟเซอร์ และโมเดอร์นา เป็นวัคซีนที่กำลังจะเข้ามาในประเทศไทยเร็วๆ นี้ ผู้ที่มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนชนิดนี้ รวมถึงวัคซีนชนิดอื่นๆ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดโดยเร็ว เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค และป้องกันการเกิดอาการรุนแรง

HDmall.co.th ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน เราจะผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจะจบลงโดยเร็วที่สุด

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง แอดเลยไม่ต้องรอ!

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

  • กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 23 กรกฎาคม 2564.
  • รศ.ดร.พญ.ทวิติยา สุจริตรักษ์, ZoomIn: เปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีนต้านโควิด-19 ทั้ง 4 ชนิด (https://www.ryt9.com/s/iq01/3217599), 23 กรกฎาคม 2564.
  • BBC, โควิด-19 : เอ็มอาร์เอ็นเอ กับข่าวลือวัคซีนก่อสารพิษ-เปลี่ยนพันธุกรรมมนุษย์ เชื่อถือได้หรือ (https://www.bbc.com/thai/international-57481218), 23 กรกฎาคม 2564.
  • CDC, Understanding mRNA COVID-19 Vaccines (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/mrna.html), 23 July 2021.
  • World Health Organization (WHO), The mRNA COVID-19 vaccines are as safe as other vaccines (https://www.facebook.com/WHO/photos/a.750907108288008/4491863537525661/), 23 July 2021.
@‌hdcoth line chat