ภาวะ MCHC สูง-ต่ำ อาการ สาเหตุ รักษา

MCHC ย่อมาจาก Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินเป็นโมเลกุลของโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงเพื่อนำไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกาย

ค่า MCHC นี้สามารถต่ำ ปกติ และสูงได้แม้ว่าจำนวนเม็ดเลือดแดงของคุณจะปกติ

อาการ

มีหลายอาการที่ผู้ที่มีค่า MCHC ต่ำมักจะเป็นซึ่งมักเกี่ยวข้องกับภาวะซีด เช่น

  • อ่อนเพลียและไม่มีแรงเรื้อรัง
  • หายใจลำบาก
  • ซีด
  • ช้ำง่าย
  • เวียนหัว
  • อ่อนแรง
  • ไม่มีแรง

ผู้ที่มีระดับ MCHC ต่ำเล็กน้อยหรือเพิ่งต่ำ อาจจะไม่มีอาการอะไรเลย

สาเหตุ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ค่า MCHC ต่ำก็คือภาวะซีด

ภาวะซีดชนิดที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและสีจาง มักจะทำให้ค่า MCHC ต่ำ ภาวะซีดชนิดนี้สามารถเกิดได้จาก

  • การขาดธาตุเหล็ก
  • การที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้เช่นจากการเป็นโรคเซลิแอค Crohn’s disease และการผ่าตัดตัดกระเพาะ
  • การที่มีเลือดออกในปริมาณเล็กน้อยเป็นเวลานานจากการมีประจำเดือนนานหรือมีแผลในกระเพาะอาหาร

ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัวก่อนเวลา ในบางกรณีที่พบได้น้อย การมี MCHC ต่ำและภาวะซีดลักษณะนี้ สามารถเกิดได้จาก

  • มะเร็ง ซึ่งรวมถึงมะเร็งที่ทำให้มีเลือดออกภายใน
  • การติดเชื้อปรสิตเช่นพยาธิปากขอ
  • การได้รับสารพิษจากตะกั่ว

การวินิจฉัยโรค

หากแทพย์สงสัยว่าคุณจะมีระดับ MCHC ต่ำ แพทย์มักจะสั่งตรวจเลือดหลายรายการเช่น

  • การตรวจเลือดเพื่อดูระดับ MCHC
  • การตรวจวัดค่า mean corpuscular volume (MCV) ซึ่งวัดค่าเฉลี่ยนของปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การทดสอบเหล่านี้มักจะรวมอยู่ในการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (CBC) ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อดูว่าคุณมีจำนวนเม็ดเลือดขาวและแดงอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

แพทย์จะสามารถวินิจฉัยชนิดของอาการซีดที่เป็นได้จากการตรวจดังกล่าวและทำให้สามารถหาสาเหตุได้ง่ายขึ้น เพื่อวางแผนในการรักษา

ระดับธาตุเหล็ก

แพทย์อาจจะตรวจวัดระดับธาตุเหล็กและการดูดซึมธาตุเหล็กในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งสามารถตรวจได้จากการตรวจเลือดในครั้งเดียวกัน การตรวจนี้จะช่วยให้ระบุสาเหตุของภาวะซีดได้

เลือดออก

หากเลือดออก เป็นสาเหตุของการมีระดับ MCHC ต่ำ แพทย์จะทำการค้นหาตำแหน่งที่เลือดออก ซึ่งสิ่งที่ง่ายที่สุดก็คือการมีประวัติมีประจำเดือนมามาก นาน และถี่กว่าปกติ

ภาวะอื่นๆ

แพทย์อาจจะมีการส่งตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ เช่น

  • การส่องกล้องเพื่อเข้าไปดูส่วนบนของทางเดินอาหารซึ่งจะช่วยให้เห็นแผลหรือมะเร็งได้ และการตัดชิ้นเนื้อในระหว่างที่ส่องกล้องไปตรวจ จะสามารถให้การวินิจฉัยโรคเซลิแอคที่แม่นยำได้
  • การเอกซเรย์ช่องท้องส่วนบนหลังกลืนแบเรียม ซึ่งจะทำให้เห็นแผลในทางเดินอาหารได้
  • การตรวจเลือดอื่นๆ จะช่วยในการคัดกรองโรคเซลิแอคหรือ Crohn’s disease ได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของการมีระดับ MCHC ต่ำก็คือการไม่มีพลังงานและไม่มีแรง ซึ่งจะทำให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ลดลง

ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจเกิดภาวะซีดและมีออกซิเจนในเลือดต่ำได้ เวลาที่มีระดับ MCHC ต่ำ ร่างกายจะมีปัญหาในการขนส่งออกซิเจนให้เพียงพอต่อความต้องการของเนื้อเยื่อทั้งหมด ทำให้เนื้อเยื่อเหล่า ขาดออกซิเจนและไม่สามารถกำจัดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

อาการของภาวะซีดและมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ประกอบด้วย

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • สับสน
  • หายใจเร็ว
  • เหงื่อออก
  • หายใจลำบาก
  • ไอ หรือหายใจมีเสียงวี๊ด

การรักษา

เมือ่แพทย์สามารถหาสาเหตุที่ทำให้ค่า MCHC ต่ำได้แล้ว ก็จะเริ่มวางแผนการรักษา

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ก็คือการขาดธาตุเหล็ก แพทย์อาจจะแนะนำวิธีต่อไปนี้เพื่อรักษา

  • เพิ่มการทานธาตุเหล็กในอาหารเช่นจากผักโขม
  • รับประทานธาตุเหล็กเสริม
  • ทานวิตามินบี 6 เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมธาตุเหล็กอย่างเหมาะสม
  • เพิ่มเส้นใยอาหารในอาหารที่รับประทาน ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
  • รับประทานแคลเซียมในปริมาณเท่าที่ต้องการในแต่ละวัน เพราะการทานแคลเซียมที่มากเกินไป จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ยากขึ้น

การป้องกัน

วิธีการป้องกันการมีค่า MCHC ต่ำก็คือการป้องกันภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้นควรรับประทานธาตุเหล็กและวิตามินบี 6 จากอาหารให้เพียงพอ

อาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็กประกอบด้วย

  • ผักโขม
  • ถั่ว
  • อาหารทะเล
  • เนื้อแดง เนื้อหมูและสัตว์ปีก

อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 6 ประกอบด้วย

  • กล้วย
  • ปลาทูน่าตามธรรมชาติ (ไม่ใช่ปลาทูน่าเลี้ยง)
  • อกไก่
  • ปลาแซลมอน
  • มันหวาน
  • ผักโขม

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Scroll to Top