ไปฝากครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?


ไปฝากครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร? ใช้เอกสารอะไรบ้าง? เบิกประกันสังคมได้ไหม?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การฝากครรภ์ครั้งแรก ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้ตามปกติ
  • เอกสารที่ใช้ในการฝากครรภ์ ได้แก่ บัตรประชาชนพ่อและแม่ ประวัติสุขภาพ (ถ้ามี) และข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (นับจากวันแรกของการมีประจำเดิอนวันสุดท้าย)
  • สำหรับผู้ที่ต้องการเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม สามารถเบิกได้สูงสุด 1,500 บาท แบ่งจ่าย 5 ครั้ง ตามการฝากครรภ์คุณภาพ โดยเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคม อ่านรายละเอียดได้ที่ด้านล่าง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือแอดไลน์ @hdcoth

“ไปฝากครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถเบิกประกันสังคมได้ไหม เบิกอย่างไรเป็นสิ่งที่คู่สามีภรรยาหลายคู่สงสัย โดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ซึ่งในวันนี้ HDmall.co.th จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ ให้คุณเอง!

การฝากครรภ์นั้น ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้ตามปกติ หลังจากที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่จะพาไปพบคุณหมอแล้ว ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ แล้วทำการนัดตรวจฝากครรภ์ครั้งต่อไปนั่นเอง

เช็กราคาฝากครรภ์

เอกสารที่ใช้ในการฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง?

การฝากครรภ์ครั้งแรกจะต้องทำการลงทะเบียนกับโรงพยาบาลที่ไปใช้บริการ จึงจะต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้

  • บัตรประชาชนของคุณแม่และคุณพ่อ
  • ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว ความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม และการรับวัคซีน (ถ้ามี)
  • ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (นับจากวันแรกของการมีประจำเดิอนวันสุดท้าย)

หลังจากเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณหมอจะบันทึกข้อมูลลงใน “สมุดฝากครรภ์” หรือในบางโรงพยาบาลอาจเรียกว่า “สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก” หรือ “ใบฝากครรภ์” ซึ่งเปรียบเสมือนบัตรปจำตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องพกติดตัวเสมอ

สมุดฝากครรภ์ จะช่วยให้คุณหมอรู้ข้อมูลของมารดาและทารกในครรภ์ สามารถนำมาประกอบการประเมินในแต่ละครั้ง ทำให้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

เบิกประกันสังคม ฝากครรภ์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ในผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้สูงสุด 1,500 บาท โดยแบ่งจ่าย 5 ครั้ง ตามจำนวนการฝากครรภ์คุณภาพที่ใช้การฝากครรภ์ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง มีรายละเอียดดังนี้

  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 - น้อยกว่า 20 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 - น้อยกว่า 26 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 - น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
ฝากครรภ์ ราคาประหยัด

การเบิกค่าฝากครรภ์นั้น สามารถเลือกใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้ง “ฝ่ายชาย” หรือ “ฝ่ายหญิง” โดยสามารถเลือกใช้สิทธิได้แค่คนเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำได้ มาเบิกที่สำนักงานประกันสังคม ใช้เอกสารดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม
  • ใบเสร็จค่าบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลที่ไปใช้บริการ (ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลไหนก็ได้)
  • ใบรับรองรองแพทย์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประจำตัวหญิงตั้งครรภ์ ที่มีชื่อของผู้ตั้งครรภ์ และรายละเอียดการบันทึกตามแต่ละช่วงอายุครรภ์
  • ในกรณีที่คุณพ่อ หรือสามีมาเบิก จะต้องใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีที่ไม่มีทะเบียนสมรส กดดาวน์โหลดได้ ที่นี่

การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญในหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยให้แพทย์ดูแลสุขภาพของมารดาและทารกได้อย่างใกล้ชิด ทำให้การตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นไปอย่างปลอดภัย

กำลังมองหาโรงพยาบาลชั้นนำเพื่อฝากครรภ์และคลอดบุตรอยู่ใช่ไหม HDmall.co.th ได้รวมรวมแพ็กเกจดีๆ มาไว้ให้คุณแล้ว กดเปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ของแต่ละโรงพยาบาลได้เลย หรือสอบถามแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth มีโปรโมชั่นดี ผ่อนฟรี 0% ด้วยน้า


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • กระทรวงสาธารณสุข, การฝากครรภ์คุณภาพ และการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ (http://164.115.22.73/r9health/wp-content/uploads/2020/07/4-การฝากครรภ์คุณภาพและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์.pdf), 31 มีนาคม 2564.
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, การฝากครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ (https://hpc11.go.th/information/7.1/3.9/43.pdf), 31 มีนาคม 2564.
  • สำนักงานประกันสังคม, เพิ่มค่าคลอดบุตรและฝากครรภ์ 2564 (https://www.sso.go.th/wpr/main), 31 มีนาคม 2564.
  • โรงพยาบาลป่าพะยอม, ฟื้นฟูเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์ (http://www.paphayomhospital.go.th/KM/ANC%20presentation.pdf), 31 มีนาคม 2564.
  • นพ. ฉันท์หทัย นันท์ชัย, วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ในหญิงตั้งครรภ์ (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1436:2018-07-25-09-47-20&catid=45&Itemid=561), 31 มีนาคม 2564.
  • เครือข่ายสุขภาพบึงกาฬ, คู่มือการปฏิบัติงานบริการงานฝากครรภ์ (http://buengkanphc.com/wp-content/uploads/2015/06/คู่มือมาตรฐานการฝากครรภ์.pdf), 31 มีนาคม 2564.
@‌hdcoth line chat