กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร? สาเหตุ อาการ การรักษา

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นภาวะที่เปลือกตาบนตกลงมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่งผลให้มีผลกระทบต่อการมองเห็นและความสวยงามของใบหน้า ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และมีสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดขึ้น

มีคำถามเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีหลายแบบ

คนไข้ 3 คนมาพบจักษุแพทย์ด้วยปัญหาต่างๆ กัน หลังจากพบแพทย์ ทั้งสามได้รับข้อมูลจากแพทย์ถึงสาเหตุการป่วยว่าเกิดจาก “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” โดยมีอาการและการรักษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

  • คนที่ 1 มีอาการหนังตาตกทั้ง 2 ข้าง บางวันตกน้อย บางวันตกมาก ตอนนี้เริ่มมองภาพซ้อน รู้สึกเหนื่อยเพลียง่าย แพทย์ส่งตรวจเพิ่มเติมและส่งปรึกษาแพทย์อายุรศาสตร์ระบบประสาทและสมอง
  • คนที่ 2 มาด้วยคันตา ขยี้ตาบ่อยๆ ตาข้างหนึ่งดูเล็กกว่าอีกข้าง ดูแล้วไม่สวยงาม ชอบเลิกคิ้วข้างเดียวบ่อยจนเสียบุคลิก แพทย์แนะนำให้หยุดใส่คอนแทคเลนส์แล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไข
  • คนที่ 3 มาด้วยอาการมองใกล้เดี๋ยวชัดเดี๋ยวมัว ปวดเบ้าตาร้าวไปท้ายทอย ทั้งๆ ที่ระยะเวลาทำงานใช้จอคอมพิวเตอร์ก็เท่าเดิม

เป็นไปได้อย่างไร คนที่เป็น “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เหมือนกัน จึงมีอาการไม่เหมือนกันเลย คำแนะนำและการวางแผนรักษาก็แตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง ราวกับไม่ใช่โรคเดียวกัน

คำตอบคือเป็นไปได้ เนื่องจากคนไข้ทั้ง 3 รายนี้ไม่ได้ป่วยด้วยโรคเดียวกันเลย คนแรก เป็นโรค Myasthenia Gravis เรียกย่อๆว่า MG คนที่ 2 เป็นโรคโทซิส (Ptosis) หรือหนังตาตก หลังการขยี้ตาบ่อยๆ เพราะเป็นภูมิแพ้ที่ตาและใช้คอนแทคเลนส์ คนที่ 3 มีภาวะ Asthenopia หรือกล้ามเนื้อตาล้า เพราะอายุ 38 ปี ใกล้จะมีสายตายาวตามอายุ (Presbyopia)

เหตุที่แพทย์บอกกับทั้งสามว่าพวกเขาเป็น “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เหมือนกัน ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นโรคคนละชนิด เนื่องจากในภาษาไทยเราไม่มีชื่อเรียกโรคดังกล่าวโดยตรง ดังนั้นแพทย์เองจึงพยายามจะสื่อสารให้คนไข้เข้าใจด้วยการตั้งชื่อให้โรคเป็นภาษาไทย จากกลไกความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

มีคำถามเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

เมื่อเรากล่าวถึง “กล้ามเนื้อตา” ในภาษาไทย มักเข้าใจกันว่าหมายถึงกล้ามเนื้อที่ทำให้ตากลอกไปมาเท่านั้น แต่ความจริงกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับดวงตา มีถึง 3 กลุ่ม เรียงลำดับจากด้านนอกสุดไปสู่ในลูกตาดังนี้

  • กลุ่มที่ กล้ามเนื้อหนังตาหรือเปลือกตา (Eyelid muscles) คือกลุ่มกล้ามเนื้อตาขนาดเล็กหลายมัด ยึดเกาะกับหนังตาทั้งบนและล่างที่คลุมลูกตาไว้ ทำหน้าที่ช่วยเปิดปิดหนังตารวมทั้งยกคิ้วขึ้น ถูกควบคุมด้วยเส้นประสาทสมอง และระบบประสาทอื่นๆ หลายชนิดอย่างซับซ้อน
  • กลุ่มที่ กล้ามเนื้อภายนอกลูกตา (Extraocular muscles) คือ กล้ามเนื้อที่ช่วยดึงให้ลูกตากลอกไปมา ยึดเกาะอยู่บริเวณตาขาวคือผนังลูกตา ถูกควบคุมด้วยเส้นประสาทสมอง
  • กลุ่มที่ กล้ามเนื้อภายในลูกตา (Intraocular muscles) ได้แก่ Ciliary muscle ที่เชื่อมกับเลนส์แก้วตา และม่านตา อยู่ภายในลูกตา ช่วยในการปรับแสงเข้าตา ปรับโฟกัสในการมองใกล้ ถูกควบคุมด้วยเส้นประสาทสมองเช่นกันและระบบเส้นประสาทอื่นๆ

ความผิดปกติที่เกิดกับคนไข้ตัวอย่างทั้ง 3 ราย ทุกโรคเกิดจากความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อตาก็จริง แต่เป็นกล้ามเนื้อตาคนละกลุ่ม ทำหน้าที่ต่างกัน ในเมื่อที่มาของโรคต่างกัน ที่การดำเนินไปของโรคตลอดจนแนวทางการรักษาและผลก็ย่อมแตกต่างกันด้วย

โรคที่ถูกเรียกว่า “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”

โรคที่ถูกเรียกว่า “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” ที่พบได้บ่อยๆ มีดังนี้

  1. Myasthenia Gravis (MG) เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อลายได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่จะไม่มีอาการชาหรือเจ็บปวด เชื่อว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติไปทำลายตัวรับสัญญานประสาทที่กล้ามเนื้อ เมื่อไม่ได้รับสัญญานประสาทมากระตุ้น กล้ามเนื้อก็จะอ่อนแรง ยิ่งกล้ามเนื้อทำงานมากก็จะยิ่งอ่อนแรงมาก โรคนี้จึงมักมีอาการแสดงออกครั้งแรกที่กล้ามเนื้อตาใน 2 กลุ่มแรก คือ กล้ามเนื้อหนังตาและกล้ามเนื้อภายนอกลูกตา เพราะกล้ามเนื้อตา 2 กลุ่มนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้เราไม่เคลื่อนไหวอาการที่พบบ่อยที่สุดและเกิดขึ้นเป็นอาการแรกของโรคคือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตา และใช้กลอกตา อาจสังเกตได้ว่าอาการมักจะเป็นมากช่วงบ่ายหรือเย็น ทำให้ลืมตาไม่ขึ้น เห็นภาพซ้อน ถึงกับตาเหล่ได้ ที่มากกว่านั้นคือ โรค Myasthenia Gravis สามารถทำให้กล้ามเนื้อลายทุกส่วนในร่างกายอ่อนแรงได้ อาการที่สำคัญและต้องรับการดูแลอย่างเร่งด่วนคือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหน้าอกทำให้หายใจลำบาก กลืนลำบาก คนไข้ที่เป็น MG ควรได้รับการตรวจหาภาวะต่อมไทมัสโตผิดปกติด้วย จักษุแพทย์อาจต้องส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางแผนกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามมาด้วยการตรวจพิเศษ ทั้งตรวจเลือด ตรวจสแกนต่างๆโรค MG ใช้การรักษาด้วยยาเม็ดสำหรับรับประทานเป็นหลัก ช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อได้ แม้ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด ตัวโรคเองอาจมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลงตามลักษณะของโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ ในบางราย การตัดต่อมไทมัสอาจช่วยให้ดีขึ้นได้
  2. โทสิส (Ptosis) คือภาวะที่หนังตาตกหรือหย่อนลงมากว่าระดับปกติ เป็นปัญหาที่เกิดกับกล้ามเนื้อตาในกลุ่มที่ 1 คือเปลือกตาหรือหนังตาเป็นหลัก
    ในภาวะปกติ เปลือกตาหรือหนังตาบนจะปิดลงมาคลุมกระจกตา (หรือที่มักเรียกว่าตาดำ) ประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนเปลือกตาล่างจะแตะพอดีกับขอบตาดำ หากหนังตาตกลงมาต่ำกว่าระดับเล็กน้อย มักจะไม่มีผลกระทบมากนอกจากเรื่องความสวยงาม คนที่หนังตาข้างหนึ่งตกมากกว่าอีกข้างมักจะยกคิ้วข้างที่หนังตาตกขึ้นสูงกว่าโดยอัตโนมัติ หากหนังตาตกสองข้างอาจจะชอบเลิกคิ้วยกหน้าผากขึ้น หรือเงยหน้าขึ้นเพื่อช่วยให้หนังตาไม่บังการมองเห็น แต่หากหนังตาตกลงมาจนปิดถึงกลางตาบังรูม่านตา จะไม่สามารถมองเห็นได้เลย ถือเป็นภาวะหนังตาตกที่จำเป็นต้องรักษาปัญหาหนังตาตกลืมตาไม่ค่อยขึ้นนี้ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือเกิดจากความหย่อนหรือการยืดของกล้ามเนื้อเปลือกตา (Blepharoptosis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ที่มักจะมีหนังตาหย่อนคล้อย (Dermatochalasis) มีไขมัน หรืออาจมีคิ้วตกร่วมด้วย การรักษาทำโดยการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา จะใช้เทคนิคอย่างไรนั้นขึ้นการประเมินปัญหาเป็นรายบุคคลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากตัวอย่าง คนไข้รายที่ 2 อายุยังไม่มาก มีอาการเคืองตา ชอบขยี้ตาบ่อยๆ จากโรคภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา และยังเคยมีประวัติใส่คอนแทคเลนส์มานานโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เวลาใส่และถอดใช้การดึงเปลือกตาค่อนข้างแรง อีกทั้งการขยี้ตาบ่อยๆ ก็ทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่วงรอบเปลือกตายืดหรือครากได้เช่นกัน จักษุแพทย์มักแนะนำให้งดใช้คอนแทคเลนส์เพื่อเป็นการรักษาที่ต้นเหตุเสียก่อน แต่หากอาการไม่ดีขึ้น จึงจะแนะนำให้ผ่าตัดตกแต่งเปลือกตา การผ่าตัดคล้ายการทำตาสองชั้น แต่จะต้องมีการยกกล้ามเนื้อตาให้ตึงขึ้น และ ปรับระดับให้ชั้นตาและเปลือกตาเปิดได้เท่าๆ กันร่วมด้วยจึงจะได้ผลดี
  3. Asthenopia หรือ Eye strain อีกชื่อเรียกที่ใช้บ่อยคือ กล้ามเนื้อตาล้า สาเหตุจากกล้ามเนื้อตา 2 กลุ่ม คือ กล้ามเนื้อภายนอกลูกตา (กลุ่มที่ 2) และกล้ามเนื้อภายในลูกตา (กลุ่มที่ 3) ส่วนที่มีหน้าที่เพ่งมองใกล้นั้นไม่แข็งแรงพอ อันที่จริงจะถือว่าเป็นความผิดปกติก็ไม่เชิง เพราะความไม่แข็งแรงนี้เรียกว่าไม่พอรับงานมองใกล้เป็นเวลานานมากกว่า คนไข้จะมีอาการตาลาย มองชัดบ้างไม่ชัดบ้าง จนถึงปวดตา ปวดหัว อาจจะปวดที่กระบอกตาและร้าวไปถึงท้ายทอยได้อาการนี้มักพบในเด็กหรือวัยรุ่นที่ต้องอดนอนอ่านหนังสือหรือเพ่งมองหน้าจออยู่ระยะเดียวนานหลายชั่วโมง อีกกลุ่มที่พบได้คือ กลุ่มที่อายุเริ่มเข้า 40 ปีที่เริ่มมีสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ซึ่งกำลังกล้ามเนื้อตาที่ใช้เพ่งมองใกล้อ่อนแรงลงไปตามวัยนั่นเองการรักษาปัญหานี้ ควรจะพบจักษุแพทย์ก่อนเพื่อตรวจโรคตา ตรวจว่ามีตาเหล่ตาเขแอบแฝงหรือไม่และวัดสายตา ถ้ามีสายตาผิดปกติก็ควรแก้ไขโดยใช้แว่นสายตาอย่างถูกต้อง คนที่มีอายุเริ่มเข้า 40 ปีอาจจะต้องใช้แว่นช่วยมองใกล้ด้วย ในกรณีที่ทุกอย่างปกติดี แนะนำให้ฝึกการเพ่งของกล้ามเนื้อตา คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อตาล้า ควรใช้แสงสว่างที่เพียงพอในการทำงานเพื่อการมองเห็นอย่างสบายตา ควรพักสายตาบ่อยๆ ระหว่างการใช้สายตามองใกล้นานๆ และใช้น้ำตาเทียมช่วยหล่อลื่นผิวตาระหว่างพักสายตา

ดังที่ได้กล่าวมา คงเป็นที่เข้าใจได้ว่า คำเรียกว่า “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” นั้น หากจะให้สื่อสารเป็นที่เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงโรคใดกันแน่ ต้องได้ทราบชื่อเฉพาะของโรค ซึ่งคนไข้ที่เป็นโรคนี้ควรทราบ รวมถึงเข้าใจที่มาที่ไปของโรคตามสมควร เพื่อจะได้ดูแลตนเองและมีความคาดหวังต่อการรักษาอย่างถูกต้อง อีกสิ่งหนึ่งที่จะฝากไว้เป็นข้อพึงระวังคือ หากมีอาการลืมตาไม่ขึ้น หนังตาตก ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  1. อาการเห็นภาพซ้อน ตาเหล่ เกิดขึ้นกะทันหันในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือในเวลาเป็นวัน
  2. มีอาการติดเชื้อที่ตา ตาแดงมากและปวดรอบเบ้าตาอย่างรุนแรง
  3. มีไข้ ตาโปน กลอกตาไม่ได้
  4. มุมปากตกดื่มน้ำแล้วหก พูดลำบาก แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง

ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะเป็นโรคอื่นที่ ไม่ใช่โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจตา

มีคำถามเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ