การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก เพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชายทำอย่างไร?


แปลงเพศ-ผ่าตัดแปลงเพศ-ผ่าตัดมดลูกรังไข่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชายคือ กระบวนการผ่าตัดนำมดลูกและรังไข่อวัยวะสำคัญซึ่งทำหน้าที่สร้างออร์โมนเพศหญิง สร้างเซลล์ไข่ และทำให้เกิดประจำเดือน ออกไปจากร่างกายแบบถาวร
  • การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชายคือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะอยู่กับผู้เข้ารับบริการไปตลอดชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งที่ผุู้เข้ารับบริการต้องได้รับการตรวจประเมินสภาพจิตใจจากจิตแพทย์อย่างน้อย 2 คน
  •  สูตินรีแพทย์จะเป้นผู้ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดที่ได้รับความนิยม 3 วิธีได้แก่ การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง การผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง และการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด
  • การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องเป้นวิธีที่เจ็บตัวมากที่สุด ใช้เวลาพักฟื้นนานที่สุด และมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ส่วนการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอดเป็นวิธีที่เจ็บตัวน้อยที่สุด แทบไม่มีแผลบนผิวหนังเลย ใช้เวลาพักฟื้นน้อยที่สุด  และมีค่าใช้จ่ายมากที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย หรือแอดไลน์ @hdcoth

หลังผ่าตัดหน้าอกออกเพื่อให้หน้าอกแบบราบเหมือนผู้ชายแล้ว หากยังต้องการแปลงเพศต่อไปอีก ขั้นตอนต่อไปคือ “การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก”

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกนี้อาจสามารถทำไปพร้อมๆ กับการผ่าตัดหน้าอกออกได้ หากศัลยแพทย์ตรวจประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เข้ารับบริการแล้วว่า มีความพร้อม และไม่มีภาวะเสี่ยงใดๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง

การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อแปลงเพศคืออะไร? ใครบ้างที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดนี้ได้? การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อการแปลงเพศหญิงเป็นชายมีกี่แบบ? HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ

ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก แปลงเพศหญิงเป็นชายคืออะไร?

การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชายคือ กระบวนการผ่าตัดนำมดลูกและรังไข่อวัยวะสำคัญซึ่งทำหน้าที่สร้างออร์โมนเพศหญิง สร้างเซลล์ไข่ และทำให้เกิดประจำเดือน ออกไปจากร่างกายแบบถาวร

การผ่าตัดนี้ยังสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ใช้ฮอร์โมนเพศตรงข้าม ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้องอย่างสม่ำเสมอมาอย่างน้อย 1 ปี เพราะนอกจากการใช้ฮอร์โมนเพศตรงข้ามจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระคล้ายคลึงเพศชายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมีหนวดเครา ขนยาว ผิวหนังหยาบขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นแล้ว

ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเพศตรงข้ามยังไปลดการทำงานของรังไข่ลง ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงลดลงทำให้ไข่ตกน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งประจำเดือนขาดหายไปในที่สุด

ประกอบกับผู้เข้ารับบริการต้องการแปลงเพศ หรือข้ามเพศไปเป็นผู้ชายจริงๆ และไม่ต้องการตั้งครรภ์ในอนาคต มดลูกและรังไข่จึงไม่ใช่อวัยวะที่จำเป็นอีกต่อไป เพราะหากยังเก็บไว้ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคในกลุ่มระบบสืบพันธุ์ได้ในอนาคต

ผู้เข้ารับบริการจึงสามารถเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ เพื่อยุติบทบาทการทำงานของมดลูกและรังไข่โดยสิ้นเชิงได้

ใครสามารถผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก แปลงเพศหญิงเป็นชายได้บ้าง?

การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชายนั้น นับเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะอยู่กับผู้เข้ารับบริการไปตลอดชีวิต เพราะหากคิดเปลี่ยนใจภายหลัง อยากกลับมาเป็นผู้หญิงอีกครั้ง อยากมีลูกขึ้นมา ก็ไม่มีสถานพยาบาลใดที่สามารถนำมดลูกและรังไข่กลับคืนมาได้อีกแล้ว

ดังนั้นผู้ที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อต่อไปนี้

  • ผ่านการประเมินสภาพจิตใจจากจิตแพทย์ก่อนเพื่อยืนยันว่า มีภาวะ “Gender dysphoria (GD)” หรือ เป็นผู้ทีไม่มีความสุขกับสรีระทางเพศแต่กำเนิดอย่างรุนแรงจริง
  • เมื่อตัดสินใจจะผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก จะต้องได้รับการประเมินจิตใจจากจิตแพทย์อีกครั้งรวมเป็น 2 ครั้ง แต่จะต้องไม่ใช่จิตแพทย์คนแรกที่ตรวจประเมินมาก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลยืนยันว่า ผู้เข้ารับบริการพร้อมที่จะได้รับการผ่าตัดแปลงเพศจริง ยิ่งตรวจประเมินใกล้กำหนดการผ่าตัดได้ยิ่งดี
  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือหากมีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
  • เคยทดลองใช้ชีวิตในแบบเพศตรงข้ามในรูปแบบที่ต้องการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  • เคยรับฮอร์โมนเพศตรงข้ามมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  • มีสุขาพร่างกายแข็งแรง
  • ไม่มีภาวะทางจิตเวช

หลังจากนั้นผู้เข้ารับควรบริการอาจไปปรึกษาสูตินรีแพทย์ถึงกระบวนการผ่าตัดต่อไป

การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ แปลงเพศหญิงเป็นชายมีกี่วิธี?

การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ ปัจจุบันมีวิธีที่นิยม 3 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 การผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้อง (Abdominal Hysterectomy)

เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้ทั่วไป สูตินรีแพทย์จะกรีดเปิดแผลบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง เหนือหัวหน่าวในแนวขวาง ความยาว 6-8 เซนติเมตร เพื่อตัดผ่านชั้นผิวหนัง ไขมัน กล้ามเนื้อหน้าท้องลงไปจนถึงช่องท้อง

วิธีนี้ทำให้สูตินรีแพทย์สามารถตรวจดูโรคเกี่ยวกับมดลูก รังไข่ และอวัยวะใกล้เคียงได้อย่างละเอียด ก่อนจะผ่าตัดนำมดลูกและรังไข่ออกมาจากเอ็นยึดและยกออกมาทั้งชุด แล้วจึงห้ามเลือด เย็บชั้นกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไขมัน และชั้นผิวหนังตามลำดับ

ข้อควรรู้:

  • ใช้เวลาในการผ่าตัด 2-3 ชั่วโมง
  • แผลค่อนข้างมีขนาดใหญ่ ยิ่งผู้เข้าบริการน้ำหนักตัวมาก ไขมันสะสมมาก แผลยิ่งกว้าง และเจ็บแผลมากขึ้นตามไปด้วย
  • ใช้เวลาพักฟื้นนาน โดยจะพักฟื้นในโรงพยาบาล 3-5 วัน และพักฟื้นที่บ้านอีกประมาณ 10-14 วัน
  • นอกจากนี้หลังจากตัดไหม แผลหายสนิทยังต้องพักร่างกาย งดทำงานบ้านหนักๆ ยกของหนัก และออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะเวทเทรนนิ่งราว 2-3 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายไม่สูง

วิธีที่ 2 การผ่าตัดมดลูกผ่านการส่องกล้อง (Laparoscopic Hysterectomy)

เป็นวิธีการผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่อง สูตินรีแพทย์จะเจาะหน้าท้องบริเวณสะดือ 1 รู ขนาด 1 เซนติเมตร เพื่อสอดกล้องเข้าไป จากนั้นจะเจาะหน้าท้องส่วนล่างลงมาอีก 2 หรือ 3 รู เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไป

เมื่อตัดมดลูกและรังไข่ออกจากเอ็นยึดแล้ว สูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือดึงทั้งหมดออกทางช่องคลอด หรือใช้เครื่องมือตัดออกเป็นชิ้นๆ หรือปั่นให้ชิ้นส่วนมีขนาดเล็กลง แล้วดึงออกทางรูที่เจาะทางหน้าท้องก็ได้

ข้อควรรู้:

  • ผู้เข้ารับบริการที่มีโรคหัวใจ หรือโรคปอดที่ไม่เหมาะในการใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในช่องท้องเพื่อทำผ่าตัด ผู้ที่เคยผ่าตัดเปิดหน้าท้องหลายครั้ง ผู้ที่มีพังผืดในช่องท้องมาก ผู้ที่มีก้อนเนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่มาก ผู้ที่มีถุงน้ำรังไข่ขนาดใหญ่ หรือมีลักษณะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่ ไม่เหมาะที่จะผ่าตัดด้วยวิธีนี้
  • ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2 ชั่วโมง แต่หากผู้เข้ารับบริการมีน้ำหนักมาก ไขมันสะสมสูง มีพังผืดในท้อง อาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น
  • แผลผ่าตัดแม้จะมีหลายแผล แต่แต่ละแผลก็มีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวเร็ว แผลมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก หรือแทบไม่มี
  • ใช้เวลาพักฟื้นน้อย โดยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน และพักฟื้นที่บ้านอีกประมาณ 2-3 วัน เมื่อแผลหายดีสามารถกลับมาทำงานบ้านหนักๆ และออกกำลังกายหนักๆ ได้ภายในเวลา 2 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

วิธีที่ 3 การผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy) หรือ Natural Orifice Transluminal Endoscopic Surgery Hysterectomy & Oophorectomy (NOTES)

เป็นวิธีการผ่าตัดที่ผสมการผ่าตัดผ่านกล้องเข้ากับวิธีผ่าตัดแบบเดิม โดยสูตินรีแพทย์จะสอดกล้องและเครื่องมือเข้าไปทางช่องคลอด

เมื่อตัดมดลูกและรังไข่ออกแล้ว สูตินรีแพทย์จะตัดมดลูกและรังไข่ออกจากเอ็นยึด แล้วใช้เครื่องมือดึงทั้งหมดออกทางช่องคลอด หรือใช้เครื่องมือตัดออกเป็นชิ้นๆ หรือปั่นให้ชิ้นส่วนมีขนาดเล็กลงแล้วดึงออกทางช่องคลอด

ข้อควรรู้:

  • ผู้เข้ารับบริการที่มีพังผืดในช่องท้องมาก ผู้ที่มีก้อนเนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่มาก ผู้ที่มีถุงน้ำรังไข่ขนาดใหญ่ หรือมีลักษณะที่สงสัยว่า อาจจะเป็นมะเร็งรังไข่ ไม่เหมาะที่จะผ่าตัดด้วยวิธีนี้
  • ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วแต่สภาพร่างกายคนไข้ แต่หากผู้เข้ารับบริการมีปากช่องคลอดแคบมาก เล็กมาก หรือตึงมาก ก็อาจทำได้ยากขึ้น
  • วิธีนี้เจ็บตัวน้อยมากเพราะไม่มีแผลเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณหน้าท้องเลย จึงมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก หรือแทบไม่มี
  • ใช้เวลาพักฟื้นน้อย โดยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน ระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาล ฟื้นตัวเร็ว และสามารถกลับมาทำงานบ้านหนักๆ และออกกำลังกายหนักๆ ได้ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

หลังจากผ่าตัดมดลูก รังไข่ออกแล้ว ผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสูตินรีแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้บาดแผลหายไว ร่างกายฟื้นตัวได้ดี

หากผู้เข้ารับบริการมีความประสงค์เข้าสู่กระบวนการผ่าตัดแปลงเพศขั้นต่อไป มีคำแนะนำว่า ต้องเว้นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

หากสนใจเข้ารับการแปลงเพศสามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย ได้ที่นี่เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

ที่มาของข้อมูล

American Society of Plastic surgeons, Gender Confirmation Surgeries (https://www.plasticsurgery.org/reconstructive-procedures/gender-confirmation-surgeries), 31 August 2021.

Arch Plast Surg, Mastectomy in female-to-male transgender patients: A single-center 24-year retrospective analysis (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6759454/), 31 August 2021.

Poonpismai Suwajo, Pronthep Pungrasmi and others, The Development of Sex Reassignment Surgery in Thailand: A Social Perspective (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3977439/), 31 August 2021.

The International Center for transgender care, Mastectomy (Top Surgery) (https://thetranscenter.com/transmen/mastectomy-top-surgery/), 31 August 2021.

@‌hdcoth line chat