ร่างกายควรเผาผลาญกี่แคลต่อวัน
- ผู้ชายส่วนใหญ่ อยู่ที่ 2,200-3,000 แคลอรี่ต่อวัน
- ผู้หญิงส่วนใหญ่ อยู่ที่ 1,800-2,400 แคลอรี่ต่อวัน
แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้จำนวนพลังงานไม่ได้มีค่าตายตัว มันจะแตกต่างออกไปตามแต่ละคน และความเหมาะสมของร่างกายคนนั้นๆ ตารางเผาผลาญแคลอรี่ต่อวัน คิดแยกเป็นชั่วโมง จะช่วยให้ประมาณค่าพลังงานที่ต้องใช้ได้ดีขึ้น
ตารางเผาผลาญแคลอรี่ต่อชั่วโมง
ชนิดของกิจกรรม | ใช้พลังงานต่อชั่วโมง (Kcal) |
---|---|
กวาดพื้น | 225 แคลอรี่ |
ขี่จักรยาน | 250-600 แคลอรี่ |
ซักผ้าด้วยมือ | 240 แคลอรี่ |
ตัดหญ้า | 250-300 แคลอรี่ |
ตีกอล์ฟ ลากถุงกอล์ฟ | 300 แคลอรี่ |
ตีกอล์ฟ แบกถุงกอล์ฟเอง | 360 แคลอรี่ |
ตีกอล์ฟ, นั่งรถ | 240 แคลอรี่ |
ต่อยมวย | 464 แคลอรี่ |
ทำกับข้าว | 176 แคลอรี่ |
ทำงานบ้าน | 150-250 แคลอรี่ |
ทำสวน | 250 แคลอรี่ |
นอนหลับ | 75 แคลอรี่ |
นั่งดูโทรทัศน์ | 100 แคลอรี่ |
นั่งทำงานใช้สมอง | 110 แคลอรี่ |
บาสเก็ตบอล | 360-660 แคลอรี่ |
ปัดฝุ่น | 191 แคลอรี่ |
ปูที่นอน | 135 แคลอรี่ |
ยืน | 140 แคลอรี่ |
รีดผ้า | 150 แคลอรี่ |
รีดผ้า | 120 แคลอรี่ |
ลงนอน (ไม่หลับ) | 85 แคลอรี่ |
วอลเล่ย์บอล เล่นเพื่อสนุก | 350 แคลอรี่ |
วอลเล่ย์บอล แข่งขัน | 600 แคลอรี่ |
วิ่งเร็ว | 900-1,200 แคลอรี่ |
วิ่งเหยาะๆ | 600-750 แคลอรี่ |
ว่ายน้ำ | 260-750 แคลอรี่ |
เช็ดถูบานหน้าต่าง | 250 แคลอรี่ |
เดินขึ้นบันได | 600-1080 แคลอรี่ |
เดินขึ้นเนิน | 480-900 แคลอรี่ |
เดินช้า | 150 แคลอรี่ |
เดินธรรมดา | 300 แคลอรี่ |
เดินลงบันได | 425 แคลอรี่ |
เดินลงเนิน | 240 แคลอรี่ |
เดินเร็ว | 420-480 แคลอรี่ |
เดินเล่น | 210 แคลอรี่ |
เต้นรำ | 350 แคลอรี่ |
เต้นแอโรบิค High Impact | 406 แคลอรี่ |
เต้นแอโรบิค Low Impact | 320 แคลอรี่ |
เทนนิส เล่นเพื่อสนุก | 450 แคลอรี่ |
เทนนิส แข่งขัน | 600 แคลอรี่ |
เย็บผ้า | 115 แคลอรี่ |
เลื่อยไม้ | 515 แคลอรี่ |
เล่นวอลเล่ย์บอล | 300 แคลอรี่ |
เล่นสเก็ตปกติ | 420 แคลอรี่ |
เล่นสเก็ตแข่งความเร็ว | 700 แคลอรี่ |
เล่นเทนนิสคู่ | 360 แคลอรี่ |
เล่นเทนนิสเดี่ยว | 480 แคลอรี่ |
เล่นแบดมินตัน | 350 แคลอรี่ |
เล่นโบว์ลิ่ง | 400 แคลอรี่ |
หมายเหตุ: ปริมาณแคลอรี่ที่ใช้ต่อชั่วโมงของแต่ละบุคคลอาจไม่เท่ากัน ค่าในตารางนี้คือค่าเฉลี่ยของคนปกติ โดยทั่วไปคนที่มีน้ำหนักตัวมากเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ จะใช้พลังงานเผาผลาญสูงกว่าคนน้ำหนักเบา
ร่างกายใช้พลังงานแตกต่างกันอย่างไร
กิจกรรมแต่ละอย่าง จะใช้หลังงาน (แคลอรี่) แตกต่างกัน ซึ่งกิจกรรมใดที่มีการออกกำลังมากๆ ก็จะใช้พลังงานสูง โดยกิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดคือ “การนอนหลับ”
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในการกำหนดการใช้พลังงานอีก 7 อย่างคือ
- น้ำหนักแต่ละบุคคล: โดยผู้ที่มีน้ำหนักกายมาก จะใช้พลังงานในการดำเนินกิจกรรมมากกว่าคนน้ำหนักน้อยเนื่องจากต้องแบกรับความหืดของร่างกายมากกว่า
- เพศหญิงและชาย: เพศชายเมื่อทำกิจกรรมเดียวกันน้ำหนักตัวเท่ากัน จะใช้พลังงานมากกว่าเพศหญิงประมาณ 8-15 % ขึ้นอยู่กับการสรีระเพศของแต่ละกิจกรรม
- ความหนักเบา: การทำกิจกรรมต่างๆ ถึงแม้จะเป็นค่าวัดพลังงานของแคลอรี่ใน 1 ชั่วโมงแต่ก็ยังมีปัจจัยของความหนัก-เบา ในการทำกิจกรรมนั้นเป็นองค์ประกอบ
- การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร: ช่วงที่มีการเจริญเติบโตของรกและทารกในครรภ์ คุณแม่จำเป็นจะต้องใช้พลังงานโดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การสร้างน้ำนมของแม่ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานเช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จะต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอในช่วงนี้
- อาหาร: เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะเกิดกระบวนการย่อยอาหารที่ซับซ้อน ซึ่งกระบวนการนี้จำเป็นต้องใช้พลังงาน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารและชนิดของอาหารที่รับประทานเข้าไป ปัจจุบันมีอาหารกลุ่มที่เรียกว่า Thermic effect food คืออาหารที่ใช้พลังงามากขึ้นในการย่อยอาหาร
- การมีประจำเดือน: พบว่าเพศหญิงจะมีการใช้พลังงานมากขึ้นในช่วง luteal phase หรือช่วงหลังตกไข่จนกระทั่งมีประจำเดือน
- อายุ: วัยผู้ใหญ่จะมีการใช้พลังงานมากกว่าวัยเด็ก และเริ่มต้องการพลังงานลดลงเมื่ออายุ 40 ปีในเพศชาย และ หลังหมดประจำเดือนในเพศหญิง
ตารางข้อมูล
- ตารางปริมาณแคลอรี่ในอาหารไทย
- ตารางปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหาร
- ตารางดัชนีน้ำตาล Glycemic Index (GI)
- ตารางปริมาณพิวรีนในอาหาร
- ตารางปริมาณโซเดียมในอาหาร
ที่มาของข้อมูล
- Jennifer R. Scott, What is energy expenditure? (https://www.verywellfit.com), 12 Dec 2018
- Virtual Medical Centre, Energy Expenditure: How the body Burn Calories (https://www.myvmc.com)