placement of silicone breast surgery scaled

วางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ vs วางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ

ทำนม เสริมหน้าอกทั้งที นอกจากจะทำความรู้จักกับซิลิโคนเสริมหน้าอกแต่ละรูปแบบ หรือควรเลือกขนาดซิลิโคนให้เล็กใหญ่แค่ไหนจะตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุด

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้การทำนม เสริมหน้าอกเป็นไปอย่างสวยงามและเข้ากับสรีระร่างกายของแต่ละบุคคลมากที่สุด นั่นก็คือการคำนึงถึงตำแหน่งการวางซิลิโคนเสริมหน้าอก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ หลักๆ คือการทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ และทำนมวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ

โดยผู้เข้ารับบริการจะต้องทำความเข้าใจ และตัดสินใจร่วมกันกับศัลยแพทย์ ว่ามีตำแหน่งการวางซิลิโคนแบบไหนที่เหมาะสมบ้าง และแต่ละตำแหน่งนั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ดังนี้

ทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ

การทำนมด้วยการวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เป็นการใช้ซิลิโคนเสริมหน้าอกวางอยู่เหนือกล้ามเนื้อหน้าอกเราทั้งหมด มีวิธีการผ่าตัดที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาผ่าตัดไม่นาน ผู้เข้ารับบริการยังสามารถฟื้นตัวได้เร็ว เนื่องจากไม่มีอาการบาดเจ็บที่ชั้นกล้ามเนื้ออีกด้วย

การทำนมโดยวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เป็นเทคนิคการเสริมหน้าที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อ หรือไขมันบริเวณเต้านมค่อนข้างมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะกล้ามเนื้อจะช่วยยึดเกาะซิลิโคนได้ดี หลังทำจะช่วยให้หน้าอกมีทรงกลมสวยแลดูเป็นธรรมชาติ

แต่ถ้ามีการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่มากๆ และวางซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ ก็มีโอกาสที่จะทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยได้ง่าย และทำให้เกิดพังผืดดึงรั้งเนื้อหน้าอกจนหน้าอกผิดรูปได้ในอนาคต จึงจำเป็นต้องดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเสริมนมตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ในผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อย ผิวบางบริเวณเต้านมบาง แล้วฝืนทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อก็มีโอกาสที่จะทำให้เห็นขอบซิลิโคนขึ้นเป็นริ้วรอยเห็นชัด

ข้อดีของการทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ

  • ขั้นตอนการผ่าตัดศัลยกรรมไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาผ่าตัดไม่นาน
  • ไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บในชั้นกล้ามเนื้อ ช่วยลดระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัด
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อหน้าอก ไขมันหน้าเยอะ
  • มอบผลลัพธ์หลังเสริมอกเป็นทรงกลมสวยแลดูเป็นธรรมชาติ

ข้อเสียของการทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ

  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อย ผิวบาง เพราะอาจทำให้เห็นขอบซิลิโคนชัดเจน
  • หน้าอกมีโอกาสหย่อนคล้อยในอนาคตหากใส่ซิลิโคนขนาดใหญ่
  • มีโอกาสเกิดพังผืดรั้งผิวเนื้อหน้าอกจนทำให้ซิลิโคนผิดได้ในอนาคต
  • ไม่สามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากบริเวณต่อมน้ำนมอาจมีสารปนเปื้อนจากซิลิโคน

ทำนมวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ

การทำนมวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ หมายถึง การสอดซิลิโคนเข้าไปด้านในเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกคลุมซิลิโคนทั้งหมด ถือเป็นเทคนิคการเสริมหน้าอกที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องอาศัยความชำนาญการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และอาจต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นที่ค่อนข้างนาน

การวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อเหมาะกับปัญหาหน้าอกทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อย เพราะช่วยมอบสัมผัสเหมือนได้จับเนื้อนมธรรมชาติ มองไม่เห็นขอบซิลิโคน และเนื่องจากกล้ามเนื้อรองรับซิลิโคนเอาไว้ ก็ทำให้โอกาสเคลื่อนที่ของซิลิโคนจากตำแหน่งที่วางไว้น้อย

หากมีการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก มีโอกาสทำให้เห็นขอบซิลิโคนชัด และในระยะยาวหากขาดการดูแลตัวเองที่ถูกต้องเหมาะสม หรือเสริมหน้าอกทำนมกับแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ อาจทำให้เกิดภาวะเต้านมซ้อนในอนาคตได้ รวมถึงภาวะที่ถุงซิลิโคนลงมากองใต้กล้ามเนื้อส่งผลให้หัวนมทิ่มลงด้านล่าง และเต้านมฟีบแบนได้

ข้อดีของการทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ

  • เหมาะสำหรับปัญหาหน้าอกทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อย
  • มอบผลลัพธ์หลังเสริมหน้าอกเป็นทรงสวยแลดูเป็นธรรมชาติ
  • เต้านมแลดูเต่งตึงกระชับ มีโอกาสการหย่อนคล้อยน้อย เนื่องจากมีกล้ามเนื้อคอยรองรับซิลิโคน
  • ผิวหน้าอกเรียบเนียน ไม่เห็นขอบซิลิโคน
  • โอกาสการเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่วางไว้ พลิก หรือผิดรูปของซิลิโคนเกิดขึ้นได้น้อย

ข้อเสียของการทำนมวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ

  • ขั้นตอนการผ่าตัดมีความซับซ้อน ต้องทำนมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • ใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน และอาจต้องรอหน้าอกเข้าที่นานมากถึง 6 เดือน
  • มีโอกาสเกิดภาวะเต้านมซ้อน เต้านมรูปท่อในอนาคต

ทำนมวางซิลิโคนแบบ Dual Plane กึ่งใต้กล้ามเนื้อ

นอกเหนือไปจากเทคนิคการทำนมวางซิลิโคนเหนือชั้นกล้ามเนื้อ และใต้กล้ามเนื้อแล้ว ปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งเทคนิคการวางซิลิโคนที่ได้รับความนิยมคือ Dual Plane

Dual Plane หรือที่เรียกว่าการวางซิลิโคนแบบกึ่งใต้กล้ามเนื้อ เป็นการรวบรวมเอาจุดเด่นของเทคนิคทำนมทั้งแบบเหนือกล้ามเนื้อและใต้กล้ามเนื้อเข้าไว้ด้วยกัน โดยจะวางซิลิโคนไว้ใต้กล้ามเนื้อบางส่วน ให้บริเวณด้านบนซิลิโคนวางตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อ และส่วนล่างของซิลิโคนจะอยู่เหนือกล้ามเนื้อ

ผลลัพธ์หลังทำนมด้วยการวางซิลิโคนแบบ Dual Plane จะออกมาสวยงาม มองไม่เห็นขอบซิลิโคน เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติและดูเป็นธรรมชาติ

เทคนิคการวางซิลิโคนแบบกึ่งใต้กล้ามเนื้อยังช่วยลดการเกิดพังผืดได้ดี และลดปัญหาหน้าอกหย่อนยาน หย่อนคล้อยในอนาคตได้อีกด้วย

การดูแลตัวเองหลังทำนม เสริมหน้าอก

ถึงแม้ว่าคุณจะตัดสินใจได้แล้วว่าควรเลือกเทคนิคการวางซิลิโคนตำแหน่งไหนดีให้เหมาะสมกับสรีระ ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจ และปลอดภัยในระยะยาว

แต่ขณะเดียวกัน หลังทำนมก็ควรดูแลตัวเองให้ถูกต้อง ถูกวิธี เพื่อให้หน้าอกที่ทำมานั้นอยู่ทรงสวย ดูเป็นธรรมชาติและอยู่กับเราได้นานมากที่สุด ดังนี้

  • หมั่นใส่ซัพพอร์ตบราเพื่อช่วยพยุงเต้านมให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด ซึ่งควรใส่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ หรือตามแพทย์แนะนำ
  • เลี่ยงการทำกิจกรรมที่ออกแรงเยอะ หรือมีการเคลื่อนบริเวณหน้าอกมากเกินไป เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกาย วิ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้แผลผ่าตัดปริแตกได้แล้ว ยังอาจส่งผลให้ซิลิโคนเคลื่อน หรือผิดรูปได้
  • หลังผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน ควรนวดหน้าอกเพื่อลดโอกาสการเกิดพังผืดดึงรั้งซิลิโคน โดยนวดให้ถูกวิธีตามที่แพทย์แนะนำ เพราะอาจกระทบกับแผลผ่าตัดได้
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดรูป ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว โดยเฉพาะเสื้อที่มีกระดุมหน้า เพื่อเป็นการป้องกันแผลผ่าตัดทำนมถูกกดทับ
  • แนะนำรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีนสูง เพื่อเร่งให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น
  • รับประทานยา และปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคตำแหน่งการวางซิลิโคนสำหรับเสริมหน้าอกที่ควรรู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการศัลยกรรมทำนม

สำหรับผู้ที่ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่าเราเหมาะกับตำแหน่งการวางซิลิโคนตำแหน่งไหน แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสรีระร่างกาย ขนาดหน้าอก ขนาดซิลิโคน เทคนิคในการทำนม ไปจนถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้แน่ชัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงใจและปลอดภัยมากที่สุด

Scroll to Top