HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ตาแดงอาจเป็นได้ทั้งโรคตาแดงทั่วไปที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือ “เป็นอาการนำของโรคโควิด-19” ที่เกิดก่อนอาการระบบทางเดินหายใจ หรืออีกกรณีหนึ่งอาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อโควิด-19 ระดับรุนแรงได้
- มีรายงานเกี่ยวกับการพบอาการตาแดงในผู้ป่วยโควิดไม่มาก เพียง 1-3% เท่านั้น รวมทั้งพบว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงอาการทางตาเพียงอย่างเดียว เพียง 0.8-31 %
- หลังผลตรวจโควิดเป็นบวก หรือติดเชื้อ สิ่งแรกที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือ การติดต่อกับหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อรีบรักษาอาการป่วยโควิด-19 ก่อน เนื่องจากตาแดงแทบไม่มีอันตราย และไม่จัดเป็นอาการเร่งด่วน
- ระหว่างรับการรักษาโควิด-19 ผู้ป่วยควรรักษาอาการตาแดงตามอาการ เช่น ควรหยุดใช้คอนแทคเลนส์ เปลี่ยนมาใส่แว่นสายตาก่อน จนกว่าอาการตาแดงจะหายสนิท ใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตาเพื่อลดการอักเสบ
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศมาจากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะสายพันธุ์เดลตา อัลฟา เบตา แต่ละสายพันธุ์ก็มีอาการเด่นแตกต่างกันไป เช่น มีไข้ อาเจียน ท้องเสีย จมูกไม่รับกลิ่น ลิ้นไม่รับรส มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง
ตาแดงจากการป่วยโควิด-19 คือ หนึ่งในอาการที่อยู่ในความสนใจของหลายๆ คนว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน สามารถรักษาและป้องกันได้อย่างไร
HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ
ตาแดงจากการป่วยโควิด-19 เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ เป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยจากการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตา (Beta) ซึ่งใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.351 ที่ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อ 18 ธันวาคม 2020
โดยปกติแล้ว อาการตาแดงสามารถเกิดได้จาก 3 สาเหตุดังนี้
- ตาแดงจากโรคภูมิแพ้
- ตาแดงจากการติดเชี้อไวรัส
- ตาแดงจากการติดแบคทีเรีย
สำหรับตาแดงจากการติดเชื้อนั้น เกิดจากสารคัดหลั่งในดวงตาได้รับเชื้อไวรัสต่างๆ โดยเฉพาะเชื้ออะดีโนไวรัส (adenovirus) ที่พบบ่อย เชื้อโควิด-19 หรือเชื้อแบคทีเรีย เชื้อเหล่านี้อาจมีที่จากน้ำตา น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อนั้นๆ
พบได้ทั้งการที่ดวงตาสัมผัสละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียโดยตรง หรืออาจเกิดจากนิ้วมือไปสัมผัสเชื้อที่มีสิ่งของต่างๆ แล้วมาสัมผัสดวงตา หรือขยี้ดวงตาต่อ ทำให้เกิดอาการตาแดง เปลือกตาอักเสบตามมา
อาการดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งการติดเชื้อโรคตาแดง โรคหวัด หรือเป็นได้ทั้ง “อาการนำของโรคโควิด-19” ที่เกิดก่อนอาการระบบทางเดินหายใจ หรืออีกกรณีหนึ่งอาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อโควิด-19 ระดับรุนแรงได้
ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่า อาการตาแดงมีสาเหตุจากการติดเชื้อโควิดจริง ควรพิจารณาอาการระบบทางเดินหายใจประกอบ เช่น อาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ
หากมีอาการดังกล่าวร่วมควรรีบตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Rapid Test) หรือเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ตามสถานพยาบาล
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเกี่ยวกับการพบอาการตาแดงในผู้ป่วยโควิดไม่มาก เพียง 1-3% เท่านั้น รวมทั้งพบว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงอาการทางตาเพียงอย่างเดียว เพียง 0.8-31 %
อาการตาแดงจากการป่วยโควิด-19 เป็นอย่างไร?
เมื่อเกิดการติดเชื้อไม่ว่าจะจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือเชื้ออื่นๆ เนื้อเยื่อบุตาซึ่งครอบคลุมส่วนสีขาวของตา หรือด้านในของเปลือกตา จะเกิดอาการเหล่านี้ตามมา
- ตาแดง
- เยื่อบุตาอักเสบ หรือบวม
- คัน ระคายเคืองดวงตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
- น้ำตาไหลออกผิดปกติ บางรายน้ำตาไหลเกือบตลอดเวลา
- มีขี้ตาใสๆ ลักษณะคล้ายเมือกจำนวนมาก
- ปวดในเบ้าตาเล็กน้อย
อาการตาแดงจากการป่วยโควิด-19 อันตรายไหม?
อาการตาแดงจากการป่วยโควิด-19 แล้ว หลังผลตรวจโควิดเป็นบวก หรือติดเชื้อ สิ่งแรกที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือ การติดต่อกับหน่วยงานสาธารณสุข (หากเป็นกรณีการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง) เพื่อรีบรักษาอาการป่วยโควิด-19 ตามการประเมินของแพทย์ว่า “จัดอยู่ในกลุ่มอาการใด” ก่อน
ทั้งนี้การเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกวิธี จะช่วยชะลอการดำเนินโรคโควิด-19 ลดความรุนแรงของอาการ และลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้นั่นเอง
ส่วนอาการตาแดงที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อเทียบกับอาการป่วยโรคโควิด-19 แล้ว นับว่า "แทบไม่มีอันตรายและไม่จัดเป็นอาการเร่งด่วนต้องรีบรักษา" เช่นเดียวกับอาการทางกายอื่นๆ ที่ปรากฏในช่วงป่วยโควิด เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย
อาการตาแดงจากการป่วยโควิด-19 รักษาได้อย่างไร?
ระหว่างรับการรักษาโควิด-19 ผู้ป่วยควรรักษาอาการตาแดงตามอาการ ดังนี้
- หากเป็นผู้ใช้คอนแทคเลนส์ควรหยุดใช้ เปลี่ยนมาใส่แว่นสายตาก่อนจนกว่าอาการตาแดงจะหายสนิท
- ใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง
- ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตาเพื่อลดการอักเสบ
- อาจใช้ยาหยอดตาตามที่แพทย์แนะนำ
โดยทั่วไปอาการตาแดงมักหายภายใน 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ การดูแลรักษา รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของคนไข้แต่ละราย เช่น อาการกระจกตาอักเสบจากการที่เชื้อไวรัสลุกลามไปที่กระจกตา ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวอาจจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการตาแดงในระหว่างรักษาโควิด หากพบว่า มีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดตามาก จนถึงขั้นปวดรุนแรง
- สายตาพร่ามัว ตาไม่สู้แสง
- การมองเห็นลดลง
- ตาแดงจัด
- มีจุดขาวเล็กๆ ที่กระจกตานานนับเดือน
ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลถึงแนวทางการรักษาอาการตาแดง ความเป็นไปได้ในการขอเข้ารับตรวจดวงตาจากจักษุแพทย์อย่างละเอียด ก่อนที่ดวงตาจะเกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น
ป้องกันอาการตาแดงจากการป่วยโควิด-19 ได้อย่างไร?
วิธีที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลเช่นเดียวกันกับป้องกันโควิด-19 ได้แก่
- การใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน หรือใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า 1 ชั้นเมื่ออยู่ในบ้าน
- การใส่แว่นตาขนาดใหญ่ หรือใส่เฟซชิลด์ เพื่อปกป้องดวงตา
- รักษาระยะห่างทางสังคม
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ และควรล้างมือทันทีที่สัมผัสใบหน้า ดวงตา หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยโควิด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดวงตา หรือขยี้ตา เพราะจะทำให้อาการแย่ลง หรือทำให้ดวงตาอีกข้างติดเชื้อได้
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม
- ควรเปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เพื่อป้องกันเชื้อสะสมที่ปลอกหมอน
- ทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิทช์ไฟ โทรศัพท์
- หากเป็นผู้ใช้คอนแทคเลนส์ ในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดควรหยุดใช้ ยิ่งหากมีอาการตาแดงจนกว่าอาการจะหายสนิท
- พักการใช้สายตา โดยเฉพาะการเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
อาการตาแดงจากโควิด-19 แม้จะพบได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นกับใคร อย่ารีรอว่า ควรรักษาตาแดงก่อนไหม ควรรีบเข้ารับการรักษาโควิด-19 ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อลดอาการป่วยหนัก ลดโอกาสการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
นายแพทย์ศักดื์ชัย วงศกิตติรักษ์, "คู่มือสุขภาพตาดี สำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์" (http://www.rcopt.org/2009/covereye1.php), 10 สิงหาคม 2564.
แพทย์หญิงวรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย, โควิด-19 กับดวงตา (https://www.facebook.com/AllAb... สิงหาคม 2564.
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิลาวัณย์ พวงศรีเจริญ, ตาแดงจากการติดเชื้อโควิด-19 เป็นอย่างไร (https://chulalongkornhospital.... สิงหาคม 2564.
David Hutton, Researchers identify pink eye as possible primary symptom of COVID-19 (https://www.ophthalmologytimes.com/view/coronavirus-pink-eye-symptoms), 10 August 2021.
Mary West, Is pink eye a symptom of COVID-19? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/pink-eye-covid), 10 August 2021.
Paul Frysh, COVID-19 and Your Eyes (https://www.webmd.com/eye-health/covid-19-and-your-eyes), 10 August 2021.
Zeynep Kayaarasi Ozturker, Conjunctivitis as sole symptom of COVID-19: A case report and review of literature (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7383095/), 10 August 2021.