คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่า เพราะอะไร


ผ่าคลอด-คลอดธรรมชาติ-แม่และทารก

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเนื่องจากมีความปลอดภัยต่อแม่และลูกมาก และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีความพร้อม
  • การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด (Cesarean Section หรือ C-Section) คือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้องและมดลูกเพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ
  • การคลอดธรรมชาติจะมีช่วงเวลาในการเจ็บท้องนานหลายชั่วโมง เนื่องจากมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ นั่นเอง จากนั้นต้องรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างมากพอก่อนจึงจะคลอดได้ แต่เป็นวิธีที่ไม่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
  • การผ่าคลอดจะช่วยลดระยะเวลาในการเจ็บท้องจึงเจ็บท้องน้อยกว่า และใช้เวลาในการคลอดเพียง 45 นาที-1 ชั่วโมง แต่ก็เป็นวิธีที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ การระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน
  •  เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือแอดไลน์ @hdcoth

คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอดแบบไหนดีกว่ากัน เพราะอะไร คงเป็นสิ่งที่ว่าคุณแม่หลายคนสงสัยอยากรู้ เพราะเคยได้ยินแต่เขาพูดๆ กันต่อมาว่า คลอดวิธีนี้ดีอย่างนั้น คลอดวิธีนั้นดีอย่างนี้ จึงไม่แน่ใจว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร HDmall.co.th มีคำตอบ

คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่า? เพราะอะไร?

การคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเนื่องจากมีความปลอดภัยต่อแม่และลูกมาก และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีความพร้อม เช่น อุ้งเชิงกรานกว้าง ทารกอยู่ในท่ากลับหัวแล้ว ทารกตัวไม่ใหญ่มากจนเสี่ยงภาวะคลอดติดไหล่ (Shoulder Dystocia)

การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด (Cesarean Section หรือ C-Section)คือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้องและมดลูกเพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพที่ตรวจพบมาก่อน เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ อุ้งเชิงกรานแคบ ทารกไม่กลับหัว 

หรือมีความจำเป็นต้องคลอดเร่งด่วน เพื่อช่วยชีวิตแม่และทารกไว้ก่อน เช่น การคลอดก่อนกำหนด คลอดธรรมชาติแล้วยังไม่สามารถคลอดได้สำเร็จ ที่เรียกว่า “ภาวะคลอดเนิ่นนาน”

จะเห็นได้ว่า คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอดมีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะบอกว่า การคลอดวิธีไหนดีกว่ากันนั้นจึงต้ัองพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างๆ ไป

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของคลอดธรรมชาติ และผ่าคลอด

  • ค่าใช้จ่าย
    • คลอดธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายไม่สูง
    • ผ่าคลอด ค่าใช้จ่ายสูง
  • กำหนดเวลาคลอดและระยะเวลาในการคลอด
    • คลอดธรรมชาติ กำหนดวันเวลาได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายแม่ เช่นปากช่องคลอดเปิดกว้างมากพอหรือยัง ด้วยเหตุนี้จึงใช้ระยะเวลาในการคลอดนาน
    • ผ่าคลอด กำหนดวันเวลาได้แน่นอน หรือฤกษ์ยามในการลืมตาดูโลกของลูกได้ ทำให้สามารถวางแผนเตรียมการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และใช้เวลาในการคลอดเพียง 45-1 ชั่วโมง
  • ความเสี่ยงและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด
    • คลอดธรรมชาติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
    • ผ่าคลอด การผ่าตัดมีโอกาสพลาดลงมีดไปโดนอวัยวะอื่นที่อยู่ข้างเคียง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ การระงับความรู้สึกและภาวะจากการผ่าตัดได้ เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน
  • ผลกระทบต่อสุขภาพทารก
    • คลอดธรรมชาติ ลูกจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ผ่านทางปากสู่ลำไส้ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานโรค ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ได้ นอกจากนี้การคลอดธรรมชาติยังช่วยรีดของเหลวออกจากปอดของทารก จึงไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจตามมา เช่น การหายใจเร็ว เหนื่อยหอบ
    • ผ่าคลอด ลูกจะไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ และเจ็บป่วยได้ง่าย รวมทั้งทารกยังมีโอกาสขาดออกซิเจน ตัวเขียวได้
  • การฟื้นตัวหลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ เสียเลือดน้อย คุณแม่จึงอ่อนเพลียไม่มาก ไม่เหนื่อยจนเกินไป ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว
    • ผ่าคลอด เสียเลือดมากเป็นสองเท่าของการคลอดธรรมชาติ จึงอ่อนเพลียมากกว่าและต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นตัว
  • ความพร้อมในการให้นม
    • คลอดธรรมชาติ หากแม่ไม่มีภาวะสุขภาพใดๆ สามารถให้นมทารกได้ทันทีภายใน 30 นาทีหลังคลอด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการกระตุ้มต่อมน้ำนมแม่ให้เริ่มทำงาน
    • ผ่าคลอด แม่ต้องได้รับการพักฟื้นดีก่อนจึงสามารถให้นมลูกได้
  • การดูแลแผล
    • คลอดธรรมชาติ บาดแผลที่เกิดขึ้นจากการคลอดบริเวณฝีเย็บจะมีขนาดเล็กจึงสมานตัวได้เร็ว และมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก
    • ผ่าคลอด มีบาดแผลขนาดใหญ่ที่หน้าท้องและมดลูก หลังคลอดจำเป็นต้องดูแลแผลอย่างดี ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการอักเสบ ติดเชื้อ แผลปริ แผลแยก รวมทั้งต้องดูแลแผลเป้นที่หน้าท้องด้วย
  • ความเสี่ยงในคลอดครั้งต่อๆ ไป
    • คลอดธรรมชาติ ลดโอกาสการเกิดรกเกาะต่ำ รกติดแน่น ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อๆ ไปได้
    • ผ่าคลอด หากเป็นการผ่าตัดคลอดที่มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไปมีโอกาสจะมีพังผืดในช่องท้องค่อนข้างมาก และการผ่าตัดในครั้งต่อไปจะยากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสเกิดภาวะรกเกาะต่ำ รกเกาะติดแน่น และหากเจ็บท้องคลอด
      มากๆ มดลูกแตกมีโอกาสแตกได้มากขึ้น

คลอดแบบไหนเจ็บกว่า?

การคลอดธรรมชาติจะมีช่วงเวลาในการเจ็บท้องนานหลายชั่วโมง เนื่องจากมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ นั่นเอง จากนั้นต้องรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างมากพอก่อนจึงจะคลอดได้ 

เมื่อถึงเวลาคลอด คุณหมอจะกรีดฝีเย็บเพื่อให้สะดวกแก่การคลอด ซึ่งขั้นตอนนี้แม่ส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกเจ็บเพราะจดจ่ออยู่กับการเบ่งคลอด และการปวดท้องคลอดมากกว่า จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยในขั้นตอนการเย็บแผลเท่านั้น บางรายอาจต้องได้รับยาชาในขั้นตอนนี้

ส่วนการผ่าคลอดจะช่วยลดระยะเวลาในการเจ็บท้องจึงเจ็บท้องน้อยกว่า ในขณะผ่าคลอดแม่จะได้รับการดมยา หรือการระงับความรู้สึก ซึ่งทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดนั่นเอง จนกว่าเมื่อยาชาหมดฤทธิ์จึงเริ่มเจ็บแผลมากขึ้นตามลำดับ 

อาการเจ็บปวดนี้จะคงอยู่หลายวันจนกว่าแผลจะสมานตัวติดกันดีแล้ว อีกทั้งแม่ยังหมั่นเคลื่อนไหวบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพังผืด และต้องระมัดระวังการออกแรง การยกของ เพราะอาจทำให้แผลแยก แผลปริแตกได้

ไม่ว่าคุณแม่จะตัดสินใจเลือกคลอดวิธีไหน สุดท้ายแล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของคุณแม่ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งความพร้อมของร่างกายคุณแม่ ณ เวลานั้นด้วย ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีคลอดที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุดในแต่ละราย

ว่าที่คุณแม่สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่ตรงใจ คุ้มค่ากับงบประมาณได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยมีจิ๊บใจดี เสียงใสคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

ที่มาของข้อมูล

รศ.นพ.วิทยา ภิฐาพันธ์, จะคลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด ดีนะ? (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=430), 1 เมษายน 2564.

Brian Krans, C-Section (Cesarean Section) (https://www.healthline.com/health/c-section), 26 March 2021.

Erica Hersh, What You Need to Know About Natural Birth (https://www.healthline.com/health/pregnancy/natural-birth), 25 March 2021.

Hedwige Saint Louis, MD, MPH, FACOG, Cesarean Delivery (https://emedicine.medscape.com/article/263424-overview), 26 March 2021.

Judith A. Lothian, Why Natural Childbirth? (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1595040/), 25 March 2021.

NHS, Caesarean section (https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/), 26 March 2021.

The Healthline Editorial Team, What to Expect During a Vaginal Delivery (https://www.healthline.com/health/pregnancy/intrapartum-care-vaginal-delivery), 25 March 2021.

WebMD, Childbirth: The Stages of Delivery (https://www.webmd.com/baby/features/childbirth-stages-delivery#3), 25 March 2021.

@‌hdcoth line chat