อาการแพ้ท้อง ควรดูแลอย่างไร? เมื่อไหร่ควรพบแพทย์?


อาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้อง (Hyperemesis gravidarum (HG)) คือ อาการที่หญิงตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยจะเป็นมากในช่วงเช้าขณะท้องว่าง (Morning sickness) ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย

มากกว่าครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง (คลื่นไส้ อาเจียน) โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) อาการแพ้ท้องจะพบได้ทุกช่วงเวลาของวัน ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าลูกของคุณป่วยและไม่เป็นอันตรายต่อคุณหรือลูกน้อย

อาการแพ้ท้องมักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยทั่วไปมักมีอาการไม่รุนแรง และหายไปตอนช่วงกลางๆ ของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์บางรายไม่มีอาการแพ้ท้องเลยตลอดเวลาของการตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์

  • มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเจ็บป่วย
  • รู้สึกเวียนศีรษะ หรือง่วงนอน
  • มีอาการอาเจียนรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นหลายครั้งต่อวัน จนไม่สามารถรับประทานอาหารได้
  • อาเจียนจนไม่สามารถรักษาของเหลวหรืออาหารไว้ในกระเพาะอาหารได้เลย และน้ำหนักตัวลดลง
  • คุณคิดว่าอาการคลื่นไส้เกิดจากการรับประทานธาตุเหล็กที่อยู่ในวิตามินบำรุงขณะตั้งครรภ์
  • คุณต้องการใช้ยารักษาอาการแพ้ท้อง หรือลองรักษาอาการแพ้ท้องด้วยวิธีอื่น เช่น การฝังเข็ม

การดูแลตัวเองช่วงแพ้ท้อง

  • รับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ อาจแบ่งเป็น 5 หรือ 6 มื้อ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องว่าง
  • รับประทานวิตามินรวมบำรุงขณะตั้งครรภ์เสมอ ช่วยให้อาการแพ้ท้องรุนแรงน้อยลง แต่อย่ารับประทานวิตามินขณะท้องว่างเพราะจะทำให้อาการคลื่นไส้ อาเจียนแย่ลง
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • ก่อนลุกจากเตียงนอน ให้รับประทานแครกเกอร์ ขนมปังปิ้งแห้ง หรือซีเรียลแห้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดและอาหารมัน
  • เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ ให้รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าว กล้วย ซุปไก่ เจลาติน
  • ขณะมีอาการคลื่นไส้ ให้จิบน้ำเย็น น้ำชาอ่อนๆ หรือน้ำโซดา เพื่อบรรเทาอาการ

บทความแนะนำ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat