การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายเทคนิคเมตตอยด์ แปลงเพศหญิงเป็นชายคืออะไร?


ผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย-เทคนิคเมตตอยด์-ชายข้ามเพศ FTM

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • เทคนิคการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ (Metoidioplasty) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Meta เป็นการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายด้วยการใช้เนื้อเยื่อคลิตอริสที่ขยายตัวขึ้น หลังจากใช้ฮอร์โมนเพศชายมาอย่างน้อย 1 ปี 
  • อิทธิพลจากการได้รับฮอร์โมนเพศชายยังทำให้คลิตอริสขยายใหญ่ขึ้น บางคนอาจมีขนาด 7-10 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเหล่านี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละคน และเชื้อชาติด้วย
  • เทคนิคการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์แบ่งการผ่าตัดได้เป็น 2 รูปแบบคือ แบบไม่ต่อท่อปัสสาวะ ซึ่งหลังผ่าตัดไม่สามารถยืนปัสสาวะได้ และแบบต่อท่อปัสสาวะ ซึ่งหลังผ่าตัดสามารถยืนปัสสาวะได้
  • อวัยวะเพศชายที่ผ่าตัดด้วยเทคนิคเมตตอยด์จะมีขนาดเล็ก แม้จะสามารถรับรู้ความรู้สึกเมื่อถูกกระตุ้นทางเพศ และถึงจุดสุดยอดได้ แต่จะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ได้
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย หรือแอดไลน์ @hdcoth

การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายถือเป็นฝันสูงสุดของผู้ต้องการข้ามเพศจากหญิงเป็นชาย แต่การที่ขั้นตอนนี้จะสำเร็จได้นั้นก็ต้องมีการวางแผนอย่างดีและรัดกุมที่สุด

การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายเทคนิคเมตตอยด์เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า เทคนิคนี้คืออะไร มีวิธีการผ่าตัดอย่างไร และผลลัพธ์เป็นอย่างไร

HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ เพื่อประกอบการตัดสินใจ หากต้องการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้

การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ คืออะไร?

เทคนิคการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ (Metoidioplasty) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า "เมตะ (Meta)" เป็นการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายด้วยการใช้เนื้อเยื่อคลิตอริสที่ขยายตัวขึ้น

เหตุที่เลือกใช้เนื้อเยื่อคลิตอริส เนื่องจากก่อนจะมาถึงขั้นตอนนี้ผู้เข้ารับบริการแปลงเพศหญิงเป็นชายจะต้องได้รับฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือเทสโทสเตอโรน มาอย่างน้อย 1 ปี 

จุดมุ่งหมายของการรับฮอร์โมนเพศชายเพื่อทำให้รังไข่ซึ่งทำหน้าผลิตฮอร์โมนเพศหญิงทำงานน้อยลง และเปลี่ยนแปลงสรีระให้มีความเป็นผู้ชายมากขึ้น เช่น มีมัดกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เริ่มมีหนวด มีเครา ผิวหนังหยาบขึ้น รูขุมขนกว้าง เสียงใหญ่ขึ้น 

ไม่เพียงเท่านั้น อิทธิพลจากการได้รับฮอร์โมนเพศชายยังทำให้คลิตอริสขยายตัวขึ้น โดยมีขนาด 6-10 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเหล่านี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อฮอร์โมนของร่างกายแต่ละคนและแต่ละเชื้อชาติด้วย

การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ มีขั้นตอนอย่างไร?

แม้จะใช้เนื้อเยื่อคลิตอริสมาสร้างอวัยวะเพศชาย แต่เทคนิคการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ก็แบ่งการผ่าตัดได้เป็น 2 รูปแบบ

1.เทคนิคการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ ไม่ต่อท่อปัสสาวะ

ศัลยแพทย์จะค่อยๆ เลาะคลิตอริสออกมาจากเนื้อเยื่อรอบๆ โดยระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือนเส้นประสาท และไม่ทำให้ท่อปัสสาวะเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วยืดขนาดของคลิตอริสให้ได้ตามต้องการ ตัดแต่งให้ได้รูปทรงอวัยวะเพศชาย

วิธีนี้แม้จะได้อวัยวะเพศใหม่คล้ายรูปทรงคล้ายอวัยวะเพศชายก็จริง แต่ผู้เข้ารับบริการยังคงต้องปัสสาวะโดยการนั่งเช่นเดิม เนื่องจากท่อปัสสาวะยังมีขนาดสั้นตามเดิม ปัสสาวะจึงพุ่งลงต่ำ ไม่สามารถยืนปัสสาวะแบบผู้ชายได้ 

อาจเรียกได้ว่า เทคนิคเมตตอยด์แบบไม่ยืดท่อปัสสาวะ เป็นการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเริ่มแรก หรือ Beginer ก็ว่าได้

ระยะเวลาในการผ่าตัด: การผ่าตัดแบบไม่ต่อท่อปัสสาวะจะใช้เวลาในการผ่าตัดเพียง 2-3 ชั่วโมง ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3-5 วัน และต้องกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 2 สัปดาห์

2.เทคนิคการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ ต่อท่อปัสสาวะ

ศัลยแพทย์จะค่อยๆ เลาะเนื้อเยื่อจากช่องคลอดมาม้วนเป็นท่อปัสสาวะและเชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะเดิม ก่อนจะใส่ท่อนี้ลงไปที่คลิตอริสที่จะตัดแต่งให้เป็นอวัยวะเพศชายตามขนาดที่คลิตอริสสามารถยืดได้

วิธีนี้จะได้อวัยวะเพศใหม่คล้ายรูปทรงคล้ายอวัยวะเพศชาย พอจะสามารถยืนปัสสาวะได้ เพราะท่อปัสสาวะมีความยาวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์มักแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการปัสสาวะในห้องน้ำแยกมากกว่าไปยืนที่โถปัสสาวะรวม เพื่อป้องกันความอับอายในเรื่องของขนาดอวัยวะเพศนั่นเอง

ระยะเวลาในการผ่าตัด: การผ่าตัดแบบต่อท่อปัสสาวะจะใช้เวลาในการผ่าตัด 5-6 ชั่วโมง ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน และกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1 เดือน ก็สามารถยืนปัสสาวะแบบผู้ชายได้

ผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ จะได้น้องชายใหญ่ ยาวแค่ไหน?

อวัยวะเพศชายที่ได้จากการผ่าตัดแบบเมตตอยด์ทั้งแบบต่อท่อปัสสาวะและไม่ต่อท่อปัสสาวะ โดยทั่วไปจะมีขนาดเพียง 1.5 - 2.5 นิ้ว เทียบเท่าอวัยวะเพศของเด็กชายอายุไม่เกิน 10 ปี 

เช่นเดียวกับความใหญ่ของอวัยวะเพศที่ถูกจำกัดด้วยปริมาณเนื้อเยื่อที่มี และที่สำคัญต้องมีสัดส่วนสอดคล้องกับความยาวเพื่อความสวยงามของอวัยวะเพศด้วยนั่นเอง

เหตุที่ไม่สามารถทำให้อวัยวะเพศยาวและใหญ่ได้มากกว่านี้ เนื่องจากเมตตอยด์เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่อาศัยเนื้อเยื่อที่ขยายตัวเพิ่มของคลิตอริสมาทำนั่นเอง

ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ขนาดของคลิตอริสที่เพิ่มขึ้นในแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อฮอร์โมนและเชื้อชาติ เช่น ขนาดคลิตอริสของชาวแอฟริกาก็จะใหญ่กว่าชาวยุโรปและชาวเอเชีย

ผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ จะสามารถมี Sex แบบสอดใส่ได้ไหม?

อวัยวะเพศชายที่ได้จากการผ่าตัดแบบเมตตอยด์ทั้งแบบต่อท่อปัสสาวะและไม่ต่อท่อปัสสาวะ แม้ว่าแพทย์จะสามารถรักษาเส้นประสาทรับรู้ความรู้สึกไว้ได้ ทำให้เมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศแล้วจะมีอารมณ์

แต่ด้วยความที่อวัยวะเพศมีขนาดเล็กและสั้น จึงไม่สามารถมี sex แบบสอดใส่ได้ แต่หากให้คู่ช่วยใช้มือ หรือช่วยตัวเองก็จะสามารถถึงจุดสุดยอดได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์แนะนำว่า หลังผ่าตัดควรทิ้งระยะเวลาให้บาดแผลหายดี เส้นประสาทฟื้นตัวดีก่อนอย่างน้อยราว 3-6 เดือน จึงจะสามารถมีกิจกรรมทางเพศได้

การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายด้วยเทคนิคเมตตอยด์ แม้จะได้อวัยวะเพศชายที่มีขนาดเล็ก มีออฟชั่นน้อย แต่ก็ช่วยให้ผู้ต้องการข้ามเพศไปเป็นชาย “มีความสุข” กับสรีระใหม่นี้ได้ โดยไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัดมากนัก 

อีกทั้งการผ่าตัดสองแบบนี้ยังมีราคาผ่าตัดไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายด้วยเทคนิคฟาลโล หรือฟาโรห์

หากสนใจเข้ารับการแปลงเพศสามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย ได้ที่นี่เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Arch Plast Surg, Mastectomy in female-to-male transgender patients: A single-center 24-year retrospective analysis (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6759454/), 9 September 2021.
  • American Society of Plastic surgeons, Gender Confirmation Surgeries (https://www.plasticsurgery.org/reconstructive-procedures/gender-confirmation-surgeries), 9 September 2021.
  • Poonpismai Suwajo, Pronthep Pungrasmi and others, The Development of Sex Reassignment Surgery in Thailand: A Social Perspective (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3977439/), 9 September 2021.
  • The International Center for transgender care, Mastectomy (Top Surgery) (https://thetranscenter.com/transmen/mastectomy-top-surgery/), 9 September 2021.
@‌hdcoth line chat